ผู้ใช้:Rossukon.s/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การเมืองการปกครองประเทศเบลเยียม

ข้อมูลทั่วไป[แก้]

ประเทศเบลเยียม มีชื่อที่เรียกอย่างเป็นทางการ คือ ราชอาณาจักรเบลเยียม (KINGDOM OF BELGIUM)เบลเยียม เป็นประเทศเล็กๆในทวีปยุโรปจัดอยู่ในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ ในปี ค.ศ.1990 มีจำนวนประชากรอยู่เพียง 9,895,000 ล้านคน และมีพื่นที่ทั้งหมดเพียง 30,518 ตารางกิโลเมตร[1] พื้นที่และบริเวณของเบลเยียมที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบด้วย ฝรั่งเศสอยู่ทางตะวันตกและทางใต้ ลักเซมเบิร์กอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ เยอรมันอยู่ทางตะวันออก เนเธอร์แลนด์อยู่ทางเหนือ และทะเลเหนือ[2] เบลเยียมเป็นหนึ่งในจำนวนสมาชิกที่ได้ร่วมก่อตั้งสหภาพยุโรป และถือได้ว่ามีความสำคัญเพราะเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ แต่สำหรับคนที่รู้จักประเทศเบลเยียมจะรู้ว่าเบลเยียมมีความสำคัญเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการคมนาคมที่มีความเชี่ยวชาญในด้านรถไฟเป็นพิเศษ[3] เบลเยียมมีรูปแบบที่ใช้ในการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อนเนื่องจากพบว่ามีผู้คนใช้ภาษาที่มีความหลากหลายอยู่จำนวนมาก ที่กรุงบรัสเซลส์เป็นที่ตั้งเมืองหลวงของเบลเยียม โดยที่เบลเยียมสามารถแบ่งเป็น 2 ภูมิภาคด้วยกัน คือ 1.ฟลานเดอร์ พบว่ามีผู้คนใช้ภาษาดัตซ์เป็นส่วนใหญ่ และมักจะอยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศ 2.วัลโลเนีย พบว่ามีผู้คนใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นส่วนใหญ่ และมักจะอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ และในเขตชายแดนตะวันออกของประเทศที่อยู่ในกลุ่มวัลโลเนีย พบว่ามีผู้คนใช้ภาษาเยอรมันอยู่อีกด้วย [4]

ประวัติและความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของประเทศเบลเยียม[แก้]

ยุคก่อนประวัติศาสตร์[แก้]

      พบว่ามีเครื่องมือที่แสดงถึงการใช้ชีวิตของผู้คนในชุมชนโบราณที่บ่งบอกถึงความเก่าแก่มานานมากกว่า 2,000 ปี ซึ่งหลักฐานชิ้นสำคัญคือ ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ และยังมีภาพเขียนโบราณ โดยพบจากด้านในของถ้ำที่อยู่ในตอนกลางของประเทศบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเมิส (La Meuse) ในช่วงเวลาของปี พ.ศ.600 แม่ทัพของจักรวรรดิโรมันนำโดย จูเลียส ซีซาร์ เป็นผู้ที่มีอำนาจทางทหารอยู่ในขณะนั้นไม่มีใครเทียบได้ และเป็นผู้ประกาศตนเป็น "ผู้เผด็จการตลอดชีพ"[5]ด้วยตำแหน่งที่เพียบพร้อมด้วยอำนาจบารมีเขาจึงได้ขยายอำนาจของจักรวรรดิโรมันมายังดินแดนเบลเยียมในปัจจุบัน โดยได้เอาชัยชนะจากชนเผ่าเซลติก มีชื่อว่า Belgae และก่อตั้งเป็นมณฑลหรือจังหวัดแกลเลียเบลจิกา (Gallia Belgica) ต่อมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 ชนเผ่าแฟรงก์ซึ่งมีอำนาจและได้ควบคุมบริเวณอาณาเขตนี้ ก่อนที่จะก่อตั้งเป็นราชวงศ์เมโรแวงเจียง ในพระเจ้าโคลวิสที่1 ในทางศาสนาทรงรับคริสต์ศาสนาเข้ามาสู่อาณาจักร เมื่อหมดยุคของโคลวิสแล้วหลังจากนั้นอาณาจักรของชนเผ่าแฟรงก์ก็เริ่มแตกสลายลง จนกระทั่งดำเนินมาถึงยุคของพระเจ้าชาร์เลอมาญ ทรงครองราชย์สมบัติเป็นเวลานานกว่า 46 ปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.1311 ไปจนถึง 1357 ที่ได้นำเอาอาณาจักรแฟรงก์มารวบรวมไว้ด้วยกัน และมีอำนาจในการปกครองที่ครอบคลุมอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของยุโรป[4][6]

ยุคกลาง[แก้]

      ในช่วงภายหลังจากเหตุการณ์สิ้นพระชนม์ของพระเจ้าชาร์เลอมาญ อาณาจักรที่อยู่ในอำนาจปกครองได้ถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆพื้นที่ในเขตการปกครองอาณาจักรกลางที่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของพระเจ้าโลแทร์ ซึ่งก็คือพื้นที่ส่วนใหญ่ของเบลเยียมปัจจุบันเป็นของพระเจ้าโลแทร์ ขณะเดียวกันนั้นฝรั่งเศสก็ได้เข้ามายึดเอาพื้นที่ในส่วนที่เหลือ ช่วงภายหลังอาณาจักรกลางก็ตกไปอยู่ภายใต้การปกครองในกษัตริย์เยอรมันของอาณาจักรตะวันออก พื้นที่ของเบลเยียมได้ถูกแบ่งออกเป็นรัฐขุนนางเล็กๆเป็นจำนวนมาก และถูกนำมารวบรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเบอร์กันดีในเวลาต่อมา หลังจากการอภิเษกสมรสของพระนางแมรีแห่งเบอร์กันดีกับเจ้าชายมักซิมิลันจากราชวงศ์ฮับส์บูร์กขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ดินแดนเบลเยียมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ได้ตกทอดไปถึงพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งสเปนพระนัดดาของพระเจ้ามักซิมิลันในสมัยของพระราชโอรสของพระเจ้าชาลส์ หรือที่รู้จักกันในนามพระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปนในทางศาสนาเค้ามีความคิดที่ไม่ค่อยดีค่อนข้างไม่ชอบในนิกายโปรเตสแตนต์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดความขัดแย้งทางศาสนาระหว่างนิกายโรมันคาทอลิก และนิกายโปรเตสแตนต์ ซึ่งพระเจ้าเฟลิเปเองนั้นได้พยายามทุกวิธีทางที่จะปราบปรามนิกายโปรเตสแตนต์ โดยมีผู้คนที่นับถือและสนับสนุนนิกายโปรเตสแตนต์อาศัยอยู่ทางตอนเหนือ และได้รวมตัวกันเป็นสาธารณรัฐเนเธอร์แลนด์ในขณะที่ดินแดนทางใต้ประกอบด้วยเบลเยียม และลักเซมเบิร์กอย่างที่ปากฎในปัจจุบันก็ยังคงอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของสเปนมีชื่อเรียก คือ"เนเธอร์แลนด์ใต้" ในต่อมาประเทศฝรั่งเศสได้ขึ้นเป็นมหาอำนาจในยุโรป โดยใช้พื้นที่ประเทศต่ำไปเป็นสนามรบเบลเยียมถูกเปลี่ยนมือไปอยู่ภายใต้การปกครองของออสเตรีย จนกระทั่งหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 ได้ยึดเบลเยียมในปีพ.ศ.2338 ทำให้ได้ยุติการปกครองของสเปนและออสเตรียในบริเวณนี้ และหลังจากการสิ้นสุดของจักรวรรดิฝรั่งเศสของนโปเลียน ทำให้กลุ่มประเทศต่ำได้รวมกันอีกครั้งเป็นสหราชอาณาจักร-เนเธอร์แลนด์ ในปีพ.ศ.2358[4][6]

การณ์ปฏิวัติเบลเยียม[แก้]

      มีการปฏิวัติเกิดขึ้นที่เบลเยียมในปีพ.ศ.237 เป็นเหตุให้ได้ก่อตั้งเป็นรัฐเอกราช และเลือกเจ้าชายเลโอโปลด์จากราชวงศ์แซ็กซ์-โคบูร์กและโกธาทรงขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 1 ซึ่งทำการปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และประชาธิปไตยแบบรัฐสภาในปีพ.ศ.2374  ต่อมาในปีพ.ศ.2451 เบลเยียมได้รับเอาคองโกมาเป็นอาณานิคมของตนเองเดิมทีดินแดนแห่งนี้เคยเป็นพื้นที่ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเยอรมนีทำการเข้ารุกรานเบลเยียม ทำให้เบลเยียมได้เข้าครอบครองรวันดา-อุรุนดี(ปัจจุบันคือประเทศรวันดาและบุรุนดี)ก่อนหน้านี้อยู่ภายใต้อาณานิคมของเยอรมนีในช่วงสงคราม เยอรมนีเข้ารุกรามเบลเยียมอีกครั้งในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองจนกระทั่งถูกปลดปล่อยโดยกองทัพสัมพันธมิตร คองโกได้รับเอกราชในปีพ.ศ.2503 ในขณะที่รวันดา-อุรุนดีได้รับเอกราชในอีกสองปีต่อมา ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง เบลเยียมได้เข้าร่วมนาโต โดยมีบรัสเซลส์ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ และมีการรวมกลุ่มของเบเนลักซ์ร่วมกับเนเธอร์แลนด์และลักเซมเบิร์ก เบลเยียมคือหนึ่งในสมาชิกทั้งหกประเทศที่ได้ร่วมก่อตั้งของประชาคมถ่านหินและเหล็กยุโรปในปีพ.ศ.2494 และต่อมาในปีพ.ศ.2500 ก็ได้จัดตั้งประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรป และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ในเวลาต่อมาก็คือสหภาพยุโรปเบลเยียมเป็นที่ตั้งของหน่วยงานหลายอย่างของสหภาพ อาทิเช่น คณะกรรมาธิการยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป เป็นต้น[4][6]

การเมืองการปกครอง[แก้]

รูปแบบการปกครอง[แก้]

ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และประชาธิปไตยแบบรัฐสภา [7]

การแบ่งการปกครอง[แก้]

แบ่งออกเป็น 10 มลรัฐ หรือจังหวัด ได้แก่ แอนต์เวิร์ป(Antwerpen) ลิมเบิร์ก(Limburg) ฟลานเดอร์ตะวันออก(Oost-Vlaanderen) ฟลามส์บราบานต์(Vlaams-Brabant) ฟลานเดอร์ตะวันตก(West-Vlaanderen) วัลลูนบราบานต์(Brabant Walloon) เอโน(Hainaut) ลีแยช(Liege) ลักเซมเบิร์ก(Luxemburg) นามูร์(Namur) 3 ภูมิภาค ได้แก่ บลัสเซล(Brussels) ฟลานเดอร์(Flanders) และวาลโลเนีย(Wallonia)[8]

การแบ่งอำนาจการปกครอง แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่[9]

      1.ระดับสหพันธรัฐ (Federal State) ในระดับนี้จะทำการปกครองในระบอบรัฐสภาซึ่งประกอบไปด้วยสภาล่าง หรือสภาผู้แทนราษฎรและสภาสูงหรือวุฒิสภา[9]
         สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สส.)มีจำนวนสมาชิก 150 คนได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากเขตการเลือกตั้ง ซึ่งมีอยู่ทั้งสิ้น 20 เขตเลือกตั้งทั่วประเทศ จะทำการเลือกตั้งใหม่ในทุกๆ 4 ปี หรือในกรณีที่ยกเว้น คือจะมีการยุบสภาก่อนสิ้นสุดวาระการดำรงตำแหน่ง นอกจากนี้แล้วยังมีจำนวนผู้แทนของแต่ละเขตการเลือกตั้งโดยจะคำนวณจากจำนวนประชากรของเขตการเลือกตั้งนั้นในสภาผู้แทนราษฎรจะมีการแบ่งสส.ออกเป็น 2 กลุ่มคือ 1.จัดกลุ่มตามด้านภาษา และ2.ด้านการเมืองในส่วนนี้จะอธิบายในกลุ่มด้านภาษาว่าจะมีการแบ่งสส.ทั้งหมดออกป็นอีกสองกลุ่มย่อย คือกลุ่มที่พูดภาษาฝรั่งเศส และกลุ่มที่พูดภาษาเฟลมมิช(หรือภาษาดัตช์)ทั้งนี้ตัวผู้แทนที่ได้รับเลือกตั้งจากชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันจะต้องขึ้นอยู่กับกลุ่มผู้แทนที่พูดภาษาฝรั่งเศสส่วนบรัสเซลส์นั้นขึ้นอยู่กับว่าผู้แทนนั้นสังกัดกลุ่มภาษาใด รัฐธรรมนูญและกฎหมายเลือกตั้งเบลเยียมกำหนดให้การใช้สิทธิเลือกตั้งของพลเมืองเป็นหน้าที่ที่สำคัญยิ่งผู้ไม่ไปใช้สิทธิ์โดยไม่มีเหตุอันควรจะต้องเสียค่าปรับตามที่กฎหมายกำหนด สำหรับสภาสูง หรือวุฒิสภา(ส.ว.)เนื่องจากในช่วงภายหลังได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญในปีค.ศ. 1993 โดยกำหนดให้ส.ว.นั้นจะต้องมาจากการเลือกตั้งทุก 4 ปี ต่อมามีจำนวนลดลงจาก 184 คนเหลือเพียง 71 คน โดยในจำนวนนี้จะมี 21 คนที่จะมาจากการแต่งตั้งโดยรัฐสภาประชาคม(Community Parliaments)และอีก 40 คนได้รับการเลือกตั้งโดยตรงซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจากภูมิภาควาโลเนีย(Walloon)จำนวน 15 คนที่มาจากภูมิภาคฟลานเดอร์(Flanders)จำนวน 25 คน และอีก 10 คนดำรงตำแหน่งco-opted senatorมาจากการคัดเลือกของสมาชิกวุฒิสภา(Wallonia 4 คน Flanders 6 คน)โดยที่รัฐบาลสหพันธุ์จะต้องอยู่ภายใต้การบริหารของนายกรัฐมนตรี โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีทรงเป็นพระประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่มิได้มีบทบาทใดๆในการบริหารแต่จะทรงแต่งตั้งผู้ที่มีคะแนนเสียงสนับสนุนจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้คะแนนเสียงมากที่สุดให้ขึ้นดำรงตำแหน่ง นอกจากนี้รัฐบาลสหพันธ์ยังมีอำนาจหน้าที่ดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทั่วไปของสหพันธ์ได้แก่ งานที่เกี่ยวข้องกับการเงินสาธารณะ กองทัพ ตำรวจ ระบบงานด้านความยุติธรรม ความมั่นคงทางสังคม การต่างประเทศ ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา และบางส่วนของงานด้านสาธารณะสุขและกิจการภายใน[9][10]
      2.ในระดับภูมิภาค (Region)สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ภูมิภาค คือ ภูมิภาควาโลเนีย จะมีจำนวนประชากรประมาณ 3,400,000 คนรวมชุมชนที่พูดภาษาเยอรมัน 72,000 คน)ภูมิภาคฟลานเดอร์ จะมีจำนวนประชากรประมาณ 1,000,000 คน รัฐบาลภูมิภาคจะมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับด้านเศรษฐกิจ การจ้างงาน การเกษตร งานสาธารณะ การคมนาคม (ยกเว้นรถไฟ) สิ่งแวดล้อมเมือง-ชนบท ควบคุมดูแลการบริหารงานของจังหวัด ชุมชน และบริษัทที่ให้บริการด้านสาธารณูปโภคระหว่างชุมชนต่างๆ พัฒนาเศรษฐกิจ[9]
      3.ในระดับประชาคม (Community)สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประชาคมด้วยกัน คือประชาคมคนพูดภาษาฝรั่งเศส ประชาคมคนพูดภาษาเฟลมมิช และประชาคมคนพูดภาษาเยอรมัน รัฐบาลประชาคมจะมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับด้านวัฒนธรรม การศึกษา การใช้ภาษาและเรื่องที่เกี่ยวกับด้านสุขภาพ (รวมถึงงานด้านการปกป้องเยาวชน สวัสดิการสังคม และด้านการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ) และยังมีอำนาจในการติดต่อกับต่างประเทศในเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบ[9]
      4.ในระดับมณฑล (Province)สามารถแบ่งออกได้เป็น 10 มณฑล ได้แก่ 

1. Luxembourg พื้นที่ 4,440 ตร.กม.(ชื่อซ้ำกับ ประเทศแกรนด์ ดัชชี่ออฟลักเซเบิร์ก และมีเขตแดนติดต่อกัน)

2.Liege มีพื้นที่ 3,862 ตร.กม.

3.Hainaut มีพื้นที่ 3,786 ตร.กม.

4.Namur มีพื้นที่ 3,666 ตร.กม.

5.West-Flanders มีพื้นที่ 3,144 ตร.กม.

6.East-Flanders มีพื้นที่ 2,982 ตร.กม

7.Antwerp มีพื้นที่ 2,867 ตร.กม.

8.Limburg มีพื้นที่ 2,422 ตร.กม.

9.Flemish Brabant มีพื้นที่ 2,106 ตร.กม.

10.Walloon Brabant มีพื้นที่ 1,091 ตร.กม. องค์กรบริหารระดับมณฑล มีอำนาจหน้าที่ดูแลงานโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่นโครงสร้างด้านการศึกษา สังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งงานด้านสาธารณะสุข นโยบายสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และงานสาธารณะต่างๆ[9]

     5.ระดับชุมชน (Commune)สามารถแบ่งออกได้เป็นจำนวนมากถึง 589 ชุมชน ซึ่งอยู่ในกลุ่มของภูมิภาคฟลานเดอร์มี 308 ชุมชน ในภูมิภาควาโลเนียมี 262 ชุมชน และในภูมิภาคบรัสเซลส์ มี 19 ชุมชน[9] ชุมชนมีอำนาจเป็นของตนเองในด้านศิลปวัฒนธรรม ภาษา นโยบายเยาวชน สื่อสารมวลชน การกีฬา การศึกษา (ยกเว้นการกำหนดการศึกษาภาคบังคับ มาตรฐานคุณสมบัติของการรับปริญญา และบำนาญของครูอาจารย์) และการประกันสุขภาพ 
        ประเด็นที่น่าสนใจและให้ความสำคัญยิ่งก็คือ ชุมชนนั้นจะมีอำนาจต่างๆที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่อย่างมาก ซึ่งค่อนข้างจะแตกต่างกับระบบของประเทศไทยโดยที่สำคัญคือ ชุมชนถือได้ว่าเป็นผู้ที่ทำหน้าที่พิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้คนต่างชาติขออนุญาตพักอาศัยอยู่ต่อในเบลเยียม(ในส่วนนี้จะไม่ใช่อำนาจของ ตม.) และก็รวมถึงเป็นนายทะเบียนราษฎร์ที่ทำหน้าที่สำหรับการจดทะเบียนสมรสด้วย และในแต่ละชุมชนก็จะมีการกำหนดเอกสารที่จำเป็นต้อง ใช้ประกอบการจดทะเบียนสมรสไว้ต่างกัน[9]

ระบบกฏหมาย[แก้]

กฎหมายบ้านเมืองได้รับอิทธิพลจากหลักการรัฐสภาของอังกฤษ และนำเอากฎจากศาลโลกมาใช้ร่วมด้วย[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. จิตศมน เฟลตัน,ทวีปยุโรป,สำนักพิมพ์หน้าต่างสู่โลกกว้าง,พ.ศ.2540,หน้า129
  2. ธนู แก้วโอภาส. (2535). ยุโรป2. สำนักพิมพ์ชาติเศรษฐกิจ. หน้า255.
  3. คำรณ อินธนูไชย. (2537). ในรั้วในวังยุโรป. สำนักพิมพ์เบล็สซิง. หน้า48-50.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 ประเทศเบลเยียม.วิกิพีเดีย
  5. จูเลียส ซีซาร์ .วิกิพีเดีย
  6. 6.0 6.1 6.2 สุปราณี มุขวิชิต. (2545). ประวัติศาสตร์ยุโรป สงครามเย็น-มิลเลียนเนียม. สำนักพิมพ์โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์. หน้า327-328.
  7. อำนาจ เจริญศิลป์. (2548). ท่องยุโรปแสนสวย. สำนักพิมพ์รุ่งแสง. หน้า135.]
  8. 8.0 8.1 ราชอาณาจักรเบลเยียม.สถาบันอาณาบริเวณศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 9.6 9.7 การเมืองการปกครอง. สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์
  10. ราชอาณาจักรเบลเยียม (Kingdom of Belgium). สำนักข่าวเจ้าพระยา.