ผู้ใช้:Iamnothingforsure/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

__LEAD_SECTION__[แก้]

จูเซ็ปเป้ การิบัลดิ
การิบัลดิในปี ค.ศ 1866
ดำรงตำแหน่ง
18 กุมภาพันธ์ 1861 – 2 มิถุนายน 1882
จอมเผด็จการแห่ง ซิซิลี
ดำรงตำแหน่ง
17 พฤษภาคม 1860 – 4 พฤศจิกายน 1860
รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม สาธารณรัฐโรมัน
ดำรงตำแหน่ง
9 กุมภาพันธ์ 1849 – 25 เมษายน 1849
ก่อนหน้าถูกแต่งตั้งตำแหน่ง
ถัดไปถูกถอดถอนตำแหน่ง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
โจเซฟ-มารี การีบัลดิ

04 กรกฎาคม ค.ศ. 1807(1807-07-04)
นิส, จักรวรรดิฝรั่งเศส
เสียชีวิต2 มิถุนายน ค.ศ. 1882(1882-06-02) (74 ปี)
คาเปรร่า, ราชอาณาจักรอิตาลี
เชื้อชาติอิตาลี, เปรู (1851–1882)
พรรคการเมือง
คู่สมรส
  • อนิต้า การิบัลดิ (สมรส 1842)
  • จูเซ็ปปิน่า ไรอิมอนดิ (สมรส 1860)
  • ฟรานเชสก้า อาร์โมซิโน่ (สมรส 1880)
บุตรเมโน็ตติ, ริกชิโอตติ, และอีก 6 คน
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้
Branch
Service years1835–1871
ยศพลเอก
บังคับบัญชา
Warsสงครามรากามุฟฟิน

จูเซ็ปเป้ มาเรีย การิบัลดี ( /ˌɡærɪˈbɑːldi/ garr-ib-ahl-dee, ภาษาอิตาลี: [dʒuˈzɛppe ɡariˈbaldi] ( ฟังเสียง) ; 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2350 – 2 มิถุนายน พ.ศ. 2425) เป็นนายพล ผู้รักชาติ นักปฏิวัติ และผู้นิยมระบอบสาธารณรัฐชาวอิตาลี เขามีส่วนใน การรวมชาติอิตาลี และ สถาปนาราชอาณาจักรอิตาลี เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งใน " บิดาแห่งปิตุภูมิ " ของอิตาลี ร่วมกับ คามิลโล เบนโซ เคานต์แห่งคาวัวร์ วิกเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 2 แห่งอิตาลี และ จูเซปเป มาซซินี [1] การิบัลดียังเป็นที่รู้จักในนาม " วีรบุรุษแห่งสองโลก " เนื่องจากกิจการทางทหารของเขาในอเมริกาใต้และยุโรป [2]

การิบัลดีเป็นลูกศิษย์ของ มาซซินี ชาตินิยมชาวอิตาลี และยอมรับลัทธิชาตินิยม สาธารณรัฐนิยม ของขบวนการ อิตาลีเยาว์วัย [3] เขากลายเป็นผู้สนับสนุนการรวมชาติอิตาลีภายใต้รัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม เมื่อแยกทางกับ มาซซินี เขาได้ผูกมิตรกับ คาวัวร์ และ ราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย ในการต่อสู้เพื่อเอกราชโดยยึดถืออุดมการณ์แบบสาธาราณรัฐของเขากับอุดมการชาตินิยมของเขาจนกระทั่งอิตาลีรวมเป็นหนึ่งเดียว หลังจากมีส่วนร่วมในการจลาจลในพีเอดมอนต์ เขาถูกตัดสินประหารชีวิต แต่หลบหนีและล่องเรือไปยังอเมริกาใต้ ซึ่งเขาถูกเนรเทศเป็นเวลา 14 ปี ในระหว่างนั้นเขาเข้าร่วมในสงครามหลายครั้งและเรียนรู้ศิลปะของการรบแบบกองโจร [4] ในปี ค.ศ. 1835 เขาได้เข้าร่วมกับกลุ่มกบฏที่รู้จักกันในชื่อ รากามุฟฟิน ( แม่แบบ:Wiktpt ) ใน สงครามรากามุฟฟิน ในบราซิล และรับหน้าที่ในการสถาปนา สาธารณรัฐริโอกรันเด้และต่อมาคือ สาธารณรัฐจูเลียน่า การิบัลดียังมีส่วนร่วมใน สงครามกลางเมืองอุรุกวัย โดยก่อตั้งกองกำลังอิตาลีที่รู้จักกันในชื่อ กองกำลังเสื้อแดง และยังคงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการก่อตั้งอุรุกวัยขึ้นใหม่

ในปี ค.ศ. 1848 การิบัลดีกลับมาที่อิตาลีและสั่งการและต่อสู้ในการรบทางทหาร ซึ่งในที่สุดก็นำไปสู่การรวมอิตาลี รัฐบาลเฉพาะกาลของ มิลาน แต่งตั้งให้เขาเป็นนายพล และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เลื่อนตำแหน่งให้เขาเป็นนายพลแห่ง สาธารณรัฐโรมัน ในปี ค.ศ 1849 เมื่อ สงครามอิสรภาพ ปะทุขึ้นในเดือนเมษายน ค.ศ 1859 เขาได้นำ กลุ่มพรานล่าแห่งเทือกเขาแอลป์ เข้ายึดเมืองสำคัญ ๆ ในลอมบาร์ดี รวมถึง วาเรเซ และ โคโม และไปถึงชายแดนเซาท์ทีโรล สงครามสิ้นสุดลงด้วยการยึดครองแคว้นลอมบาร์ดี ในปีต่อมา ค.ศ. 1860 เขาได้นำ การเดินทัพของทหารพันนาย โดยได้รับความยินยอมภายใต้พระเจ้าวิกเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 2 แห่งซาร์ดิเนีย การสำรวจประสบความสำเร็จและจบลงด้วยการผนวกซิซิลี อิตาลีตอนใต้ มาร์เค และอุมเบรีย เข้ากับ ราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย ก่อนที่จะสถาปนาราชอาณาจักรอิตาลีที่เป็นเอกภาพในวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1861 การรณรงค์ทางทหารครั้งสุดท้ายของเขาเกิดขึ้นระหว่าง สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียน ในฐานะผู้บัญชาการ กองทัพแห่งโวฌ

การิบัลดีกลายเป็นบุคคลสำคัญระดับนานาชาติในด้านเอกราชของชาติและอุดมคติของอุดมการณ์สาธารณรัฐนิยม และได้รับการยกย่องจากประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมสมัยศตวรรษที่ 20 ว่าเป็น วีรบุรุษของชาติ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอิตาลี [5] [6] เขาได้รับความชื่นชมและยกย่องจากปัญญาชนร่วมสมัยและบุคคลสำคัญทางการเมืองหลายคน รวมถึง อับราฮัม ลินคอล์น, [7] วิลเลียม บราวน์, [8] ฟรานเชสโก เด แซงติส, วิกเตอร์ ฮูโก, อเล็กซานเดอร์ ดูมาส์, มัลวิดา ฟอน เมย์เซนบัก, จอร์จ แซนด์ ,

การิบัลดียังเป็นแรงบันดาลใจให้กับบุคคลในยุคหลัง เช่น ชวาหระลาล เนห์รู และ เช เกวารา [9] นักประวัติศาสตร์ เอเจพี เทย์เลอร์ เรียกเขาว่า "บุคคลที่น่าชื่นชมเพียงคนเดียวในประวัติศาสตร์สมัยใหม่" [10] ในการเล่าเรื่องของเขาที่ได้รับความนิยม เขามีความเกี่ยวข้องกับ เสื้อแดง ที่อาสาสมัครของเขา การิบัลดินี สวมแทนเครื่องแบบ

  1. Bouchard, Norma (2005). Risorgimento in Modern Italian Culture: Revisiting the Nineteenth-Century Past in History, Narrative, and Cinema. Madison: Fairleigh Dickinson University Press. p. 76. ISBN 978-0838640548.
  2. "Unità d'Italia: Giuseppe Garibaldi, l'eroe dei due mondi". Enciclopedia De Agostini. 7 March 2011. สืบค้นเมื่อ 2 September 2020.
  3. Riall, Lucy (2007). Garibaldi: Invention of a Hero. New Haven: Yale University Press. p. 1. ISBN 978-0300144239.
  4. Ridley, Jaspar (2001). Phoenix: Garibaldi (illustrated, reprint ed.). London: Phoenix Press. ISBN 9781842121528.
  5. AA.VV. (1999). La fabrique des héros. Maison des Sciences de l'Homme. p. 11. ISBN 2-7351-0819-8.
  6. "La scuola per i 150 anni dell'Unità I protagonisti: Garibaldi". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2014.
  7. Mack Smith, ed., Denis (1969). Garibaldi (Great Lives Observed). Prentice Hall: Englewood Cliffs. pp. 69–70. ISBN 978-0133467918.
  8. "Frasi di William Brown (ammiraglio)". LeCitazioni. Retrieved 2 September 2020. "È il più generoso dei pirati che abbia mai incontrato."
  9. Di Mino, Massimiliano; Di Mino, Pier Paolo (2011). Il libretto rosso di Garibaldi. Rome: Castelvecchi Editore. p. 7. ISBN 978-8895903439.
  10. Parks, Tim (2 July 2007). "The Insurgent: Garibaldi and his enemies". The New Yorker. สืบค้นเมื่อ 2 September 2020.