ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Suwalee.nan/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ

          การปกครองส่วนท้องถิ่นถือเป็นรากฐานที่สําคัญในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ได้กําหนดให้รัฐบาลส่วนกลางมีการกระจายอํานาจการปกครอง โดยมอบอํานาจหน้าที่ให้กับท้องถิ่นปกครองตนเอง หรือในกรณีที่จังหวัดใดมีความพร้อมอาจจัดให้มีการ ปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเฉพาะของจังหวัดนั้นได้ การที่จะจัดตั้งท้องถิ่นใดให้เป็นองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษนั้น จําเป็นต้องศึกษารายละเอียดอย่างชัดเจนว่าท้องถิ่นนั้น ๆ มีความเจริญเติบโต ในด้านใดบ้าง เช่น เป็นพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นชุมชนเมืองสูง มีการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอย่าง เข้มแข็งและต่อเนื่อง หรือเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวสูง รวมทั้งมีความพร้อมในการรับโอน ภารกิจจากส่วนกลาง เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ยังมีท้องถิ่นอีกจํานวนมากที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาเป็นเมืองที่ มีการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษได้ ด้วยเหตุนี้คณะกรรมาธิการจึงมีการจัดตั้งเพื่อประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น สภานิติบัญญัติแห่งชาติ จึงได้ลงพื้นที่เพื่อศึกษาดูงานเกี่ยวกับการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษ และรูปแบบทั่วไปในพื้นที่ที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว ณ เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดภูเก็ต เพื่อรับทราบถึงผลกระทบในแต่ละด้าน รวมทั้งความต้องการที่จะพัฒนาพื้นที่เป็นเมืองพิเศษสําหรับ การท่องเที่ยวในเบื้องต้นของภาคประชาชน 
       การจัดตั้งให้มีการปกครองส่วนท้องถิ่นรูพิเศษก็เพื่อให้องค์กรนั้นมีขีดความสามารถในการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีความแตกต่างจากพื้นที่อื่น ๆ เช่น เมืองหลวง เมืองอุตสาหกรรม เมืองท่องเที่ยว ได้อย่างมีประสิทธิภาพคล่องตัว โดยจัดให้มีโครงสร้าง การบริหารงานอำนาจหน้าที่รายได้ และระบบการกำกับดูแลจากรัฐบาล ที่แตกต่างไปจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
โดยรูปแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบพิเศษที่เหมาะสมสําหรับเมืองท่องเที่ยวควรมีปัจจัยที่นํามาพิจารณาเป็นองค์ประกอบ ได้แก่ 

- เมืองที่สามารถวางยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงพื้นที่ที่ตอบโจทย์ด้านการท่องเที่ยวได้ เช่น การเน้น รูปแบบเมืองท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เมืองท่องเที่ยวแบบบันเทิง หรือการเน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักท่องเที่ยวที่มี รายได้สูง หรือนักท่องเที่ยวทั่วไป เป็นต้น - เมืองที่สามารถพัฒนาทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางธรรมชาติ หรือการสร้างทุนใหม่ เพื่อตอบโจทย์การเป็นแหล่งท่องเที่ยว - เมืองที่มีศักยภาพในการดูแลนักท่องเที่ยวและมีโครงสร้างพื้นฐานสําหรับรองรับการให้บริการ นักท่องเที่ยว - เมืองที่มีความคิดท่องเที่ยวสร้างสรรค์ (Creative Tourism) ทําให้นักท่องเที่ยวเข้าถึงและเข้าใจ วัฒนธรรมของเมืองอย่างรอบด้าน มีการเชื่อมโยงให้วัฒนธรรมของเมืองเป็นสิ่งที่จับต้องได้

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ มีวิวัฒนาการในการจัดระเบียบการปกครองมาอย่างยาวนาน จนกระทั่งได้มีการออกกฎหมายให้มีการจัดตั้งองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ที่ผู้บริหาร(ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) มาจากการเลือกตั้งโดยตรงก่อนองค์กรปกรองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่นโดยมุ่งหวังที่จะให้กรุงเทพมหานครสามารถจัดการปัญหาต่าง ๆ ในเมืองหลวงได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

""ก่อนการปกครองนครหลวงกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2475"" กรุงเทพมหานครได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงของประเทศเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช การปกครองราชธานีรัชกาลที่ 5 จะทรงปฏิรูปการปกครองประเทศ พ.ศ. 2435 ประเทศไทยได้มีการปกครอง คือ ได้มีราชการส่วนกลางประกอบด้วย 6 กรม คือ กรมมหาดไทย กรมกลาโหม กรมเวียง กรมวัง กรมคลัง และกรมนา สำหรับกรุงเทพมหานครนั้นได้อยู่ในการดูแลของกรมเวียง

 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงประกาศเรียก "กรุงเทพมหานคร" แทนการเรียก "มณฑลกรุงเทพ" แต่อยู่ในความรับผิดชอบของเสนาบดีกระทรวงนครบาล หลังจากนั้นในสมัยรัชกาลที่ 7 ในมีการยุบมณฑลต่าง ๆ ให้เหลือเพียง 10 มณฑล และได้ยุบจังหวัดพระประแดง และจังหวัดมีนบุรี เมื่อพ.ศ. 2474 กรุงเทพมหานครจึงเป็นราชการส่วนภูมิภาค ซึ่งประกอบด้วย 4 จังหวัด คือ จังหวัดพระนคร ธนบุรี นนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ
   กรุงเทพมหานคร มีลักษณะเฉพาะของกรุงเทพมหานคร ดังนี้

1. เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงองค์กรเดียวในเขตพื้นที่จังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี (เดิม) เป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นที่ไม่มีองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล เหมือนกับจังหวัดอื่น ๆ 2. ไม่มีการปกครองส่วนภูมิภาคซ้ำซ้อนคงมีเฉพาะการปกครองส่วนกลางและการปกครองส่วนท้องถิ่นเท่านั้น 3. มีการแยกอำนาจการบริหารออกจากอำนาจนิติบัญญัติ โดยทั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต่างได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจึงไม่จำเป็นที่องค์กรทั้งสองจะต้องขอรับการไว้วางใจกันและกัน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสามารถปฏิบัติงานได้เต็มที่โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาคะแนนเสียงในสภานิติบัญญัติแต่ประการใด 4. อำนาจการบริหารที่แท้จริงอยู่ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้เพราะกฎหมายประสงค์จะให้ ฝ่ายบริหารมีอำนาจเข้มแข็ง ดังนั้น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงสามารถจัดตั้งทีมบริหารกิจการของ กรุงเทพมหานครเองได้ และจะมอบอำนาจหน้าที่บางประการให้แก่รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มากน้อยเท่าใดก็ได้ตามแต่จะพิจารณาเห็นว่ามีความเหมาะสม ลักษณะเฉพาะดังกล่าวนี้จึงทำให้การบริหารงานของกรุงเทพมหานคร เป็นไปอย่างมีเอกภาพ (“การจัดรูปแบบการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น”, ม.ป.ป.)


   จากการที่กรุงเทพมหานครมีการพัฒนาขึ้นเป็นมหานคร และได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

เพื่อให้มหานครแห่งนี้มีการพัฒนาที่สมดุลและน่าอยู่อาศัยได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ด้วยลักษณะของความเป็นมหานครและเมืองหลวง กรุงเทพมหานครจึงเป็นศูนย์รวมของประชาชนทุกสาขาอาชีพ ทุกระดับ ที่อยู่รวมกันอย่างแออัด ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ 1. ปัญหาด้านโครงสร้างระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร 2. ปัญหาด้านการบริหารงานของกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันการพัฒนา การขับเคลื่อนนโยบายต่าง ๆ และการทำหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร เห็นได้ว่า เป็นไปอย่าล้าช้า เนื่องจากสภาพปัญหาการทำงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งอยู่ในฐานะที่เป็น หัวหน้าฝ่ายบริหารต้องแบกรับภาระงานหลาย ๆ ด้านด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยเฉพาะตามที่กฎหมายบัญญัติไว้

     นอกจากปัญหาที่กล่าวข้างต้นแล้วยังพบปัญหาในชีวิตประจำวันของคนกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ปัญหา

การจราจร สิ่งแวดล้อม ขยะ น้ำเสีย มลพิษ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ระบบขนส่งมวลชน ปัญหา สาธารณภัย ฝนตกน้ำท่วมขัง การสงเคราะห์ดูแลผู้ด้อยโอกาส ชุมชนแออัด การจัดระเบียบทางเดิน การขาย ของบนทางเท้า ฯลฯ แต่การให้บริการและการบริหารงานของกรุงเทพมหานครยังไม่สามารถแก้ไขปัญหา ดังกล่าวได้และนับวันปัญหาจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2558) จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการปกครองท้องถิ่น ซึ่งตั้งขึ้นตามมติของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ครั้งที่ 9/2558 เมื่อวันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน 2558 เพื่อศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางแผนการปฏิรูป วิธีการปฏิรูปพร้อมกำหนดเวลาการปฏิรูป และข้อเสนอแนะเพื่อการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการปกครองท้องถิ่นให้สัมฤทธิ์ผล โดยได้ทำการศึกษา วิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงวิธีการปฏิรูป กำหนดเวลาการปฏิรูป งบประมาณที่ใช้และหน่วยงานที่รับผิดชอบในการปฏิรูป ซึ่งสามารถสรุปแผนการปฏิรูปของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ: แผนปฏิรูปกรุงเทพมหานคร ได้ดังนี้

แผนการปฏิรูปกรุงเทพมหานคร ประเด็นการปฏิรูป 1. ปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการเพื่อแก้ไขปัญหาชีวิตประจำวัน และพัฒนาคุณภาพ ชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น 2. ปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารงานโดยยึดหลักการบริหารจัดการที่ดี และให้ประชาชนเข้ามามี ส่วนร่วมในการบริหารงานมากขึ้น 3. ปรับปรุงบทบาทอำนาจหน้าที่และศักยภาพของกรุงเทพมหานครเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของมหานครในฐานะเป็นเมืองหลวงและเมืองสำคัญในภูมิภาคของโลก

  วิธีการปฏิรูป

ปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการ 1. จัดทำแผนยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาเมืองหลวงและปริมณฑลและแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาเมือหลวงและปริมณฑล โดยกำหนดให้มีกลไกในรูปของคณะกรรมการ 2. ปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้สามารถเป็นหน่วยงานหลักในการจัดบริการสาธารณะ 3. ให้รัฐจัดเงินอุดหนุนเฉพาะกิจในกรณีที่รัฐมอบหมายให้กรุงเทพมหานครดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะ/โครงการตามนโยบายของรัฐบาล หรือนโยบาย/โครงการเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะเรื่องหรือเพื่อพัฒนาเมืองหลวงไปสู่เมืองหลักในภูมิภาคโลกโดยไม่รวมอยู่ในสัดส่วนเงินอุดหนุนตามกฎหมายแผนการกระจายอำนาจ 4. ปรับปรุงวิธีการจัดบริการสาธารณะของกรุงเทพมหานครให้มีความคล่องตัว หลากหลาย โดยสามารถดำเนินการร่วมกับหน่วยงานอื่น หรือมอบให้หน่วยงานอื่น/เอกชน หรือชุมชนไปดำเนินการได้

    การปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบกรุงเทพมหานครนั้นมีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นนครหลวงรูปแบบพิเศษ ความหมายคือ การที่รัฐได้จัดให้มีการกระจายอำนาจการปกครองมาสู่ประชาชน โดยให้ประชาชนในท้องถิ่นได้ปกครองตนเองภายในท้องถิ่น ได้จัดบริการสาธารณะบางอย่างที่ไม่เกี่ยวกับส่วนได้ของประเทศเป็นส่วนรวมแต่เกี่ยวกับประโยชน์ส่วนได้เสียเฉพาะท้องถิ่น เป็นการแบ่งเบาภาระของราชการบริหารส่วนกลางในกิจกรรมของท้องถิ่น ซึ่งถือเป็นการฝึกในการปกครองตนเองของประชาชน และรู้จักการปกครองประเทศในขั้นต่อไป ซึ่งเป็นพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
     ในฐานะกรุงเทพมหาครเป็นเมืองหลวงของประเทศ รูปแบบการปกครองจึงมีลักษณะพิเศษมราผิดแผกไปจากรูปการปกครองท้องถิ่นโดยทั่วไป ทั้งในด้านวัตถุประสงค์การจัดตั้ง โครงสร้างการจัดส่วนราชการ อำนาจหน้าที่ การบริหารหารการคลัง งบประมาณ และการบริหารงานบุคคล
     ในเรื่องของการจัดส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครนั้น คือ การกำหนดโครงสร้างจะต้องมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานครเป็นองค์กรหลัก มีส่วนราชการต่าง ๆ เป็นหน่วยรองรับหรือหน่วยปฏิบัติ และมีประชาชนเป็นผู้ได้รับผลของการปฏิบัติ ในเรื่องของการปฏิบัติในขอบเขตอย่างไร คืออำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครที่ได้รับมาโดยบทบัญญัติกฎหมาย และทิศทางในการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

    เมืองพัทยา
 ในทางด้านการบริหารเมืองพัทยา คือ การปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พุทธศักราช 2521 โดยมีการยุบยกเลิกสุขาภิบาลนาเกลือ ซึ่งเจตนารมณ์ในการจัดตั้งให้เมืองพัทยาเป็นเมืองแห่งการบริหารรูปแบบพิเศษของรัฐบาลในสมัยนั้น เพื่อทดลองการนำเอาระบบการจัดการปกครองแบบผู้จัดการเมือง (City Manager) หรือเรียกว่า รูปแบบสภาผู้จัดการ โดยเทศบาลหลายแห่งในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ใช้อยู่นำมาทดลองใช้ในประเทศไทย และจะต้องมีการเลือกตั้งสภาสมาชิกท้องถิ่น (Local Council) โดยส่วนท้องถิ่นจะเป็นผู้จัดหาผู้ที่มีความเหมาะสมมาเป็นผู้จัดการเมือง กล่าวคือ สภาเป็นผู้ว่าจ้างผู้จัดการซึ่งจะอยู่ในวาระที่กำหนด ซึ่งในรูปแบบที่ผู้บริหารมาจากการว่าจ้างเพื่อให้ได้ผู้บริหารที่มีความเป็นมืออาชีพและปราศจากการเมือง
   ความเป็นมา
       ในอดีตของพัทย่เป็นหมู่บ้านชาวประมง เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ต่อมาในปี 2499 ทางราชการเห็นว่าสมควรที่จะจัดตั้งตำบลนี้เป็นสุขาภิบาล กลายเป็นสุขาภิบาลนาเกลือในปี 2499 ต่อมาถึงปี 2507 ได้มีการขยายการปกครองสุขาภิบาลออกไปคลุมพื้นที่หทู่บ้านชาวประมงพัทยาด้วย  พัทยาจึงเริ่มมีผู้คนสนใจเดินทางไปพักผ่อนท่องเที่ยวตามเกาะต่าง ๆ โดยมรการซื้อที่ดินเพื่อสร้างบ้านพักตากอากาศ ทางราชการจึงเห็นความสำคัญต่อพัทยาในฐานะที่เป็นเมืองที่เหมาะแก่การส่งเสริมท่องเที่ยวภายในประเทศ จึงจำเป็นจพต้องมีการปรับปรุงการปกครองเพื่อให้เกิดผลดีต่อพื้นที่นั่นเอง

     

[1] [2] [3] [4] [5] [6] [7]

  1. คณะกรรมการกลุ่มผลิตชุดวิชาการบริหารการปกครองท้องถิ่น พิมพ์ พ.ศ. 2552
  2. การปกครองท้องถิ่นไทย พิมพ์ครั้งที่ 3 2551
  3. การปกครองท้องถิ่นไทย พิมพ์ 2539
  4. กรุงเทพมหานคร 2527.สำนักนโยบายและแผน กทม. พิมพ์ 2427
  5. การบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พิมพ์ครั้งที่ 1 2522
  6. http://click.senate.go.th/wp-content/uploads/2015/04/โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ-อปท..pdf
  7. จาก http://www.jba.tbs.tu.ac.th/files/APA_Style.pdf