ผู้ใช้:Ounjitti/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศาสตราจารย์ ดร.แถมสุข นุ่มนนท์ นักประวัติศาสตร์ไทย ผู้มีผลงานทางวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ที่รู้จักกันดีในฐานะผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์การเมืองก่อนและหลังการปกครอง โดยได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่ม เช่น เมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ขบวนการ ร.ศ. 130 และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกา ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.แถมสุข นุ่มนนท์ เกิดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2478 ณ บ้านตึกแถว ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตรงท่าโรงยาเก่า ใกล้กับปากคลองตลาด กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของร้อยตรีถัด รัตนพันธุ์ (ผู้ร่วม ก่อการกบฏ ร.ศ. 130, อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุงคนแรก ที่ได้รับเลือกตั้ง เมื่อปี พ.ศ. 2477, อดีตเลขานุการของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม สมัยที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, อดีตบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ศรีกรุง และสยามราษฎร์) และ นางแส รัตนพันธุ์ (สกุลเดิม ณ พัทลุง) หลานสาวของพระยาโสภณพัทลุงกุล อดีตเจ้าเมืองพัทลุง คนสุดท้าย มีพี่น้องร่วมบิดา – มารดา 3 คน คือ แถมศรี แถมสิน รัตนพันธุ์ (คอลัมนิสต์ ผู้เขียนเรื่องราวในวงการสังคมชั้นสูงในหนังสือพิมพ์และนิตยสารหลายฉบับ โดยใช้นามปากกว่า “ลัดดา”) และแถมสร้อย รัตนพันธุ์ ชีวิตครอบครัว สมรสกับ นายสุรัตน์ นุ่มนนท์ (อดีตคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) บุตรคนเดียวของนายจำรัส และนางสง่า นุ่มนนท์ เมื่อปี 2506 มีบุตร 2 คน คือ 1. นายรณดล นุ่มนนท์ สมรสกับ นางสาวปาลีรัฐ ศิลปพันธุ์ มีบุตร 2 คน คือ นายปารณ นุ่มนนท์ และนายปาณัท นุ่มนนท์ 2. นายธนชาติ นุ่มนนท์ สมรสกับ นางสาวสุวรรณี โสภณธรรมกิจ มีบุตร 1 คนคือ นายนิธิรันดร์ นุ่มนนท์ และสมรสกับ นางสาวธนิศา เครือไวศยวรรณ มีบุตร 1 คนคือ เด็กชายธีรธรรม นุ่มนนท์

ไฟล์:ศาสตราจารย์ ดร.แถมสุข นุ่มนนท์

ประวัติการศึกษา[แก้]

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.แถมสุข เริ่มต้นการศึกษาที่โรงเรียนสตรีจุลนาค หลานหลวง แต่เรียนได้ปีเดียวสงครามโลกครั้งที่สองก็เกิดขึ้น จนทำให้ครอบครัวตัดสินใจย้ายไปอยู่ที่จังหวัดพัทลุง และเข้าเรียนในชั้นประถม ศึกษาปีที่สองที่โรงเรียนโสภณพัทลุงกุล แต่เมื่อคุณพ่อเสียชีวิตอย่างกะทันหันด้วยโรคโลหิตในสมองแตกเมื่อเดือนมีนาคม 2487 ขณะที่ยังเป็นผู้แทนราษฎร ทำให้ชีวิตครอบครัวถึงจุดเปลี่ยนแปลงทำให้คุณแม่ต้องรับภาระเลี้ยงดูลูกๆ ภายหลังจบชั้นประถมศึกษา ศ.เกียรติคุณ ดร. แถมสุข เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนสตรีพัทลุงจนจบมัธยมปีที 4 และได้รับทุนจากมูลนิธิฟุลไบร้ท์ จากโครงการรุ่นแรกที่ให้แก่นักเรียนต่างจังหวัดที่เรียนดีแต่ขาดแคลน มาเข้าเรียนเป็นนักเรียนประจำที่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย โดยเลือกเรียนสายอักษรศาสตร์ และจบมัธยมปีที่ 8 รุ่น พ.ศ. 2495 โดยสอบได้ที่ 9 ของประเทศ และเข้าศึกษาต่อที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรในวันที่ 4 กรกฎาคม 2500 ได้รางวัลทุนสุภาส จันทรโบส ในฐานะได้คะแนนยอดเยี่ยมหมวดประวัติศาสตร์ ภายหลังจบการศึกษา ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. แถมสุข ได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์ที่แผนกวิชาประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2501 ก่อนได้รับทุนของมูลนิธิเอเชียที่ให้แก่บัณฑิตในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปศึกษาปริญญาโท วิชาประวัติศาสตร์ณ มหาวิทยาลัยฮ่องกง สำเร็จการศึกษาในปี 2504 ด้วยการเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง พัฒนาการของรัฐไทรบุรี-ปะลิส ค.ศ. 1909 – ค.ศ. 1941 ก่อนมาเป็นอาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ อีกครั้งหนึ่งเป็นระยะเวลาสั้นๆ เพราะได้รับทุนบริติช เคาน์ชิล ไปศึกษาต่อปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยลอนดอน จนจบในปี 2509 จากการเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง การเจรจาทางการทูตระหว่างสยามกับอังกฤษ ค.ศ. 1900-1909

ประวัติการทำงาน[แก้]

ภายหลังจบปริญญาเอกที่ปริญญาเอกด้านประวัติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยลอนดอนในปี 2509 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.แถมสุข นุ่มนนท์ ได้กลับมาเป็นอาจารย์สอนประวัติศาสตร์ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นระยะเวลา 4 ปี ก่อนตัดสินใจย้ายไปสอนที่ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี 2514 ด้วยปัญหาสุขภาพจากภูมิแพ้มลพิษในกรุงเทพฯ เป็นระยะเวลา 4 ปี ก่อนย้ายมาเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม จนเกษียณอายุราชการในปี 2538

ประวัติการทำงาน

  • อาจารย์ประจำแผนกวิชาภูมิ – ประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2501 – 2514)
  • อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2514 – 2518)
  • อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม(2518 – 2538)
  • อาจารย์พิเศษคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2501 – 2514)
  • อาจารย์พิเศษคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2501 – 2514)
  • อาจารย์พิเศษคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2512 – 2514)
  • อาจารย์พิเศษคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2519 – 2521)
  • นักวิชาการรับเชิญประจำสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Institute of Southeast Asian Studies) สิงคโปร์ (2519)
  • นักวิชาการรับเชิญประจำสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยคอร์แนล
  • ศาสตราจารย์รับเชิญประจำมหาวิทยาลัยเบิร์กเลย์ แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา (2524 – 2525)
  • อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยนเรศวร (2543 – 2546)
  • อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (2543 – 2546)

ภาคบริหารและงานวิชาการของมหาวิทยาลัย

  • หัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2514 – 2518)
  • หัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (2518 – 2522)
  • คณบดีคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (2526 – 2530)
  • กรรมการสภามหาวิทยาลัยศิลปากร (2526 – 2530)
  • ประธานหลักสูตรวิชาพื้นฐานมหาวิทยาลัยศิลปากร (2527 – 2530)
  • กรรมการกลั่นกรองหลักสูตรกลุ่มสาขาสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร (2538 – 2546)
  • กรรมการพิจารณาหลักสูตรสายสังคมศาสตร์ของทบวงมหาวิทยาลัย (2527 – 2537)
  • อนุกรรมการวิสามัญเกี่ยวกับตำแหน่งทางวิชาการของทบวงมหาวิทยาลัย
  • ประธานจัดทำโครงการและดำเนินการสอนเรื่องเมืองไทยให้แก่นักศึกษาวิทยาลัย เซนต์โอลาฟ วิทยาลัยหลุยส์ แอนด์ คล๊าก วิทยาลัยเวสลีย์ จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเข้ามา ศึกษาที่คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร ติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี นับจากปี 2516 - 2531

งานวิชาการของสถาบัน / สมาคม

  • คณะกรรมการก่อตั้งและอุปนายกสมาคมประวัติศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (2521 – 2530)
  • กรรมการดำเนินงานประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กรมยุทธศึกษาทหารกองบัญชาการทหารสูงสุด (2529 – 2537)
  • กรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ 100 ปี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สำนักนายกรัฐมนตรี (2535 – 2536)
  • กรรมการวิจัยและพัฒนา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (2536 – 2542)
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2536 – 2545)
  • กรรมการคณะบรรณาธิการทำสารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย ราชบัณฑิตยสถาน (2534 – 2546)
  • กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาปรัชญา (2534 – 2545)
  • กรรมการพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า (2543 – 2546)

รางวัล / ทุนการศึกษา[แก้]

  • ทุนมูลนิธิการศึกษาไทย – อเมริกัน (ฟุลไบรท์) ระดับเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (2494 – 2495)
  • รางวัลทุนสุภาส จันทรโบส คะแนนยอดเยี่ยมหมวดประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2500)
  • รางวัลรันซีแมน ชนะประกวดเรียงความประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย (2500)
  • ทุนมูลนิธิเอเชีย ศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยฮ่องกง (2502 – 2504)
  • ทุนบริติช เคาน์ซิล ศึกษาระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยลอนดอน (2505 – 2509)
  • ทุนซีโต้เพื่อทำวิจัยเรื่อง ที่ปรึกษาราชการชาวอเมริกันในประเทศไทย ที่สหรัฐอเมริกา (2516)
  • ทุนมูลนิธิฝอร์ดเพื่อทำวิจัยเรื่อง เมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ที่สิงคโปร์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ (2518)
  • ทุน American Council of Learned Societies เพื่อทำวิจัยเรื่อง เมืองไทยสมัยสงคราม เวียดนามที่สหรัฐอเมริกา (2522 – 2523)
  • ได้รับเชิญจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา รัฐบาลญี่ปุ่น และรัฐบาลเยอรมัน ไปปาฐกถาในวาระ ฉลองครบรอบ 200 ปี อิสรภาพอเมริกา ฉลองครบรอบ 100 ปี สัมพันธภาพไทย – ญี่ปุ่น และการฉลองครบรอบ 50 ปี สงครามโลกครั้งที่สองที่มลรัฐฮาวาย (2519) กรุงโตเกียว (2530) นครเบอร์ลิน (2538)
  • ได้รับทุนมูลนิธิโตโยต้า มูลนิธิเอเชีย มูลนิธิฝอร์ดและอื่น ๆ เข้าร่วมประชุมสัมมนาทางวิชาการและนำเสนอบทความในประเทศออสเตรเลีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมัน

ผลงานทางวิชาการของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.แถมสุข นุ่มนนท์[แก้]

หนังสือและงานวิจัย

  • 2515 ประวัติศาสตร์ไทยและต่างประเทศ. พระนคร : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
  • 2515 ไม่ยอมแพ้แก่โชคชะตา. (แปล). พระนคร : โครงการจัดพิมพ์หนังสือสำหรับประชาชน สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย.
  • 2519 เรื่องเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
  • 2520 การสร้างชาติของจอมพล ป. พิบูลสงคราม สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง กรุงเทพฯ : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.
  • 2521 ประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
  • 2521 เมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง. กรุงเทพฯ : บริษัทดวงกมล.
  • 2521 การปกครองและสังคมไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
  • 2522 ฟื้นอดีต. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เรืองศิลป์.
  • 2522 ขบวนการ ร.ศ. 130. กรุงเทพฯ : สถาบันไทยคดีศึกษา.
  • 2522 ยังเติร์กรุ่นแรก : กบฏ ร.ศ. 130. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เรืองศิลป์.
  • 2522 ประวัติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. (แปลร่วมกับคุณวรุณยุพา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และคณะ)กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
  • 2524 การเมืองและการต่างประเทศในประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
  • 2525 ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกา ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง.กรุงเทพฯ : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย
  • 2525 “ประวัติศาสตร์บางขุนพรหม,” ที่ระลึกในการเปิดอาคารสำนักงานใหญ่ธนาคารแห่ง ประเทศไทย. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์. หน้า 297-364.
  • 2528 การทูตไทยสมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
  • 2530 จากการแลกเปลี่ยนความรู้ไปสู่ความเข้าใจที่ดีต่อกัน 36 ปีของโครงการฟุลไบร์ทในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์
  • 2535 ละครการเมือง 24 มิถุนายน 2475. สมาคมประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : ศักดิ์โสภาการพิมพ์.
  • 2536 สถานภาพการวิจัยสาขาประวัติศาสตร์ในประเทศไทย 2503-2535. สภาวิจัยแห่งชาติ.
  • 2536 สังคมศึกษา ส.605. (แถมสุข นุ่มนนท์และคณะ). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช.พิมพ์ครั้งที่ 12 ฉบับปรับปรุง 2545.
  • 2539 50 ปีพรรคประชาธิปัตย์กับการเมืองไทย. (เอกสารอัดสำเนา) ธันวาคม.
  • 2544 เมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สายธาร.
  • 2544 สถานภาพงานวิจัยสาขาประวัติศาสตร์ในประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2503-2535.(แถมสุข นุ่มนนท์และคณะ). กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
  • 2545 เจาะเวลาหาอดีต หลักฐานประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
  • 2545 ละครการเมือง 24 มิถุนายน 2475. กรุงเทพฯ : หอรัตนชัยการพิมพ์.
  • 2545 ยังเติร์กรุ่นแรก กบฏ ร.ศ.130. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สายธาร.
  • 2545 สภาร่างรัฐธรรมนูญ เส้นทางการปฏิรูปการเมืองไทย. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า.
  • 2546 นายแม่ (ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์) พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร ผู้เขียน. กรุงเทพฯ : นามมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์.
  • 2548 เมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ยุคเชื่อผู้นำชาติพ้นภัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :สายธาร.
  • 2550 กระเบื้องถ้วยกะลาแตก. (บรรณาธิการ) พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร ผู้เขียน. กรุงเทพฯ :นามมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.มปป. หลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
  • 1977 Thailand and The Japanese Presence 1941-1945. Singapore : Institute of Southeast Asian Studies.
  • 2011 Bencharong. (Editorial Advisor) Jeffery Sng/Pim Praphai Bisalputra Authors Thailand : Amarin Printing and Publishing Plc.

บทความทางวิชาการที่พิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการหรือเคยนำเสนอในที่ประชุมวิชาการ

  • 2511 “เอกสารภาษาฮอลันดา ค.ศ. 1608-1620 กรุงศรีอยุธยา ประเทศสยาม,” แถลงงาน ประวัติศาสตร์ เอกสารโบราณคดี, 2 (กันยายน), 49-76.
  • 2513 “พระปรีชาญาณของพระพุทธเจ้าหลวง,” ชุมนุมจุฬา, (ตุลาคม), ม.ป.น.
  • 2514 “การเจรจาทางการทูตระหว่างไทย-อังกฤษ 1900-1909,” วรรณไวทยากร. พระนคร : โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 4-14.
  • 2515 “การปฏิรูปสังคมหัวเมืองด้านปกครอง,” ผาลาด, 2-6.
  • 2515 “กระบวนการซ้ายในประเทศไทยก่อน พ.ศ.2475,” จุลสารสัมพันธ์.
  • 2516 “ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินชาวอเมริกันในประวัติศาสตร์ไทย,” แถลงงานประวัติศาสตร์ เอกสารโบราณคดี, 7(กันยายน), 50-60.
  • 2517 “การเจรจาระหว่างรัฐบาลอังกฤษเรื่องไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปลิศ,” แถลงงานประวัติศาสตร์ เอกสารโบราณคดี, 8 (มกราคม-ธันวาคม), 7-15.
  • 2517 “ที่ปรึกษาอเมริกันในประเทศไทย พ.ศ. 2446-2483,” วารสารธรรมศาสตร์, 4 (มกราคม-มีนาคม), 2-15.
  • 2517 “ประวัติศาสตร์,” วิทยาศาสตร์สังคม, 239-256.
  • 2518 “ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศชาวอเมริกันในประเทศไทย พ.ศ. 2460-2483,”แถลงงานประวัติศาสตร์ เอกสารโบราณคดี, 9 (มกราคม-ธันวาคม), 152-167.
  • 2518 “เทียนวรรณ,” จุลสารโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2 (มกราคม), 64-70.
  • 2518 “พระราชปรารภทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และร่าง รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย,” จันทรเกษม, 127 (มีนาคม-เมษายน), 51-56.
  • 2518 “องค์ประกอบของนโยบายต่างประเทศไทย : นโยบายต่างประเทศของไทยสมัยก่อน สงครามโลกครั้งที่สอง,” อักษรศาสตร์, 1 (มิถุนายน-พฤศจิกายน), 59-64.
  • 2519 “ที่ปรึกษาราชการชาวอเมริกันในประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2446-2483,” ความสัมพันธ์ ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา, กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา, 129-174.
  • 2519 “ประวัติศาสตร์,” ปรัชญาประวัติศาสตร์, กรุงเทพฯ : พิฆเณศวร์, 33-69.
  • 2519 “เมืองไทยยุคเชื่อผู้นำ,” วารสารธรรมศาสตร์, 6 (มิถุนายน-กันยายน), 120-148.
  • 2519 “เมื่อประเทศไทยเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง,” วารสารประวัติศาสตร์, 1 (มกราคม-เมษายน), 14-33.
  • 2520 “ขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นของไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง,” วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 1 (ตุลาคม-ธันวาคม), 76-95.
  • 2520 “สภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง,” วารสารธรรมศาสตร์, 7 (กรกฎาคม-กันยายน), 61-72.
  • 2520 “เสียงสะท้อนจากการปฏิวัติอเมริกัน : ศึกษากรณีประเทศไทย,” วารสารประวัติศาสตร์,2 (กันยายน-ธันวาคม), 16-25.
  • 2521 “จอมพล ป. พิบูลสงครามกับการสร้างชาติไทย พ.ศ. 2481-2487,” วารสารประวัติศาสตร์,3 (พฤษภาคม-สิงหาคม), 14-31.
  • 2521 “ข้อคิดบางประการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475,” จุลสารสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2 (กันยายน-ธันวาคม), 6-13.
  • 2522 “การไต่สวนและพิจารณาคดีกบฏ ร.ศ.130,” วารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 16 (มกราคม-มีนาคม), 1-25.
  • 2522 “แนวพระราชดำริทางการเมืองในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,” คุรุปริทัศน์,4 (มีนาคม), 20-29.
  • 2522 “แถลงการณ์ร่วมถนัด-รัสก์,” วารสารธรรมศาสตร์, 9 (ตุลาคม-ธันวาคม), 69-104.
  • 2522 “ไทย-อเมริกา : พันธะสงครามเวียดนาม,” รวมบทความประวัติศาสตร์, 1 (กรกฎาคม), 97-132.
  • 2523 “อาชญากรสงคราม พ.ศ.2488,” วารสารประวัติศาสตร์, 5 (พฤษภาคม-สิงหาคม), 1-32.
  • 2524 “ขบวนการต่อต้านอเมริกันสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม,” รวมบทความประวัติศาสตร์,
  • 2524 “ทัศนะบางประการต่อคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ : ตัวอย่างกรณีผลงานเรื่อง ประเทศไทยกับสงครามโลกครั้งที่สอง,” โลกหนังสือ, 4 (กุมภาพันธ์), 68-73.
  • 2524 “ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสายตาอเมริกัน,” ศิลปวัฒนธรรม, 2, 31-37.
  • 2525 “ไทยกับญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง : เมืองมิตรหรือเมืองขึ้น,” เอกสารวิชาการไทย-ญี่ปุ่นศึกษา, 4 (สิงหาคม), 85-123.
  • 2526 “สัมพันธภาพไทย-อังกฤษ เรื่อง กลันตัน ตรังกานู พ.ศ. 2443-2445,” วารสารศิลปากร,27 (พฤษภาคม), 22-44.
  • 2527 “ประวัติศาสตร์,” ปรัชญาประวัติศาสตร์, กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 25-43.
  • 2527 “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับภูมิภาคตะวันตก,” เอกสารการประชุมวิชาการพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับภูมิภาคตะวันตกในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 374-389.
  • 2530 “พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวกับประวัติศาสตร์ไทย,” 200 ปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 1-10.
  • 2531 “20 ปี คณะอักษรศาสตร์,” อักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10 (มิถุนายน), 7-36.
  • 2534 “ความวุ่นวายในสยาม 24 มิ.ย. – 4 ก.ค.2475,” อักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 14 (1), 9-25.
  • 2535 “ศึกษาประวัติศาสตร์แบบบูรณาการ,” วันสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี : ประสานมิตร, 33-45.
  • 2542 “แหล่งเก็บหลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศ,” งานวิจัยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้และประวัติศาสตร์ไทย. ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
  • 1965 “The Anglo-Siamese Secret Convention of 1897,” The Journal of the SiamSociety, Llll (January), 45-60.
  • 1967 “Anglo-Siamese Negoitiations 1900-1909,” Journal of the Faculty of Arts Chulalongkorn University, (January), 19-25.
  • 1967 “Negotiations Regarding the Cession of Siamese Malay States 1907-1909,” The Journal of the Siam Society, LV (July), 227-235.
  • 1968 The Anglo-Thai Treaty of 1909,” Papers Presented at the 4th International Conference on Asian History. Kuala Lumpur : University of Malaya.
  • 1971 “The British Policy in the Malay Peninsula in the Early 20th Century,” Paper Presented at the 28th International Congress of Orientalists. Canberra : Australian National University.
  • 1974 “The First American Advisers in Thai History,” The Journal of the Siam Society, LXll (July), 121-148.
  • 1976 “The American Foreign Affairs Advisers in Thailand 1971-1940,” The Journal of the Siam Society, LXlV (January), 75-96.
  • 1977 “The Change of Thai Governments during the Japanese Presence 1941-1945,” The Review of Thai Social Science : a Collection of Articles by Thai Scholars. Likhit Dhiravegin.
  • 1977 “When Thailand followed the Leader,” Bangkok Post Sunday Magazine, (July 31, August 7).
  • 1977 “Echoes of the American Revolution : Thailand as an Asian Case study,” American Revolution : Its Meaning to Asians and Americans. Honolulu : East-West Center.
  • 1977 “When Thailand followed the Leader,” The Review of Thai Social Science : a Collection of Articles by Thai Scholars. Bangkok : the Social Science Association of Thailand. Pp.197-233.
  • 1978 “Pibulsongkram’s Thai Nation-Building Programme during the Japanese Military Presence,” Journal of Southeast Asian Studies, 9 (September), 234-248.
  • 1997 “Thailand’s Transition From the Japanese Military Presence to SEATO,” 1945 in Europe and Asia. (Germany), pp. 383-390.

บทวิจารณ์

  • 2511 ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์. โดย B.R.Pearn, (หนังสือแปล), สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 6 (ธันวาคม).
  • 2512 The Special Role of American Advisers in Thailand 1902-1947. โดย Kenneth T.Young. สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 2 (กันยายน – พฤศจิกายน).
  • 2515 King Mongkut and Queen Victoria (The Model of a Great Friendship) โดย M.L.Manich Jumsai. วารสารมนุษยศาสตร์, 2.
  • 2518 จอมพล ป. พิบูลสงคราม. โดย อ.พิบุลสงคราม. สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 13 (เมษายน-กรกฎาคม).
  • 2522 Siam and Colonialism (1855-1909) An Analysis of Diplomatic Relation. โดย Likhit Dhiravegin. วารสารประวัติศาสตร์, 4 (พฤษภาคม-สิงหาคม).
  • 2526 Political Conflict in Thailand : Reform, Reaction, Revolution. โดย David Morell และ Chai-anan Samudavanija. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 6.
  • 2526 เส้นทางเดินทัพ (พม่าตีไทย), โดย อาจารย์และนักศึกษาคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. เอเชียปริทัศน์, 4 (เมษายน-มิถุนายน).
  • 2528 Thailand : A Short History. โดย David K. Wyatt. วารสารธรรมศาสตร์, 14 (ธันวาคม).
  • 2529 A Week In Siam, January 1867. โดย The Marquis of Beauvoir. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร.
  • 2531 Early Maps of South-East Asia. โดย R.T.Fel. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 1 (2).
  • 2534 รวมชีวิตและผลงาน ม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตน์. สตรีสาร, 44(35), 17 พฤศจิกายน.
  • 2535 The Tragedy of Wanit. โดย Benjamin A. Batson และ Shimizu Hajime. วารสารร่มพฤกษ์, 10 (2), กุมภาพันธ์.
  • 1970 The Special Role of American Advisers in Thailand 1902-1949. โดย Kenneth T. Young. The Journal of the Siam Society, (January).
  • 1971 Aspects of Siamese Kingship in the Seventeenth Century. โดย Jeremy Kemp. The Journal of the Siam Society, (January).
  • 1975 Field Marshal Phibunsongkhram. โดย A. Phibunsongkharm. The Journal of the Siam Society, (July).
  • 1987 A Commentary on Japan’s Repayment of the Special Yen Account to Thailand During World War ll. โดย Kenjiro lchikawa. Symposium on Thai-Japanese Relations : Development and Future Prospect. (Jan).

เกียรติคุณ[แก้]

  • ศาสตราจารย์ ระดับ 10 มหาวิทยาลัยศิลปากร (2531)
  • ศาสตราจารย์เกียรติคุณ มหาวิทยาลัยศิลปากร (2540)
  • นิสิตเก่าอักษรศาสตร์ จุฬาฯดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2544 จากสมาคมนิสิตเก่าอักษรศาสตร์จุฬาฯ ในบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
  • ประกาศนียบัตรชั้นสูงกิตติมศักดิ์ จากสถาบันพระปกเกล้า เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2545
  • ศิษย์เก่าดีเด่น 80 ปี โรงเรียนสตรีพัทลุง ปี พ.ศ. 2557

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]