ผู้ใช้:Oatboy00712/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ดไว้ท์ วัลโด้ (Dwight Waldo)[แก้]

เป็นนักวิชาการสายรัฐศาสตร์ เกิดปี( ค.ศ.1913-2000) เป็นผู้ให้คานิยามของการบริหารภาครัฐสมัยใหม่ เขาเป็นผู้ต่อต้านแนวคิดระบบราชการที่เน้นเทคนิคหรือวิทยาศาสตร์ และรัฐบาลที่เน้นใช้คาว่าการจัดการภาครัฐแทนที่จะเป็นรัฐประศาสนศาสตร์เกิดในเมืองdewittเข้ารับการศึกษาที่มหาวิทยาลัย Wesleyanต่อปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยเยล เป็นนักวิทยาศาสตร์ทางการเมืองชาวอเมริกันและเป็นผู้ให้คำนิยามของการบริหารภาครัฐสมัยใหม่ วัลโดยังมีชื่อเสียงในการอภิปรายของเขากับเฮอร์เบิร์ตเอ. ไซมอนเกี่ยวกับลักษณะของระบบราชการในการทบทวนรัฐศาสตร์อเมริกันหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในที่สุดเขาก็สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนียเบิร์กลีย์และโรงเรียนแม๊กซ์เวลล์ที่มหาวิทยาลัยซีราคิวส์ซึ่งเขาได้รับอิทธิพลจากนักวิชาการหลายคนในอนาคตของรัฐบาล เขามีอิทธิพลอย่างมากต่อนักวิชาการรุ่นเยาว์ในช่วงปลายทศวรรษ 1960 ด้วยการจัดประชุม Minnowbrook Conference เป็นหนี้บุญคุณอย่างมากให้กับวัลโดสาหรับคาแนะนำและการสนับสนุนรวมถึงเอชจอร์จเฟรเดอริกสันและแกรี่วมส์ลีย์ จากตาราของเขาที่ชื่อว่า "Administrative State" (รัฐบริหาร) เขาเป็นนักวิชาการที่มีแนวคิดในการโหมกระแสรัฐประศาสนศาสตร์อย่างท้าทายในยุคนั้น ประการแรกเขามีทัศนะว่ารัฐประศาสนศาสตร์ ปลอดจากค่านิยม (หมายถึงเน้นข้อเท็จจริง),ไม่เล่นพรรคเล่นพวก, เป็นสาขาสังคมศาสตร์ทีให้คาสัญญาว่าจะทำให้ภาครัฐมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ประการที่สองเป็นเรื่องสาคัญมาก เขาโต้แย้งว่านักวิชาการสายบริหารได้รับแรงขับเคลื่อนจากปรัชญาทางการเมือง

ประเด็นปัญหาสาคัญของปรัชญาทางการเมืองก็คือ[แก้]

1. โดยธรรมชาติมนุษย์ต้องการมีชีวิตที่ดีกว่า (Good Life) เป็นวิสัยทัศน์ที่ต้องการสังคมที่ดี 2. กฎเกณฑ์ของการปฏิบัติ หรือวิธีการปฏิบัติที่จะต้องมีการตัดสินใจร่วมกัน 3. ปัญหานั้นก็คือว่าใครควรเป็นคนถือกฎนี้ 4. คาถามก็คือว่าอานาจรัฐควรจะแบ่งแยกหรือตัดส่วนออกไป 5. คาถามก็คือว่าจะรวมศูนย์อานาจ หรือกระจายอานาจ6. หรือมีคุณธรรมที่สอดคล้องต่อเอกภาพแห่งรัฐและระบบสหพันธรัฐ[1]

ผลงานของWaldoด้านรัฐประศาสนศาสตร์ตั้งแต่ คศ. 1960 ถึง 1990 เป็รผู้มีบทบาทสาคัญในการพัฒนาทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์[แก้]

กรอบแนวคิดทฤษฎีของ Waldo เป็นดังนี้: 1.ความขัดแย้ง Antinomic มีความคิดเห็นในหลักการบริหารที่แตกต่างกัน 2. มีความหลากหลาย มีหลายมิติ Pluralistics or multidirectional 3. ประวัติศาสตร์ซ้ารอย Historical วิวัฒนาการการบริหารมักจะย้อนกลับไปดูที่ผ่านมา 4. การเปรียบเทียบ comparative เปรียบเทียบการบริหารระหว่างองค์กร ระหว่างรัฐและระหว่างชาติ 5. เกณฑ์กลาง normative ความสัมพันธ์ระหว่างระบบราชการ วิวัฒนาการ และคุณค่าของ “ชีวิตที่ดี” รวมถึงคุณค่าของประชาธิปไตย 6. หน้าที่ functional การบริหารมีหน้าที่ในการเปลี่ยนแปลงภายในระบบราชการ 7. ต่อต้านการลดคุณภาพของการบริการ Anti-reductionist เน้นความสลับซับซ้อนของการบริหารกาลังงานในสถานที่ทางานและให้ระวังการแก้ปัญหาความไม่พอใจของสาธารณชนอย่างเป็นระบบ [2]

ต่อมาในปี ค.ศ. 1948 D. Waldo ได้เรียกร้องให้นักรัฐประศาสนสตร์คนอื่นๆหันมาสนใจศึกษารัฐศาสตร์ในลักษณะที่มุ่งศึกษาพฤติกรรมต่างๆ ของรัฐบาลในการกาหนดนโยบายสาธารณะให้มากขึ้น แทนที่จะศึกษาโครงสร้างและหน้าที่ทางการเมืองและการบริหารเพียงอย่างเดียว[3] จากวาทกรรมจึงมีคาถามจาก ไซมอน (Simon) ว่า "คุณมีความคิดเห็นประการใดเกี่ยวกับการบริหารของรัฐบาลประชาธิปไตยสมัยใหม่" วอลโด ตอบว่า "การบริหารมักถูกเรียกร้องให้เป็นแก่นสาคัญของรัฐบาลประชาธิปไตยสมัยใหม่ และเรียกร้องให้ช่วยแสดงความสมเหตุสมผลของหลักวิชารัฐประศาสนศาสตร์ทั้งหลาย นอกจากจะเรียกร้องในเรื่องคุณธรรม ยังหมายถึงว่าทฤษฎีประชาธิปไตยจะต้องเกี่ยวข้องกับการบริหาร และทฤษฎีการบริหารจะต้องเกี่ยวข้องกับการเมืองแบบประชาธิปไตย ปรัชญาการเมืองแฝงเร้นในนักวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ ไม่ได้มีความเพียรพยายามที่จะช่วงชิงประชาธิปไตย แต่หมายถึงการรักษาประชาธิปไตยให้อยู่ในครรลองด้วย อย่างน้อยข้าพเจ้ามีทัศนะว่าแนวคิดประชาธิปไตยและความวุ่นวายยุ่งเหยิงของประชาธิปไตยจะต้องนากลับไปสู่ทฤษฎีทางการบริหาร นักวิชาการสายบริหารจะต้องตระหนักว่าหลักการสาคัญที่เรียกว่า "ประสิทธิภาพ" ไม่ใช่การมีค่านิยมที่เป็นกลาง และมิใช่ประสิทธิภาพที่ทาให้เกิดความสัมพันธ์ที่ไม่สบายใจด้วยหลักการประชาธิปไตยซึ่งจะต้องตระหนักในจุดนี้ ในบทความ American Political Science Review ได้แยกแยะให้เห็นการวิพากย์การบริหารของ เฮอร์เบอร์ต เอ.ไซมอน ซึ่งวอลโดมองว่ามันมีความเป็นไปได้ของบริหารศาสตร์ ซึ่งพอจะคิดได้ว่าการบริการ ในการเอาใจใส่เกี่ยวกับการตัดสินใจที่เน้นข้อเท็จจริงในฐานะที่ต่อต้านค่านิยม ซึ่งไซมอนมีความเห็นว่าการตัดสินใจภายใต้ข้อเท็จจริงมีความสาคัญต่อสัจจธรรมทางการบริหาร และจะต้องถูกชักนาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ที่มุ่งตรงต่อเป้าหมายประสิทธิภาพโดยรวม แต่วอลโดยเขาไม่เห็นด้วย โดยเขาโต้แย้งว่าไซมอนนาเอาปัญหามาดัดแปลงโดยใช้หลักการแยกการเมืองออกจากการบริหารเพื่อการแบ่งงานของหน่วยงานเท่านั้น ซึ่งไซมอนก็ตั้งคาถามว่า "ทาไม" ซึ่งวอลโดยก็โต้ตอบว่าการกระทาเช่นนั้นเป็นการรักษาทฤษฎีการบริหารแบบดั้งเดิมนั่นก็คือเน้นเรื่องประสิทธิภาพ ไซมอนก็ถามว่า "และประสิทธิภาพมันจะผิดพลาดอะไร" โดยวอลโดมองว่าประสิทธิภาพไม่ใช่ของศักดิ์สิทธิ์ทางด้านวิชาการที่คัดค้านการเมือง เพราะว่าการบริหารคือการเมือง ประสิทธิภาพโดยตัวของมันเองแล้วคือการเรียกร้องทางการเมืองต่างหาก ซึ่งไซมอนถามว่าให้ยกตัวอย่างมา วอลโดก็ตอบว่าใครหล่ะจะเป็นผู้ประเมินว่าเป็นประสิทธิภาพของใคร ของห้องสมุดหรือกระทรวงกลาโหม ถ้าหากว่า.. ประสิทธิภาพหมายถึงสัดส่วนปัจจัยนาเข้า และปัจจัยนาออก แต่มีทางเลือกหนึ่งก็คือปัจจัยนาเข้าและนาออกจะต้องประเมินทั้งสองอย่าง แม้ว่าจะไม่มีอะไรเลยที่เป็นวัตถุประสงค์ที่จะโจมตีได้โดยทางเลือกที่เป็นข้อเท็จจริง ในบรรดาทางเลือกเหล่านี้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลยกับการตัดสินใจเชิงค่านิยม ไม่ใช่เพียงข้อเท็จจริง ดังนั้นประสิทธิภาพจึงยากที่จะมีค่่านิยมที่เป็นกลาง ส่วนไซมอนบอกให้วอลโดช่วยอ่านเนื้อหาส่วนที่เหลือในการ ปกป้องความคิดของคุณเอง ซึ่งวอลโดให้ทัศนะว่าปัญหาสาคัญของทฤษฎีการบริหารตามหลักประชาธิปไตยในฐาะที่เป็นทฤษฎีประชาธิปไตยทั้งมวล ก็คือทาอย่างไรจึงจะไกล่เกลี่ยกันได้ ซึ่งทาให้ไซมอนหายข้อข้องใจ จากอุธาหรณ์ของนักวิชาการที่มีชื่อเสียงทางการบริหาร นับว่าทั้งสองท่านเป็นกูรูทางการจัดการ และรัฐศาสตร์ เมื่อมามองการเมืองไทยที่มีการขัดแย้ง หรือทุ่มเถียงไม่มีวันจบ เพราะไปยึดติดกับวาทกรรมที่มีความคิดแตกต่าง แต่ไม่สามารถรอมชอมกันได้ เช่นการขัดแย้งในการแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งจะต้องมีการรอมชอมทางความคิดมากกว่าการเน้นเอาชนะตามความคิดเห็นของตนฝ่ายเดียว โดยไม่รับฟังเสียงประชาชน แม้กระทั่งการมุ่งนิรโทษกรรมก็ไม่ได้ไถ่ถามประชาชนก่อน แต่เป็นเพียงผู้มีความคิดเห็นคนเดียว ซึ่งเป็นสิ่งที่เสี่ยงภัยต่อการนาไปใช้อย่างผิด ๆ ได้ เพราะรัฐธรรมนูญไม่ใช่ของใครผู้ใดผู้หนึ่ง แต่เป็นเรื่องที่ประชาชนมีบทบาทสาคัญในการกาหนด และมิใช่การทาอย่างลวกแบบสุกเอาเผากิน ก็จะทาให้เกิดการขัดแย้งทางการเมืองได้ แม้ว่าจะไม่ติดยึดค่านิยมที่เป็นกลาง แต่ก็เป็นค่านิยมที่มุ่งตัวบุคคลมากกว่าหลักการ และทาให้เป็นช่องว่างในการถูกโจมตีได้ จึงต้องแสวงหาสิ่งที่เป็นหนทางไกล่เกลี่ยกันได้ หรือการใช้พลังของประชาชนในการตัดสินใจด้วยซึ่งอาจจะต้องใช้เวลา แต่ก็เป็นความชอบธรรมที่ดีที่สุด[4]

แนวความคิดของwaldo[แก้]

การตัดสินใจในระบบราชการมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตมนุษย์ต่อการใช้ชีวิตประจาวันนั้นๆมากมายเพราะ(pa)มีบทบาทสาคัญในการบริหาร การเกษตร เหมืองโลหวิยา การค้า อุตสาหกรรม การแพทย์ การขนส่ง วิศวกรรมศาสตร์และการศึกษา โดยเริ่มต้จากศาสตร์ทางกายภายและวิชาคำนวณที่ใช้สนับสนุนกรควบคุมแม่น้า การผลิตพืชพันธุ์ การงานสาธารณะ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ การวัดผลงานและการคาดคะเนซึ่งแหล่งวิชาดังกล่าวมีนัยสัมพันธ์กับวิชาการบริหารภาครัฐอ่านในraymond w;coxIII(Ibid1994:1)ซึ่งวอลโด้เขียนเรื่อง the study of politic adminstrationในปี1955[5]

หลักการบริหารจัดการ (The principle of Administration)( ค.ศ 1927-1937 )[แก้]

เป็นช่วงที่ต่อจากแนวความคิดแรก โดยมองว่าวิชาการบริหารรัฐกิจเป็นเรื่องของหลักต่างๆ ของการบริหารที่มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์แน่นอน สามารถค้นพบได้และนักบริหารสามารถที่จะนาเอาหลักต่างๆ เหล่านั้นไปประยุกต์ได้ ในแนวความคิดนี้มุ่งที่สิ่งหรือประเด็นที่ศึกษา ซึ้งก็คือความรู้ความชานาญเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ต่างๆ ของการบริหาร ไม่ได้สนใจเกี่ยวกับสถาบันที่ศึกษา เพราะมองว่าการบริหารรัฐกิจและธุรกิจสามารถใช้หลักของการบริหารอย่างเดียวกันได้ ตัวอย่างหลักเกณฑ์การบริหารที่มีชื่อเสียง เช่น หลักที่เป็นหน้าที่ของนักบริหาร คือ POSDCORB ของ Gulic และ Urwick เป็นต้น ต่อมาพาราไดม์นี้ได้รับการโจมตีจากนักวิชาการสมัยต่อมา ว่าการบริหารกับการเมืองไม่สามารถแยกออกจากกันได้ และหลักการบริหารต่างๆ นั้นไม่สอดคล้องลงรอยตามหลักของเหตุผล waldoไม่เห็นด้วยกับหลักการบริหารนี้เพราะหลักทุกอย่างของการบริหารจะมีหลักที่ตรงกันข้ามกันเสมอ หลักต่างๆ ของการบริหารไม่สามารถใช้ได้ในทางปฏิบัติ จะเป็นได้แค่เพียงภาษิตทางการบริหารเท่านั้น[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. ทวิพันธ์ พัวสรรเสริญ. ดไว้ท์ วัลโด้. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2560, จากhttps://my.dek-d.com/tawipan999/blog/?blog_id=10190886
  2. รศ.ดร.สมาน งามสนิท. ผลงานด้านรัฐประศาสนศาสตร์, ค้นเมื่อ24เมษายน2560
  3. บัณฑิต ศรีแสวง. D.Waldoเรียกร้อง. ค้นหาเมื่อ23เมษายน2560, จากhttp://bunditsri.blogspot.com/
  4. ทวิพันธ์ พัวสรรเสริญ. ดไว้ท์ วัลโด้. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2560, จากhttps://my.dek-d.com/tawipan999/blog/?blog_id=10190886
  5. บุญทัน ดอกไธสง. แนวความคิดของwaldo. ค้นเมื่อ21เมษายน2560, จากhttp://documents.tips/documents/5560c3d4d8b42afe3b8b58ef.html
  6. noot_pa. หลักการบริหารจัดการ. ค้นเมื่อ22เมษายน2560, จากhttp://oknation.nationtv.tv/blog/sarika/2008/12/23/entry-1