ผู้ใช้:9toDev/ทดลองเขียน1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียน
ที่ตั้ง
บ้านเลขที่

แขวง
95000
ข้อมูล
ชื่ออื่นTHAMAVITYAMULNITI SCHOOL
ประเภทโรงเรียนเอกชน, มัธยมศึกษา
คำขวัญเรียนเด่น เล่นดี มีวินัย ใฝ่พัฒนา
เขตการศึกษากรุงเทพมหานคร
ผู้อำนวยการสุหลง
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอน ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
จีน ภาษาจีน
สี   แดง-ขาว
เพลงมาร์ชโรงเรียน
ต้นไม้ประจำโรงเรียนต้น
เว็บไซต์http://www.satriwit.ac.th
9toDev/ทดลองเขียน1


โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ จังหวัดยะลา เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดยะลา ประเภทสหศึกษา เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6 และระดับชั้นอิสลามศึกษาตอนต้น ถึงระดับชั้นอิสลามศึกษาตอนปลาย (ชั้น 1 – 10) สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอเมืองยะลา

ประวัติโรงเรียน[แก้]

โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ตั้งอยู่เลขที่ 762 ถนนสิโรรส อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 14 มิถุนายนพ.ศ. 2494 เดิมเป็นโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลาม (ปอเนาะ)เพียงอย่างเดียว ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เปิดสอนทั้งวิชาศาสนาและสามัญ ขณะเริ่มเปิดดำเนินการนั้น โรงเรียนยังไม่มีที่ดินและอาคารเรียนเป็นของตนเอง ต้องอาศัยโรงยางหลังสุเหร่าบ้านกำปงบารู เป็นสถานที่เรียน

       ปี พ.ศ. 2494 นายฮายีมูฮำมัดตอเฮร์ สุหลง ได้อุทิศที่ดิน 7 ไร่ 3 งาน 45 ตารางวา ตั้งอยู่ที่กิโลเมตรที่ 1 ติดถนนสายยะลา – ปัตตานี (ที่ตั้งโรงเรียนปัจจุบัน ) ให้แก่โรงเรียน และด้วยความร่วมมือของพี่น้องประชาชนของหมู่บ้านนี้เอง ได้ช่วยกันก่อสร้างอาคารเรียนขึ้นในที่ดินดังกล่าว การจัดการเรียนการสอนในระยะเริ่มแรกยังไม่เป็นระบบเช่นปัจจุบัน กล่าวคือยังไม่เป็นชั้นเรียน ไม่มีหลักสูตร ต่อมาได้มีผู้บริจาคที่ดินให้แก่โรงเรียนเพิ่มขึ้น รวมเนื้อที่ทั้งหมดได้ประมาณ 11ไร่เศษ และนายหะยีฮารน สุหลง ได้เข้ามาเป็นผู้ดำเนินการจัดสรรระบบการเรียนการสอนภายในโรงเรียน ตามที่เห็นสมควร ระยะแรกเปิดรับเฉพาะนักเรียนชายเข้าเรียน ต่อมาเปิดรับนักเรียนหญิง โดยแยกเป็น 2 โรงเรียน คือ โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิและโรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ เปิดสอนวิชาศาสนาเพียงอย่างเดียว

       ปี พ.ศ. 2506 นายฮายีมูฮำมัดตอเฮร์ สุหลง ได้มอบหมายให้นายฮารน เตาฟิก นายนิวัฒน์ ชาจิตตะ และนายหะยีเฮง ตอฮา ยื่นคำร้องต่อทางราชการเพื่อขอจัดตั้งเป็นมูลนิธิขึ้น เรียกว่า “ อิสลามวิทยามูลนิธิ” และได้รับอนุญาตในกลางปีนั่นเอง โดยนายหะยีฮารน สุหลง ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นครูใหญ่และผู้จัดการโรงเรียน ต่อมาได้ยกทรัพย์สินทั้งหมดของโรงเรียนให้อยู่ในการควบคุมดูแลและความรับผิดชอบของมูลนิธิ “อิสลามวิทยามูลนิธิ” มูลนิธิฯซึ่งเป็นนิติบุคคลได้บริหารโรงเรียนในรูปของคณะกรรมการและได้มีการปรับปรุงการเรียนการสอนตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

พ.ศ. 2507 เริ่มจดทะเบียนจัดตั้งโรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิขึ้น
พ.ศ. 2508 ได้เปิดสอนวิชาศาสนาควบคู่วิชาสามัญเป็นปีแรกโดยได้รับความร่วมมือช่วยเหลือจากศึกษาธิการจังหวัดยะลา ในสมัยนั้นคือนายแจ้ง สุขเกื้อ มูลนิธิเอเชียและกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้เปิดสอนชั้น ป. 5 เป็นปีแรก
พ.ศ.2510 ได้เปิดสอนชั้น ป. 7 และได้ขยายชั้นเรียนเรื่อยมาตามความเหมาะสม จนได้เปิดสอนชั้น ม.ศ. 1 ถึง ม.ศ. 3 และชั้น ม. 1 ถึง ม.3 ตามลำดับ
พ.ศ.2525 ได้เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ( ม.4 ) เป็นปีแรก และขณะนั้นได้เปิดสอนวิชาศาสนาและวิชาสามัญตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ

***วิชาศาสนาเปิดสอนตั้งแต่ชั้นปีที่ 1-10 เวลาเรียน 08.00 – 12.00 น.***

***วิชาสามัญเปิดสอนตั้งแต่ชั้น ม. 1 – ม.6 เวลาเรียน 13.00 – 17.00 น.***

ปี พ.ศ. 2525 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำโครงการด้านวิทยาคารสงเคราะห์ เพื่อช่วยเหลือโรงเรียน และ   ได้รับอนุมัติจากรัฐบาล โรงเรียนจึงได้รับเงินช่วยเหลือจากโครงการดังกล่าว จำนวน 2,000,000 บาท เพื่อก่อสร้างอาคารเรียน 3 ชั้น ที่โรงเรียนสร้างยังไม่แล้วเสร็จเพราะขาดงบประมาณอยู่ จนสามารถใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างสมบูรณ์และปัจจุบันโรงเรียนได้มีหอพักนักเรียนมาตรฐาน จำนวน 2 หลัง คืออาคาร 2 ชั้น จำนวน 1 หลัง และอาคาร 3 ชั้น จำนวน 1 หลัง เพื่อแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนที่เดินทางมาเรียนจากต่างจังหวัด  ปี     พ.ศ. 2536 ได้เปลี่ยนแปลงสภาพโรงเรียนตามมาตรา 15(2) เป็นโรงเรียนตามมาตรา15(1) ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2536 เป็นต้นไป

ความภาคภูมิใจของโรงเรียน[แก้]

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน/ รายนามผู้บริหารโรงเรียน[แก้]

ครูใหญ่คนแรก นายหะยีมูหมัด บินอารอซัด ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2494 -2501
ครูใหญ่คนที่สอง                       นายฮายีฮารน สุหลง ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2501 -2518
ครูใหญ่คนที่สาม นายสะแปอิง บาซอ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2518 -2548
ปัจจุบันผู้รับใบอนุญาต นายรอซี เบ็ญสุหลง ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 15 ธันวาคมนาย 2547   จนถึงปัจจุบัน
ผู้อำนวยการ นายรอซี เบ็ญสุหลง ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 25 มิถุนายน 2549   จนถึงปัจจุบัน

โรงเรียนที่เกี่ยวข้อง[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  • รายการเชิงอรรถ (เชิงอรรถและอ้างอิงอาจใช้ร่วมกันได้ถ้าเชิงอรรถมีไม่มาก)

อ้างอิง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • เว็บไซต์โรงเรียน



[[หมวดหมู่:___]]