ผู้ใช้:Prakrusamukoson Phatthasilo/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัดควนศรี ตำบลควนศรี อำเภอบ้านนาสาร[แก้]

ประวัติ[แก้]

วัดควนศรี
ชื่อสามัญวัดควนศรี
ที่ตั้งเลขที่ 63 หมู่ 8 ตำบลควนศรี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84270
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
ก่อตั้งปี พ.ศ. 2435
พระประธานพระประธานในพระอุโบสถ ปางมารวิชัย อยู่คู่กับวัดมาตั้งแต่สร้างวัด
เจ้าอาวาสพระครูสมุห์โกศล พทฺธสีโล (เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน)
พระจำพรรษา8 รูป
จุดสนใจโดดเด่นเรื่องศิลปะและความเก่าแก่โบราณ มีพระรูปโบราณ มีสถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนาที่สวยงาม
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดควนศรี เป็นวัดเก่าแก่ตั้งอยู่ที่บ้านควนวัด หมู่ที่ 8 ตำบลควนศรี เป็นวัดราษฎร์ สังกัดมหานิกาย สร้างขึ้นมาในสมัยใดไม่มีหลักฐาน

ปรากฎ ขึ้นทะเบียนตั้งวัด พ.ศ. 2435 ได้รับวิสุงคามสีมาครั้งแรก พ.ศ. 2473 และได้มีการขยายเขตสร้างอุโบสถใหม่ ได้รับวิสุงคามสีมาครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2542 [1] วัดควนศรีสร้างขึ้นสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐาน เมื่อเริ่มสร้างวัดนั้นมีผู้มาพบโบราณสถาน มีพระพุทธรูปศิลาแดง และเทวรูปรักหักพังกองบริเวณต้นไทรใหญ่ ชาวบ้านแผ้วถางเห็นเป็นร่องรอยสถานขอบเขตวัดเก่าจึงสร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้น นิมนต์พระอธิการพร้อม (ไม่ทราบฉายา) เป็นเจ้าสำนัก มีสิ่งศักดิ์ประจำวัดที่สักการะของคนทั่วไป คือ พ่อท่านคงแก้ว ตาขุนชิต นายสุด นายคง และตาผ้าขาว ปัจจุบันมีพระครูสมุห์โกศล พทฺธสีโล เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัด พัฒนาวัดเจริญขึ้นตามลำดับ

วัดควนศรี เป็นวัดที่สวยงามวัดหนึ่งในอำเภอบ้านนาสาร มีความโดดเด่นเรื่องศิลปะและความเก่าแก่โบราณ มีพระพุทธรูปหินทรายแดงหลายองค์ในบริเวณวัด สิ่งศักดิ์สิทธ์ประจำวัดควนศรี คือหลวงพ่อคงแก้ว ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่แขนหักทั้งสองข้าง เป็นที่เคารพบูชาเป็นศูนย์รวมน้ำใจของชาวตำบลควนศรี เมื่อสมัยพบวัดควนศรีนั้นเป็นวัดร้างมีเพียงซากวัตถุโบราณ และเมื่อคราวสร้างอุโบสถหลังแรกก็ได้เอาทับถมลงใต้ดินสียส่วนมาก มีเพียงพระพุทธรูปโบราณ มีลักษณะคล้ายพระพุทธรูปสมัยศรีวิชัย ชาวบ้านนับถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ คือ พ่อท่านคงแก้ว

พ่อท่านคงแก้ว ตามเรื่องเล่าของคนในชุมชน คือ พ่อท่านเจ้าวัดอดีตสมภารที่ละสังขารไปแล้ว ยังไม่ได้ไปเกิดใหม่ วิญญาณยังคอยตามปกปักรักษาอยู่ ให้รีบสร้างวัดขึ้นที่นี่ ชุมชนก็จะเจริญขึ้นต่อไปต่อมาชาวบ้านได้ก่อตั้งเป็นชุมชนใหญ่ขึ้น มีการพัฒนาตามลำดับ ความเชื่อ ลัทธิ ประเพณีต่างๆ ความศักดิ์สิทธิ์ของพ่อท่านก็มาขึ้น ใครเดือดร้อนก็บนบานขอให้ท่านช่วย ชื่อเสียงเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของท่านก็ขยายออกไปยังชุมชนอื่นๆ ภายหลังจึงมีประเพณีแก้บนเกิดขึ้น ในวันงานประจำปีของวัดควนศรี วันแรม 15 ค่ำ เดือน 4 และในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 มีการแข่งมโนราห์ถวายเป็นที่เอิกเกริกทุกปีไม่ได้ขาด แต่เดิมไม่มีใครทราบชื่อของท่าน ภายหลังเมื่อมีการประทับทรง มีผู้ถามเพื่อออกนามท่าน บอกว่าท่านชื่อ คงแก้ว จึงมีการออกนามท่านว่า พ่อท่านคงแก้วตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา[2]

วัตถุมงคลของวัด[แก้]

การจัดสร้างวัตถุมงคล ได้แก่ พระเครื่อง (เหรียญพ่อท่าน) ผ้ายันต์ ได้มีการจัดสร้างเพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาได้เช่าไปบูชา มีจำนวนหลายรุ่น หลายครั้ง ดังนี้

การสร้างพระเครื่อง รุ่นที่ 1 เป็นเหรียญโลหะอัลปาก้าสีขาว สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2511 รุ่นที่ 2 เป็นรูปดาว 9 แฉก เนื้อทองแดงรมดำ และไม่รมดำ เนื้ออัลปาก้า สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2513 รุ่นที่ 3 เป็นเนื้อทองแดงทั้งหมด สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2524 รุ่นที่ 4 มีสองพิมพ์ และมีสองเนื้อคือ เนื้อเงินอัลปาก้า เนื้อทองแดงรมดำ ปี พ.ศ. 2537 รุ่นที่ 5 เป็นเหรียญนื้อทองแดงรมดำ รูปเหรียญเป็นรูปโล่ห์ ปี พ.ศ. 2544

ผ้ายันต์ สติกเกอร์ รูปเหรียญสำหรับห้อยในรถยนต์ และธงชายครุฑรูปหลวงพ่อคงแก้ว และประคำมงคลสามสี สำหรับให้บริการตามศรัทธา นอกจากนี้นังมีทรายพุทธาภิเศกรวมทั้งวัตถประกอบพิธีอันได้แก่ ผ้าคลุมลูกนิมิตร มีดตัดหวาย ทั้งหมดนี้ได้ประกอบพิธีพุทธาภิเศกเมื่อวันเสาร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2544 ณ มงคลพิธีอุโบสถวัดควนศรี มีพระคุณเจ้าพระราชพิพัฒนาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดสุราษฎรธานีในขณะนั้น เป็นประธานจุดเทียนชัย มีพระครูวิสุทธบุญดิษฐ์ (หลวงพ่อนวล วัดไสหร้า) เป็นพระอาจารย์นั่งปรกร่วม และยังมีพระคณาจารย์มหาเถระ 9 รูป ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีร่วมเป็นพระอาจารย์นั่งปรก ปลุกเศก

อ้างอิง[แก้]

  1. "วัดควนศรี". binfo.onab.go.th. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "ประวัติพอสังเขปพ่อท่านคงแก้ว วัดควนศรี". www.facebook.com. ขวาน นาสาร ไกรสิทธิ์ ชูชาติ.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)