ผู้ใช้:Pippa5480/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

‘’’ชัชชน รัตนรักษ์’’’ นักธุรกิจผู้มีอิทธิพลผู้หนึ่งในแวดวงธุรกิจประเทศไทย [1]  ปัจจุบันบริหารงาน บริษัท ต้นสน กรุ๊ป จำกัด และเป็นรุ่นที่ 3  ของตระกูลรัตนรักษ์

ตระกูลรัตนรักษ์ถือเป็นตระกูลรุ่นบุกเบิกตระกูลหนึ่งซึ่งยังคงความเป็นยักษ์ใหญ่ในสังคมธุรกิจไทย เป็นผู้ถือหุ้นหลักในบริษัทชั้นนำของไทยหลากหลายบริษัท อาทิ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน), บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด(มหาชน), บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา จำกัด, บริษัท ศรีอยุธยา แคปปิตอล จำกัด (มหาชน), บริษัท แม็ทชิ่ง สตูดิโอ จำกัด (มหาชน), บริษัท มีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด (มหาชน), บริษัท อีสเทอร์น สตาร์ เรียล เอสเตท จำกัด (มหาชน) และยังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด (BBTV) หรือช่อง 7

ประวัติ[แก้]

ชัชชน เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2515 เป็นบุตรชายคนเดียวของ นายกฤตย์ รัตนรักษ์ ประธานกรรมการบริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด หรือช่อง 7 และผู้นำกลุ่มธุรกิจรัตนรักษ์  ชัชชน เป็นหลานของ นายชวน รัตนรักษ์ ผู้ก่อตั้งธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน), บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง (ผู้ผลิตปูนตรานกอินทรี) และ บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด หรือช่อง 7 ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในตำนานนักธุรกิจไทยเชื้อสายจีนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดท่านหนึ่งของประเทศไทย [2]

ด้านการศึกษา ชัชชน (ต้น) ศึกษาในประเทศไทยจนอายุ 10 ปี จากนั้นก็เข้าศึกษาต่อในระดับประถมและมัธยมในประเทศสหราชอาณาจักร และศึกษาต่อระดับปริญญาตรีสาขาเศรษฐศาสตร์ (เกียรตินิยม) ที่สถาบัน มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร สำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2539 [3]

กลุ่มรัตนรักษ์ เป็นกลุ่มที่เรียกว่ากลุ่มเงินเก่า (old money) นิตยสาร Forbes แห่งสหรัฐอเมริกาเคยกล่าวไว้ว่าเป็นกลุ่มที่เก็บตัวและค่อนข้างลึกลับ [4]

ประวัติการทำงาน[แก้]

เล่ากันว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงของบริษัท Goldman Sachs บริษัทวาณิชธนกิจชั้นนำของโลก หนึ่งในสถานบันการเงินยักษ์ใหญ่ เคยกล่าวถึง ชัชชน ว่าเป็นบุคคลผู้มี สัญชาติญาณนักลงทุนโดยแท้จริง ด้วยเหตุนี้เองทันทีที่จบการศึกษา ชัชชน จึงได้รับการเสนอให้ไปฝึกงานกับบริษัท Goldman Sachs อย่างไรก็ดีชัชชนได้เลือกที่จะกลับมาทำงานในกิจการของครอบครัว [3]

ในปี พ.ศ. 2544 ด้วยการสนับสนุนจากกลุ่ม ชัชชน ได้ร่วมก่อตั้งบริษัทหลักทรัพย์ จัดการกองทุนรวม พรีมาเวสท์ จำกัด ซึ่งในปีที่ผลการดำเนินงานสูงสุด เช่นในปี พ.ศ. 2550 มีพอร์ตกองทุนในการดูแลมูลค่าสูงถึง 900 ล้านดอล์ล่าร์สหรัฐฯ  หรือ 35,000 ล้านบาทในเวลานั้น โดยต่อมาในปี พ.ศ. 2552 บริษัทหลักทรัพย์ จัดการกองทุนรวม พรีมาเวสท์ จำกัด ได้ขายให้กับธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

ในปี พ.ศ. 2549 ชัชชน ก่อตั้งบริษัท ต้นสน กรุ๊ป จำกัด และต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ก่อตั้งบริษัท ต้นสน พร๊อพเพอร์ตี้ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการลงทุนและพัฒนาในอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่ม [5]

นอกจากการก่อตั้งบริษัทต่างๆข้างต้นแล้ว ชัชชน ยังดำรงตำแหน่งกรรมการ บริษัท ปูนซีเมนต์ นครหลวง จำกัด (มหาชน)  หรือที่เรียกกันว่า ปูนกลาง หรือ ปูนตรานกอินทรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 จนถึง พ.ศ. 2562 [6]

ปีพ.ศ. 2557 นิตยสาร Forbes ได้ประเมินมูลค่าสินทรัพย์ที่กลุ่มรัตนรักษ์ถืออยู่โดยวัดจากสินทรัพย์ที่สามารถหาได้จากข้อมูลสาธารณะซึ่งไม่รวมสินทรัพย์และที่ดินส่วนตัวอื่นๆ ว่าคิดเป็นมูลค่าประมาณ 5,100 ล้านดอลล่าห์สหรัฐ หรือประมาณ 160,000 ล้านบาท [7]  โดยหนังสือ “ตระกูลไหนร่ำรวยที่สุด” ได้ประมาณมูลค่าสินทรัพย์ของกลุ่มรัตนรักษ์ไว้ว่ามีสินทรัพย์คิดเป็นมูลค่ามากกว่าหมื่นล้านดอลล่าห์สหรัฐ ไม่เพียงเท่านั้น หนังสือดอกเบี้ย ได้เคยเขียนไว้ว่าตระกูลรัตนรักษ์มีสินทรัพย์อยู่กว่า 600,000 ล้านบาท ตั้งแต่สมัยปี พ.ศ. 2540 [8]

ในหนังสือ ตำนานมหาเศรษฐี 30 ตระกูลดัง ได้กล่าวสรุปไว้อย่างน่าสนใจว่า “คงไม่เกินเลยความจริงหากจะสรุปว่า ณ วันนี้อาณาจักรธุรกิจตระกูล “รัตนรักษ์” ยังคงเป็นกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ที่มีอนาคตสดใส ขณะที่กำลังรอเวลา และโอกาสที่เหมาะสมให้ผู้นำตระกูลรัตนรักษ์ รุ่นที่ 3 นาม “ชัชชน รัตนรักษ์” บุตรชายคนเดียวของกฤตย์ รัตนรักษ์ ก้าวเข้ามาสืบสานธุรกิจครอบครัว ให้เจริญรุ่งเรืองและมั่นคงยาวนานสืบไป” [9]

กลุ่มธุรกิจ รัตนรักษ์[แก้]

  • บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท ศรีอยุธยา แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด
  • บริษัท แม็ทชิ่ง สตูดิโอ จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท มีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท แกรนด์ คาแนล แลนด์ จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท อีสเทอร์น สตาร์ เรียล เอสเตท จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท ต้นสน กรุ๊ป จำกัด
  • บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (ปูนตรานกอินทรี)
  1. Business Report Thailand. January 2012. pp. 43–45. {{cite news}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  2. "BANK OF AYUDHYA CHAIRMAN PASSES AWAY". Bangkok Post. 4 August 1993.
  3. 3.0 3.1 "High on design". Property Report South East Asia. สืบค้นเมื่อ 26 August 2011.[ลิงก์เสีย]
  4. Forbes Magazine. 18 July 1994. p. 162. {{cite news}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  5. "Tonson Targets High-End Niche". Bangkok Post Business. สืบค้นเมื่อ 13 November 2009.
  6. "Siam City Cement PCL". Financial Times Market Data. สืบค้นเมื่อ 13 November 2009.
  7. "Krit Ratanarak". Forbes. สืบค้นเมื่อ 2 July 2014.
  8. Jaiyen, Boonchai (2012). Which Family is the Richest. pp. 37–54. ISBN 978-616-7363-70-7.
  9. Sapphaibūn, Thanawat (2001). Sutyō̜t čhaosūa Thai (Phim khrang rǣk. ed.). Krung Thēp: Samnakphim Dapbœ̄n Nāi. p. 497. ISBN 9746603264.