ผู้ใช้:The great emperror/กระบะทราย-ความอัศจรรย์วันประสูติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"ความอัศจรรย์วันประสูติ"
ซิงเกิลโดยเพลิน พรหมแดน
จากอัลบั้มพระพุทธประวัติ
วางจำหน่ายค.ศ. 2013 (2013)
ความยาว5:59
ผู้ประพันธ์เพลงสมส่วน พรหมสว่าง
ลำดับซิงเกิลของเพลิน พรหมแดน
"ทรงประสูติกาล"
(2013)
"ความอัศจรรย์วันประสูติ"
(160)
"กาลเทวิลดาบส"
(2013)

ความอัศจรรย์วันประสูติ เป็นเพลงลำดับที่สี่ของเพลงพระพุทธประวัติ ประพันธ์เนื้อเพลง/ เรียบเรียงโดย สมส่วน พรหมสว่าง ขับร้องโดย เพลิน พรหมแดน เพลงนี้มีเนื้อหากล่าวถึงอภินิหารในวันประสูติของพระโพธิสัตว์ เพลงนี้มีความยาว 5 นาที 59 วินาที

เนื้อเพลง[แก้]

  • ขณะนั้น หมื่นโลกธาตุเกิดอัศจรรย์

ไหวลือลั่น ทั่วจักรวาลน้อยใหญ่

มหานรก โลกันตร์อันมืดสนิทใน

ก็บังเกิดแสง แพรวพร่างสว่างไสว

คนตาบอดมองเห็นสดใส

หูหนวกได้ยินสิ้นศัพท์สำเนียง

คนใบ้ไร้เสียง เอื้อนเอ่ยวาจา

สัตว์ถูกพันธนา พากันหมดไป

พวกเปรตทั้งหลาย หิวได้ปลดปลง

อีกไฟนรก ทั้งปวงดับลง

สำเภานาวาทั้งหลายแล่นตรง

จอดลงยังท่าชายฝั่ง ได้ดังปอง


  • หน้าต่าง ประตูที่ปิดไว้

เปิดเองได้ ไร้คนมาแตะต้อง

สัตว์เดรัจฉาน สิ้นภัยได้มาจอง

โรคร้ายกิเลสก่ายกอง ถูกดองระงับไป

สัตว์ซึ่งมีเวรต่อกัน ก็เลิกละโดยพลัน

พร้อมเมตตากันได้

สัตว์มีวาจา เข้าหาเป็นมิตรสหาย

หมู่ม้าทั้งหลาย หะ ฮือหันลั่นเสียงตะเบ็ง


คชาชาติ ร้องโกญจนาทก้องดัง

สรรพดุริยางค์ ดังโดยมิได้บรรเลง

อาภรณ์มนุษย์ สุดโอภาสเกิดขึ้นมาเอง

แลเล็งไปทิศไหน สว่างไสวชัชวาล

อาการเมฆ บันดลให้ฝนโปรย

เย็นสายลมโบย โชยเฉื่อยฉิวปลิวผ่าน

ท่อน้ำพุทะลุพุ่งมาจากบาดาล

บุปผานานาพรรณ แย้มผลิบานตระการตา


กระแสน้ำหลาก ในนทีก็หยุดไหล

น้ำในมหาสมุทร สุดโอชา

ดอกบัวใหญ่น้อย ก็ห้อยย้อยทั่วนภา

คันธปทุมนานา ก็แหวกศิลามาให้ยล

รุกชาติ ได้มีดอกผล ก็เร่งผันบันดล

ให้ดอกผลสะพรั่ง

ฝนดอกไม้ทิพย์ ทั้งทิวธวัช มวลดุริยางค์

สล้างสลอน ทั่วทิฆัมพรและพสุธา


วันที่พระมหาบุรุษ ประสูตินั้น

เกิดอัศจรรย์ ล้วนเกินจะพรรณนา

คราวจากสวรรค์ สู่ครรภ์พระมารดา

ก็มีมหา อัศจรรย์ลือลั่นไกล

พระประยูรญาติ และกษัตริย์สองนครา

ได้ข่าวสารแสนปรีดา ต่างเสด็จมาอัญเชิญให้

ทั้งพระกุมาร และชนนีนี้กลับไป

สู่วังเวียงชัย ในนครินทร์กบิลพัสดุ์

บทบรรยาย[แก้]

บทบรรยาย : สมส่วน พรหมสว่าง

ผู้บรรยาย : เพลิน พรหมแดน (ผู้บรรยาย)

ครั้นขบวนเสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์แล้ว ทั้งสองกษัตริย์และพระประยูรญาติทั้ง 2 ฝ่ายนั้น ต่างก็ส่งบรรณาการสิ่งของล้วนแล้วแต่ประเสริฐ อันเป็นเครื่องรักษาอย่างดีเลิศมาถวายพระราชกุมาร และพระราชชนนีอย่างมากมาย และในวันที่พระบรมโพธิสัตว์เจ้าทรงประสูติกาลนั้น มีมนุษย์ และสัตว์ พร้อมกับสิ่งของ ซึ่งเป็นสหชาติมงคล ได้เกิดขึ้นในวันนั้น 7 ประการด้วยกันคือ

1. พระนางพิมพา

2. พระอานนท์

3. กาฬุทายีอำมาตย์

4. นายฉันนะ

5. ม้ากัณฐกะ

6. ต้นพระศรีมหาโพธิ์

รวม 7 ประการนี้ ซึ่งได้เกิดขึ้นในวันเดียวกับที่พระมหาบุรุษทรงประสูติกาลนั้น[1]

ความหมาย และเนื้อหาของเพลง[แก้]

ในขณะที่พระโพธิสัตว์ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระมารดานั้น หมื่นโลกธาตุทั้งสิ้นได้สะเทือนเลื่อนลั่นหวั่นไหวขึ้นพร้อมกันทันที บุพพนิมิตทั้ง 32 ประการ ได้ปรากฏขึ้นแล้วในหมื่นจักรวาล ดังนี้

1. มหานรกอันมืดสนิท ก็แสงสว่างอันหาประมาณมิได้แผ่ซ่านไปทั่วทั้งบริเวณ

2. พวกคนตาบอดกลับได้ดวงตา ประหนึ่งว่ามีความประสงค์จะดูพระสิรินั้นของพระโพธิสัตว์นั้น

3. พวกคนหูหนวกได้ยินเสียง

4. พวกคนใบ้พูดจาได้

5. พวกคนค่อมก็มีตัวตรง

6. พวกคนง่อยก็กลับเดินได้ด้วยเท้า

7. สัตว์ทั้งปวงที่ถูกจองจำก็หลุดพ้นจากเครื่องจองจำ มีขื่อ-คาเป็นต้น

8. ไฟในนรกทั้งปวงก็ดับมอดลง

9. เหล่าเปรตผู้ความหิวระหายก็ระงับความกระหายหิวของตนได้

10. สำเภานาวาทั้งหลายก็สามารถแล่นตรงเข้าสู่ชายฝั่งได้ดังคิด

11. เหล่าสัตว์เดียรัจฉานก็ไม่มีความกลัว

12. ประตู/ หน้าต่างที่ปิดไว้ก็สามารถเปิดออกเองได้

13. โรคของสัตว์ทั้งปวงก็สงบ

14. สรรพสัตว์ทั้งหลายที่เคยมีเวรต่อกันก็เลิกจองเวรกัน และหันมาเป็นมิตรกัน ต่างฝ่ายต่างก็พูดจาด้วยถ้อยคำอันไพเราะน่าฟัง

15. ม้าทั้งหลายต่างหัวเราะด้วยเสียงอันดัง,

16. ช้างทั้งหลายต่างก็เปล่งเสียงร้องอันดังลั่น

17. ดนตรีทุกชนิดต่างก็เปล่งเสียงกึกก้องของตนขึ้นมาเอง โดยไม่มีผู้ใดบรรเลงเลย

18. เครื่องอาภรณ์ที่สวมกายมนุษย์อันงดงามสามารถเกิดขึ้นมาได้เองอย่างน่าอัศจรรย์้

19. ท้องฟ้าทั่วทุกทิศ มีอากาศแจ่มใส

20. สายลมอันอ่อนเย็นพัดผ่านเพื่อทำความสุขให้เกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลาย

21. เมฆฝนที่มิใช่กาลก็ตกลงมา

22. น้ำก็พุพุ่งออกมาจากแผ่นดิน

23. เหล่าดอกไม้ต่างแย้มผลิบานดูสวยงามยิ่ง

24. แม่น้ำทั้งหลายก็หยุดนิ่งไม่ไหล

25. มหาสมุทรมีน้ำมีรสหวานอร่อย

26. พื้นน้ำก็ดารดาษด้วยดอกบัว 5 สี ซึ่งได้เติบโตออกมาจากก้อนหิน

27. ดอกไม้ทุกชนิดทั้งที่เกิดบนบกและเกิดในน้ำก็เบ่งบาน

28. ดอกไม้นานาชนิดต่างพลิดอกออกก้านอย่างรวดเร็ว

29.ดอกปทุมชนิดลำต้นก็บานที่ลำต้น,ดอกปทุมชนิดกิ่งก็บานที่กิ่ง, ดอกปทุมชนิดเครือเถาก็บานที่เครือเถา,ดอกปทุมชนิดห้อยในอากาศก็บังเกิดขึ้น,

30. ฝนดอกไม้ก็ตกลงมารอบด้าน

31. ดนตรีทิพย์ต่างก็บรรเลงในอากาศ

32. โลกธาตุทั่วทั้งหมื่น ได้เป็นประหนึ่งพวงมาลัยที่เขาหมุนแล้วขว้างไป เป็นประหนึ่งกำดอกไม้ที่เขาบีบแล้วผูกมัดไว้ เป็นเสมือนอาสนะดอกไม้ที่เขาตกแต่งประดับประดาไว้ และเป็นเสมือนพัดวาลวิชนีที่กำลังโบก ซึ่งมีระเบียบดอกเป็นอันเดียวกัน จึงได้อบอวลไปด้วยความหอมของดอกไม้และธูป ถึงความโสภาคย์ยิ่งนัก[2]

เกร็ดความรู้[แก้]

สหชาติ[แก้]

สหชาติ นั้นหมายถึงผู้เกิดร่วมด้วยในวันเดียวกันกับวันที่พระพุทธเจ้าทรงประสูติกาล ซึ่งสหชาติทั้ง 7 ของพระพุทธเจ้า คือ

พระนางพิมพา[แก้]

พระนางพิมพา หรือพระนางยโสธรา เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้าสุปปพุทธะ กษัตริย์แห่งกรุงเทวทหะ เป็นพระชายาของเจ้าชายสิทธัตถะเมื่อมีพระชนมายุได้ 16 พรรษา เป็นพระมารดาของพระราหุล ภายหลังออกบวชมีนามว่า พระภัททากัจจานาเถรี

พระอานนท์[แก้]

พระอานนท์ เป็นเจ้าชายในศากยวงศ์ โอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ ซึ่งเป็นพระเจ้าอาของเจ้าชายสิทธัตถะ ท่านออกบวชในพุทธศาสนา และได้รับเลือกเป็นพระอุปัฏฐากประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้า ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในหลายด้าน ท่านบรรลุพระอรหันต์หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว 3 เดือน เป็นกำลังสำคัญในคราวทำปฐมสังคายนา ท่านดำรงชีวิตสืบมาจนถึงอายุได้ 120 ปี จึงปรินิพพานในอากาศเหนือแม่น้ำโรหิณี ซึ่งเป็นเส้นกั้นแดนระหว่างแคว้นของพระญาติสองฝ่ายคือศากยะ และโกลิยะ

นายฉันนะ[แก้]

นายฉันนะ/ พระฉันนะ เป็นอำมาตย์คนสนิท และเป็นสารถีของเจ้าชายสิทธัตถะในวัง เสด็จออกบรรพชาเมื่อมีพระชนม์ได้ 29 พรรษา นายฉันนะตามเสด็จไปด้วยและนำเครื่องอาภรณ์พร้อมทั้งคำกราบทูลของเจ้าชายสิทธัตถะกลับกรุงกบิลพัสดุ์ ภายหลังบวชเป็นภิกษุถือตัวว่าเป็นคนใกล้ชิดพระพุทธเจ้ามาแต่เก่าก่อน ใครว่ากล่าวตักเตือนอย่างไรก็ไม่ฟัง จนเกิดเรื่องเกิดความบ่อย ๆ หลังจาก พระพุทธเจ้าปรินิพานแล้ว ถูกสงฆ์ลงพรหมทัณฑ์จนหายพยศ และได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์

อำมาตย์กาฬุทายี[แก้]

อำมาตย์กาฬุทายี/ กาฬุทายีเถระ เป็นพระสหายสนิทของเจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์พระเจ้าสุทโธนะส่งไปทูลเชิญพระศาสดาเพื่อเสด็จมากรุงกบิลพัสดุ์ อำมาตย์กาฬุทายีไปเผ้าพระศาสดาที่กรุงราชคฤห์ ครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนาบรรลุพระอรหัตตผล อุปสมบทเป็นภิกษุแล้วทูลเชิญพระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ ท่านได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะ ในบรรดาผู้ทำตระกูลให้เลื่อมใส

ม้ากัณฐกะ[แก้]

ม้ากัณฐกะ ม้าพระที่นั่งของเจ้าชายสิทธัตถะ ตัวม้ายาวจากคอถึงหาง 18 ศอก ส่วนสูงก็เหมาะสมกับส่วนยาว มีสีขาวผ่องเหมือนเปลือกหอยสังข์ที่ขาวสะอาด ในราตรีที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จหนีออกจากพระราชวัง เพื่อเสด็จออกพรรพชา การเดินทางครั้งนี้มีนายฉันนะเกาะหางม้ากัณฐกะไปด้วย ม้ากัญฐกะเดินทางถึงแม่น้ำอโนมาใช้เวลาเที่ยงคืนถึงเช้าระยะทาง 30 โยชน์ (480 กิโลเมตร) กระโดดครั้งเดียวก็ข้ามแม่น้ำอโนมา เมื่อข้ามฝั่งแม่น้ำแล้วเจ้าชายสิทธัตถะจึงรับสั่งว่า กัณฐกะเจ้าจงกลับไปยังเมืองกบิลพัสดุ์เถิด ม้ากัณฐกะจึงเหลียวมองไปทางเจ้าชายสิทธัตถะ พอเจ้าชายลับสายตาไป ม้าก็ถึงแก่ความตาย เนื่องจากเสียใจ และได้ไปเกิดอยู่ในสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีชื่อว่า "กัณฐกะเทพบุตร"

ต้นพระศรีมหาโพธิ์[แก้]

เจ้าชายสิทธัตถะขณะที่มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา ทรงบำเพ็ญเพียรจนตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในวันเพ็ญ เดือน ๖ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ภายในป่าสาละ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ (ปัจจุบันคือ ตำบลพุทธคยา แขวงเมืองอุรุเวลาเสนานิคม ของรัฐพิหาร) ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่ ๑ เกิดพร้อมกับเจ้าชายสิทธัตถะ มีอายุ 305 ปี (ต้นโพธิ์ตรัสรู้ต้นที่ 2 มีอายุ 891 ปี ต้นที่ ๓ มีอายุ 1,227 ปี ต้นโพธิ์ตรัสรู้ปัจจุบันเป็นหน่อที่ 4 ปลูกราว พ.ศ. 2434)

ขุมทรัพย์ทั้งสี่[แก้]

ขุมทรัพย์ทั้ง 4 (เพลิน พรหมแดน ไม่ได้กล่าวไว้ในเนื้อเพลง) หรือนิธิกุมภี คือขุมทอง ๔ ขุม ได้แก่ ขุมทองสังขนิธี ขุมทองเอลนิธี ขุมทองอุบลนิธี ขุมทองปุณฑริกนิธี[3][4][5]

อ้างอิง[แก้]