ผู้ใช้:Kannapat.kt/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คุณลักษณะของผู้บริหารภาครัฐที่ดี[แก้]

ผู้บริหารภาครัฐ คือผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารงานขององค์กร ซึ่งต้องอาศัย ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ ความเข้าใจ และมีความรัก ในสิ่งที่ทำซึ่งถ้าองค์กรใดมีผู้บริหารที่เก่งเป็นคนที่ดีมีวิสัยทัศน์เป็นคนที่ตรงต่อเวลา และเป็นคนที่มองการไกลองค์กรนั้น จะเป็นองค์กรที่ ประสพความสำเร็จซึ่งผู้บริหารภาครัฐนั้นควรมีคุณลักษณะคุณสมบัติต่างๆ และควรพัฒนาตัวเองซึ่งผู้บริหารภาครัฐนั้นควรคำนึงถึงประชาชน คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าสิ่งอื่นใด ซึ่งผู้บริหารภาครัฐแต่ละบุคคลก็มีความรู้ความสามารถที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งควรใช้สิ่งเหล่านี้มาพัฒนางานขององค์กรให้ประสบความสำเร็จ และในปัจจุบันผู้บริหารภาครัฐควรมีคุณสมบัติคือ เป็นผู้บริหารที่ทันสมัยคือเป็นคนที่มองเห็น ความเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย และใช้ความรู้ความสามารถที่ตนมีมาบริหารงานและปรับเปลี่ยนสิ่งใหม่ๆเหล่านี้ ให้มีความเหมาะสมตามแต่ละองค์กรมี และผู้บริหารภาครัฐควรเป็นคนที่ทันต่อเหตุการณ์คือสามารถ เข้าใจเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงสิ่งต่างไปจากเดิม และใช้ความรู้ความเข้าใจความสามารถ มาปรับใช้กับการบริหารงานภาครัฐให้พร้อมและเหมาะสมต่อเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงและผู้บริหารภาครัฐควร เป็นคนที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงคือสามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งเดิมให้มีความทันยุค ทันสมัยและเจริญก้าวหน้าซึ่งผู้บริหารภาครัฐควรใช้ทักษะใช้ความรู้ความสามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆให้ดีกว่าเดิม และถ้าผู้บริหารภาครัฐมีคุณสมบัติที่จะเป็นผู้บริหารภาครัฐที่แท้ จริงคือผู้บริหารภาครัฐต้องมีความรักในงานที่ทำ และมีความคิดที่จะพัฒนางานขององค์กร เป็นคุณสมบัติของผู้บริหารภาครัฐที่ทุกคนควรมี[1]

คุณลักษณะที่ดีของผู้บริหารภาครัฐ[แก้]

คุณลักษณะต่อตนเอง[แก้]

ผู้บริหารภาครัฐ ต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง มีการพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ คือศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากตำราหรือตามแหล่งเรียนรู้ต่างๆและยังสามารถพัฒนาตนเองได้จากการเข้าร่วม ประชุม อบรม สัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ต่างๆและได้สามารถนำความรู้เหล่านั้นมา พัฒนาตนเอง พัฒนาตนเองด้านบุคลิกภาพ คือพัฒนาทางด้านอารมณ์ความรู้สึกจัดการกับตัวเองเมื่อเจอปัญหาความตึงเครียดเพื่อที่จะสามารถควบคุมและยับยั้งปัญหาเหล่านั้นได้และยังสามารถพัฒนาบุคลิกภาพของตนเองให้มีความมั่นใจและสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารงานภาครัฐ และด้านความรู้ คือพัฒนาความรู้และความสามารถของตนเองอยู่เสมอโดยผู้บริหารภาครัฐต้องประพฤติตน ให้เหมาะสมกับสถานะและเป็นแบบอย่างที่ดีของประชาชนและปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ตนเองได้รับมอบหมายให้สำเร็จอย่างมีคุณภาพ[2]

คุณลักษณะต่อสังคม[แก้]

ผู้บริหารภาครัฐ ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม คือมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายวางแผนการทำงานว่าควรทำรูปแบบใดเพื่อที่จะ แก้ปัญหาวางแผนการดำเนินงาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ผู้บริหารภาครัฐจะต้องใช้ ความรู้ความสามารถประสบการณ์ที่มีมาใช้ในการแก้ปัญหาหรือวางแนวนโยบาย เพื่อที่จะปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และคุณสมบัติผู้บริหารภาครัฐต่อสังคมที่ต้องมีคือ อีกอย่างคือเห็นแก่ประโยชน์ของสังคมมากกว่าสิ่งอื่นใดคือมีการเสียสละอุทิศตนทำประโยชน์ให้กับสังคมร่วมมือกันพัฒนาชาติให้มีความเจริญให้ประชาชนอยู่ ดีมีสุข และประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของสังคมมและยึดมั่นในการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและยึดมั่น ในคุณธรรมที่จะใช้ในการ บริหารองค์กร[3]

คุณลักษณะต่อ วิชาชีพ[แก้]

ผู้บริหารภาครัฐต้องมีต้องมีความรักมีความเสียสละต่อส่วนรวมต่อวิชาที่พี่ทำคือมี มีความรักในงานที่ทำมีความคิดว่าสิ่งที่ทำเป็นสิ่งที่ดีและสามารถรักษาภาพลักษณ์ของวิชาชีพผู้บริหารไว้ได้อย่าง ดีและสามารถใช้วิชาชีพ ในการทำประโยชน์บริหารงานวางแผน กำหนดนโยบายเพื่อประโยชน์ของประเทศ ประโยชน์ขององค์กร หรือของส่วนรวมเป็นการใช้วิชาชีพ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกันในทางสร้างสรรค์โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะและคุณลักษณะต่อวิชาชีพอีกข้อคือมีความเสียสละเอื้ออาทรและให้ความช่วยเหลือ ต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพด้วยกันและมีความสามัคคีร่วมใจกันผลึกกำลังในการพัฒนาชาติ พัฒนาองค์กร ดำรงไว้ซึ่งคุณงามความดีของวิชาชีพที่จะใช้ ในการสร้างสรรค์บริหารงานในองค์กร[4]

คุณลักษณะที่ไม่ดีของผู้บริหารภาครัฐ[แก้]

คุณลักษณะที่ไม่ดีของผู้บริหารภาครัฐนั้นจะส่งผลต่อการบริหารงานและเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน เช่นผู้บริหารไม่ใส่ใจหรือไม่รับรู้ปัญหาของประชาชนหรือผู้รับบริการ จนเกิดผลเสียหายต่อประชาชนหรือผู้รับบริการ และมีการดูบิลเหยียดหยามองค์กรหรือผู้รับบริการ และเปิดเผยความลับขององค์กรเป็นผลทำให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียชื่อเสียงขององค์กร คุณลักษณะที่ไม่ดีของผู้บริหารภาครัฐหรืออีกหลายอย่างคือไม่ตรงต่อเวลาส่งผลให้การดำเนินงานหรือปฎิบัติงานตามนโยบายต่างๆตามแผนที่วางไว้ไม่ตรงตามที่กำหนดไว้อาจส่งผลต่อประชาชนหรือองค์กรทำให้ผู้บริหารภาครัฐต้องมีคุณลักษณะคือมีความตงต่อเวลา และคุณสมบัติที่ไม่ดีอย่างหนึ่งคือ ไม่มีความรักในวิชาชีพที่ทำ ไม่มีความเสียสละไม่มีความสามัคคีในหมู่คณะอาจส่งผลให้การทำงานในองค์กรไม่ดี เท่าที่ควรและอาจส่งผลเสียในอีกหลายหลายเรื่องซึ่งทำให้ผู้บริหารภาครัฐควรพัฒนาศักยภาพของตนเองในเรื่องนี้ให้ดี และคุณลักษณะที่ผู้บริหารภาครัฐไม่ควรทำเลยคือการทุจริตต่อหน้าที่เพราะถ้าผู้บริหารภาครัฐหวังว่า จะมาหาผลประโยชน์ต่อ หน้าที่ เป็นเรื่องที่ผู้บริหารภาครัฐที่ไม่ควรทำและทำให้คุณสมบัติของผู้บริหารที่ดีไม่มีคุณลักษณะผู้บริหารภาครัฐที่ดี

คุณธรรมหรือหลักธรรมที่ผู้บริหารภาครัฐพึงมี[แก้]

ซึ่งหลักธรรมหรือคุณธรรมที่ผู้บริหารภาครัฐพึงมีนั้น เป็นหลักที่ใช้ในการบริหารงานเป็นแบบในการยึดมั่น ในคุณงามความดีที่ใช่ในการบริหารงาน จริยธรรม คือ หลักแห่งความประพฤติที่ชอบธรรมหรือเป็นหลักปฏิบัติ ที่ได้รับการยกย่องจากสังคมว่าเป็นสิ่งที่ถูกที่ควรเราสามารถศึกษาจริยธรรมของสังคมหนึ่งๆ ได้จากขนบประเพณีวัฒนธรรมหลักศีลธรรม ส่วนการเมืองการปกครองนั้น เป็นเรื่องของการใช้อำนาจบังคับ ให้เป็นไปตามข้อบัญญัติของรัฐ การเมืองการปกครองเป็นเรื่องของการตัดสินใจตกลงใจ หรือกำหนดนโยบายเพื่อแก้ปัญหาสังคมหรือจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าต่างๆ ให้แก่สังคม เช่น อำนาจหน้าที่ตำแหน่ง เศรษฐกิจ ฐานะทางสังคม ตลอดจนการใช้ทรัพยากรต่างๆ จริยธรรมทางการเมืองการปกครอง โดยทั่วไปมีความหมายแบ่งออกเป็น2อย่าง 1. จริยธรรมทางการเมืองการปกครอง หมายถึง หลักปฏิบัติ หรือคุณธรรมในการปกครองทั่วๆไปซึ่งเป็นคุณธรรมของฝ่ายปกครองที่ต้องยึดถือปฏิบัติ ให้แก่ฝ่ายรับการปกครองทำงานได้อย่างปกติสุข 2. จริยธรรมทางการเมืองการปกครอง หมายถึงปรัชญาในทางการเมืองการปกครองซึ่งนักปรัชญาทั้งหลายได้ให้แนวคิดหลักการและเหตุผลทางการเมืองการปกครองที่ควรจะเป็นจริยธรรมในการปกครองยังมีความหมายรวมถึง จริยธรรมในการควบคุมหรือปกครองตนเองและจริยธรรมในการปกครองผู้อื่นด้วย และคุณธรรมและหลักธรรมที่ผู้บริหารภาครัฐพึ่งมีคือ ทศพิธราชธรรม หรือราชธรรม 10 ทศพิธราชธรรมคือเป็นคุณธรรมในการปกครองที่สำคัญมาก ซึ่งพระมหากษัตริย์ไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบันและ ผู้บริหารควรนำมาปรับใช้และควรยึดถือหลักธรรมดังกล่าวนี้เป็นแนวทางในการปกครองเสมอมาทศพิธราชธรรมมีหลักธรรม 10ประการประกอบด้วย 1. ทานคือการให้คือการช่วยเหลือประชาราษฎร์และบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ 2. ศีล คือเป็นผู้มีความประพฤติดีงาม คือการประกอบแต่การสุจริต 3.ปริจจาคะคือเป็นผู้เสียสละความสุขสำราญหรือแม้แต่ชีวิตของตนเพื่อประโยชน์สุขของมวลประชาราษฎร์และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง 4.อาชชาวะคือเป็นผู้มีความซื่อตรงการปฏิบัติภารกิจโดยสุจริตจริงใจไม่หลอกลวงประชาราษฎร์ 5. มัททวะคือเป็นผู้มีความอ่อนโยน ไม่เยอยิ่งหยาบคายหรือกระด้างให้มีความละมุนละไม ให้คนทั่วไปรักภักดีและมีความยำเกรง 6.ตปะคือความทรงเดชการไม่ยอมหลงใหลหรือหมกมุ่นในความสุขสำราญมีความเป็นอยู่สม่ำเสมอ มุ่งมั่นที่จะบำเพ็ญกิจตามหน้าที่ให้บริสุทธิ์ 7.อักโกธะคือความไม่โกรธรู้จักระงับความขุ่นเคืองใจด้วยเหตุทั้งปวงวินิจฉัยความและกระทำการด้วยจิตอันราบเรียบ เป็นตัวของตัวเอง 8. อวิหิงสาคือความไม่เบียดเบียน เป็นผู้ไม่คิดร้ายใคร ไม่บีบคั้นกดขี่ 9. ขันติคือเป็นผู้มีความอดทน ไม่ท้อถอยต่องานที่ต้องตรากตรำ 10. อวิโรธนัง เป็นผู้มีความอ่อนโยนตั้งมั่นอยู่ในธรรม[5] ซึ่งคุณธรรมจริยธรรมที่ผู้บริหารภาครัฐที่ดีพึ่งปฏิบัติคือพรหมวิหาร4และทศพิธราชธรรมเป็นแบบอย่างที่ดีที่ผู้บริหารภาครัฐควรนำมาใช้และปฏิบัติตามให้ดีทุกข้อเพื่อประโยชน์ของประชาชน

ค่านิยม สร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ดี[แก้]

ค่านิยมสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ดีควรมีรูปแบบภาวะผู้นำและความเป็นผู้นำซึ่งการเป็นผู้บริหารที่ดีนั้น ควรมีรูปแบบตามแบบของทฤษฎีภาวะผู้นำซึ่งผู้บริหารภาครัฐสามารถปฏิบัติตามที่เหมาะสมกับองค์ของแต่ละที่ เช่น ผู้นําองค์กรที่ดีต้องมีทักษะและความสามารถในการสื่อสาร เพื่อนําบุคลากรและองค์กรไปสู่ทิศทางที่พึงประสงค์ นอกจากนี้ ผู้นํา องค์กรต้องมีทักษะและความสามารถในการสื่อสาร ออกไปสู่ภายนอกเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งตามกาลเทศะ เช่น การสื่อสาร กับสื่อมวลชนอาจมีรูปแบบวิธีการหนึ่ง การสื่อสารกับกลุ่มเยาวชนก็อาจ มีอีกรูปแบบวิธีการหนึ่ง การสื่อสารกับผู้นําองค์กรอื่นๆซึ่งมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป ผู้บริหารภาครัฐที่ดีควรมีคุณลักษณะดังนี้เพื่อผลประโยชน์ขององค์กร

  • นักวางแผน (Planning)
  • นักจัดระเบียบ (Organizing)
  • นักประสานงาน( Coordinating)
  • นักสื่อสาร (Communicating)
  • นักมอบหมายงาน(Delegating)
  • นักตัดสินใจ(Decision-Making)
  • นักมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation)
  • นักฝึกอบรม(Training)
  • นักจัดกระบวนการกลุ่ม[6]
  1. https://th.jobsdb.com/th-th/articles/ผู้บริหารดีเป็นอย่างไร
  2. เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. 2554. ปทัสถานของการเป็นผู้บริหารที่ดี. กรุงเทพมหานคร:บพิธการพิมพ์.
  3. http://www.ocsc.go.th/.../docu.../research-veerawat-2553.pdf
  4. http://www.nangkatik-club.com/smf/index.php?topic=938.0
  5. http://www.govesite.com/uploads/20160915110011tcs6jsr/20161216101557_1_AcSx5Ju.pdf
  6. https://www.gotoknow.org/posts/450297