ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:EffCSR/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อรุณี กาสยานนท์ (Arunee Kasayanond)[แก้]

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรุณี กาสยานนท์ (ชื่อเล่น: หญิง)[แก้]

นักการเมืองสตรีชาวไทย อดีตนักกิจกรรม อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย พิธีกรรายการทอล์กกิ้ง ไทยแลนด์ ช่องวอยซ์ทีวี และอดีตผู้สมัครผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 20 พรรคไทยรักษาชาติ มีความชำนาญพิเศษ การเมืองการปกครองและนโยบายสาธารณะ เส้นทางการทำงานจากนักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย ลงการเมืองเต็มตัว หวังเป็นคนรุ่นใหม่ มาแก้ปัญหาปากท้องประชาชน

ปัจจุบัน ดร.หญิง ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย[1] ในตำแหน่งโฆษกพรรคเพื่อไทย

การศึกษา[แก้]

พ.ศ. 2557 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการเมือง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

พ.ศ. 2547 รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ได้รับทุนสนับสนุนจากซาซากาว่า ประเทศญี่ปุ่น)

พ.ศ. 2542 รัฐศาสตรบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (เหรียญเรียนดีปี 41)

การทำงานการเมืองในฐานะโฆษกพรรคเพื่อไทย[แก้]

ดร.หญิงให้สัมภาษณ์ในมติชนสุดสัปดาห์ไว้ว่า “เรารู้ตัวเองว่าจะได้เข้ามาเป็นโฆษกพรรคเพื่อไทย ก่อนการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ (วันที่ 1 ตุลาคม) ทราบล่วงหน้าเพียงแค่ 1 สัปดาห์ ก่อนการเข้ามาก็ตกลงกับพรรคว่า ถ้าพรรคเพื่อไทยมี 3 จุดยืน คือไม่จับมือกับเผด็จการ ยึดมั่นประชาธิปไตย และมุ่งแก้ไขปากท้องประชาชน เมื่อได้รับการยืนยันใน 3 ข้อนี้เลยตัดสินใจเข้ามารับหน้าที่”[2] (มติชน)

ดร.หญิง เล่าถึงการทำหน้าที่ “โฆษกที่ไม่ได้ทำแค่หน้าที่โฆษก” คือมีบทบาทในการทำงาน นอกจากการแถลงข่าวปรากฏผ่านสื่อแล้ว ได้มีการกำหนด direction ร่วมกับคณะกรรมการบริหารพรรค เพื่อความมีประสิทธิภาพในการสื่อสารทั้งหมด ร่วมกับทีมงาน เช่นกำหนด วางแผนแต่ละสัปดาห์ล่วงหน้าหรือทำแผนรายเดือน เพื่อที่จะนำมาสื่อสารกับประชาชนได้ วางเป็นตุ๊กตาเอาไว้ เพื่อให้การสื่อสารตอบรับได้ตรงประเด็นมากขึ้น ซึ่งนอกจากหน้าบ้านแล้ว โฆษกต้อง ร่วมขับเคลื่อนงานกับทีมงานหลังบ้านด้วย

ตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่ง ดร.หญิง เล่าให้ฟังว่า ได้เข้าพรรคทุกวันเหมือนงานประจำ มีการวางโครงสร้างงาน หารือกันในกอง หลังกรรมการบริหารพรรคแบ่งงานกันแต่ละด้านชัดเจนขึ้น

เป้าหมายที่วางไว้คือทีมงานกองโฆษกจะทำงานเชิงรุก มี Action มากขึ้น และบางเรื่องเราต้องใช้มืออาชีพ กูรูด้านต่างๆ เข้ามาผนึกกำลังกับเราในการผลักดัน ซึ่งวันนี้การเมืองไม่ใช่แค่เรื่องของพรรคการเมืองแล้ว แต่เราต้องมองตัวเองเป็นทุกสิ่งทุกอย่างให้กับประชาชนให้ได้

บนเส้นทางการเมือง ดร.หญิง มีความฝันสูงสุด คือการทำนโยบายให้กับสังคม หลังออกมาจากอาชีพการเป็นอาจารย์ คิดว่าหากเราทำงานการเมืองแล้วมาทำนโยบายที่สามารถส่งการเปลี่ยนแปลงได้กว้างขวางกว่า ที่จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คนทั่วไปให้ดีขึ้น

ส่วนตัวแล้ว ไม่เคยคิดไม่เคยฝันว่าเราจะต้องเป็นรัฐมนตรีหรือมีตำแหน่งอะไร เพียงแค่ได้มีส่วนร่วมในการสร้างนโยบายเปลี่ยนแปลงประเทศ ก็ถือว่าเรามาได้ไกลมากแล้วในการเป็นตัวแทนความเดือดร้อนให้พ่อ-แม่ พี่-น้อง ประชาชน

การทำงานในฐานะอาจารย์ประจำ[แก้]

พ.ศ. 2561 - ประธานหลักสูตรสาขาวิชารัฐศาสตร์ วิทยาลัยการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม

พ.ศ. 2560 - คณะอนุกรรมการสมัชชาสุขภาพประจำจังหวัดพิษณุโลก

- วิทยากรกลุ่มย่อยการประชุมด้านความมั่นคงศึกษาระดับนานาชาติครั้งที่ 4

- วิทยากรยกร่างนโยบายสาธารณะ (ผู้สูงอายุ) สมัชชาสุขภาพ พิษณุโลก

- วิทยากรบรรยาย/ฝึกอบรม/ผู้วิพากษ์ ณ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หัวข้อ “สื่อใหม่”

พ.ศ. 2559 - วิทยากรบรรยายพิเศษ/ฝึกอบรม/ผู้วิพากษ์

- กรรมการร่วมรับฟังความคิดเห็นร่างรัฐธรรมนูญปี 2559 จังหวัดพิษณุโลก

งานวิจัย[แก้]

พ.ศ.2561 โครงการกระบวนการและเส้นทางการลักลอบค้ามนุษย์ในแรงงานภาคการประมง ของประเทศไทย ได้รับทุนสนับสนุนวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน (แบบปกติ)

พ.ศ. 2560 โครงการถอดแบบความสำเร็จของชุมชนสู่บทเรียนการจัดการกองทุนขยะเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก : โรงเรียนพลายชุมพล ต.พลายชุมพล อ.เมือง จ.พิษณุโลก ได้รับทุนสนับสนุนวิจัยจาก สกว. ร่วมกับมูลนิธิมั่นพัฒนา

พ.ศ. 2551 การศึกษาบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชุมชน ต.พลายชุมพล จ.พิษณุโลก (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยโครงการ ABC-PUS 2551-2552)

พ.ศ. 2545 การศึกษาเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับชาติ และระดับท้องถิ่นของประชาชนในเขตเมืองและชนบท ในจังหวัดพิษณุโลก ได้รับทุนวิจัยจากกองทุนซาทาคาว่า ประเทศญี่ปุ่น 2545-2547

บทความ[แก้]

พ.ศ. 2560

- โครงการสำรวจข้อมูลสถิติอาชญากรรมภาคประชาชนปี พ.ศ.2559 ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานกิจการยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560

- Proceeding เรื่อง “เจตคติต่อการข่มขื่นกระทำชำเราภรรยาตนเองของผู้ชายในจังหวัดหนึ่งบริเวณภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย” ในวารสาร การบริหารปกครอง (Governance Journal) มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2560) หน้า 423-444

- Proceeding เรื่อง Media and Politics ในวารสาร PSAKU International Journal of Interdisciplinary Research, Volume 6, Number 1, January 2017, pp. 14-20(7)

พ.ศ. 2558

- Proceeding เรื่อง Understanding the Constitution of The Kingdom of Thailand B.I. 2007 ในการประชุม The 1st ASEAN Conference on Humanities and Social Science 28-30 May 2015, Laos

- บทความวิจัยเรื่อง “การประยุกต์กระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียวของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก” ตีพิมพ์ลงในวารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม –ธันวาคม 2558)

พ.ศ. 2557

- Proceeding เรื่อง “Understanding the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2007 of People in Phitsanulok, Thailand” ในวารสาร International Journal of College of Government (RSUIJCG), Vol. 1, No. 1, (2014)

  1. https://ptp.or.th/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD
  2. https://www.matichonweekly.com/tag/%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%B5-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%8C