ผู้ใช้:Prin wanchai/ห้องเก็บของ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มุสตาฟา เซเลบี[แก้]

มุสตาฟา เซเลบี
เหรียญที่จารึกพระนามของ มุสตาฟา เซเลบี
สุลต่านรูเมเลียพระองค์ที่ 3
ก่อนหน้ามูชา เซเลบี
ครองราชย์มกราคม ค.ศ.1419 - ค.ศ.1420
ครองราชย์มกราคม ค.ศ.1421 - ค.ศ.1422
ประสูติไม่มีข้อมูล
สวรรคตพฤษภาคม ค.ศ.1422
คู่อภิเษกธิดาของอาหมัด จาเลยีร์[1]
ราชวงศ์ราชวงศ์ออตโตมัน
พระราชบิดาสุลต่านบาเยซิดที่ 1
พระราชมารดาฮาตุน ซุลตัน

บทความนี้เกี่ยวกับโอรสของสุลต่าบาเยซิดที่ 1 สำหรับโอรสของสุลต่านเมห์เหม็ดที่ 1 กูทู มุสตาฟา สำหรับโอรสองค์โตของสุลต่านสุไลมานผู้เกรียงไกร เชห์ซาเด มุสตาฟา

เซเลบีไม่ใช่นามสกุลแต่เป็นนามแฝง ซึ่งเซเลบีคือชื่อเมืองในประเทศตุรกีในปัจจุบัน

มุสตาฟา เซเลบี (สิ้นพระชนม์ พฤษภาคม ค.ศ.1422) หรือรู้จักกันในนาม มุสตาฟาจอมหลอกลวง (ตุรกี: Düzmece Mustafa or Düzme Mustafa) เป็นองค์ชายของจักรวรรดิออตโตมัน ที่พยายามจะชิงราชบัลลังก์ออตโตมันในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 และยังเป็นสุลต่านแห่งรูเมเลียถึงสองครั้ง ระหว่าง เดือนมกราคม ค.ศ.1419-ค.ศ.1420 และ ค.ศ.1421-ค.ศ.1422

เบื้องหลัง[แก้]

มุสตาฟาเป็นหนึ่งในบุตรของ สุลต่านบาเยซิดที่ 1 สุลต่านแห่งจักรวรรดิออตโตมัน และมารดาของพระองค์ ฮาตุน ซุลตัน เป็นธิดาของกลุ่มชาวเติร์กอีกเผ่าในอานาโตเลีย หลังจากยุทธการที่อังการา พระราชบิดาของงพระองค์ได้พ่ายแพ้แก่เตมือร์ มุสตาฟาและพระราชบิดาของพระองค์ถูกจับเป็นเชลย ในขณะที่พี่น้องทั้ง 4 ของพระองค์ทำสงครามกันเองในช่วงว่างระหว่างรัชกาล (ออตโตมัน) เพื่อแย่งชิงราชบัลลังก์ ส่วนมุสตาฟาพระองค์ถูกคุมขังอยู่ที่เมือง ซามาร์กันต์ อยู่ในประเทศอุซเบกิสถานในปัจจุบัน หลังจากที่เตมือร์สิ้นพระชนม์ พระองค์จึงได้เดินทางกลับไปที่อานาโตเลยอีกครั้ง ใน ค.ศ.1405

ก่อกบฏครั้งแรก[แก้]

หลังจากช่วงว่างระหว่างรัชกาลจบลง เมห์เหม็ด เซเลบี เชษฐาองค์ที่ 4 ของพระองค์สามารถเอาชนะพี่น้องทั้งหมดและขึ้นเป็นสุลต่านได้ มุสตาฟาก็ได้ปรากฏตัวในรูเมเลีย ด้วยช่วยเหลือจากจักรพรรดิมานูเอลที่ 2 พาลาโอโลกอส ที่ส่งพระองค์มาที่รูเมเลีย และได้รับการสนับสนุนโดยมิเครียที่ 1 ผู้ปกครองแห่งวอลเลเกีย และหัวหน้าเผ่าเติร์กเผ่าอัยดินิดส์ มุสตาฟาขอให้เมห์เหม็ด เชษฐาของพระองค์ แบ่งจักรวรรดิกับพระองค์ แต่เมห์เหม็ดปฏิเสธคำขอนี้ มุสตาฟาจึงทำสงครามกับเมห์เหม็ด และหลบหนีไปลี้ภัยอยู่ที่เทสซาโลนีกี หลังจากตกลงกับเมห์เหม็ดไม่สำเร็จ จักรพรรดิมานูเอลที่ 2 จึงเนรเทศพระองค์ไปอยู่ที่เกาะเลมนอส[2][3]

ก่อกบฏครั้งที่สอง[แก้]

หลังจากการสวรรคตของสุลต่านเมห์เหม็ดที่ 1 ในปี ค.ศ.1421 มุสตาฟาเริ่มมีความมั่นใจว่าจะสามารถเอาชนะหลานชายของพระองค์ได้ นามว่า สุลต่านมูรัดที่ 2 บุตรชายและเป็นผู้สืบราชบัลลังก์ของเมห์เหม็ด ด้วยการสนับสนุนจากชาวไบแซนไทน์ พระองค์สามารถเข้ายึดกัลลิโพลีและเข้าควบคุมป้อมปราการที่ช่องแคบดาร์ดะเนลส์ และหลังจากที่พระองค์เข้ายึดเอดีร์แน เมืองหลวงออตโตมันฝั่งยุโรปได้สำเร็จแล้ว และเริ่มปกครอง มุสตาฟาได้พิสูจน์ว่าพระองค์เป็นหนึ่งในบุตรของบาเซยิด และได้รับการสนับสนุนจากผู้ว่าราชการในรูเมเลีย แม้ว่าสุลต่านมูรัดจะส่งกองกำลังของพระองค์ข้ามช่องแคบบอสพอรัสเพื่อปราบมุสตาฟา แม้กระทั้งกองกำลังที่สุลต่านมูรัดส่งไปเพื่อกำจัดจัดมุสตาฟา ดันกลับไปเข้าร่วมกับมุสตาฟาในยุทการซาซลิเดเร ด้วยความมั่นใจต่อกองทัพของพระองค์ มุสตาฟาจึงตัดสินใจยกกองทัพข้ามดาร์เดเนลส์ เพื่อยกทัพไปผนวกจักรวรรดิฝั่งเอเชียในอานาโตเลีย

  1. Yılmaz Öztuna (2005). Devletler ve hanedanlar: Turkiye (1074-1990) (ภาษาตุรกี). Kültür Bakanlığı. p. 111. Mustafa Çelebî, Sultan Ahmed Celâyir'in kızı ile nişanlı idi...
  2. Prof. Yaşar Yüce-Prof. Ali Sevim: Türkiye Tarihi Cilt II, AKDTYKTTK Yayınları, İstanbul, 1991 p 86-88
  3. Barker, John (1969). Manuel II Paleologus (1391–1425): A Study in Late Byzantine Statesmanship. Rutgers University Press. pp. 340–344. ISBN 0-8135-0582-8.