ผู้ใช้:โรงเรียนร้องแหย่งวิทยาคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไฟล์:โรงเรียนร้องแหย่งวิทยาคม 7.jpg

ประวัติโรงเรียน[แก้]

โรงเรียนร้องแหย่งวิทยาคม วัดวุฒิมงคล จังหวัดแพร่ โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

สังกัดมหาเถรสมาคม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ที่ ๓๗

ก่อตั้งเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๙ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑๕ หมู่ ๖ ตำบลดอนมูล อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่

ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนร้องแหย่งวิทยาคม (โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา)[แก้]

สถานที่ตั้ง[แก้]

วัดวุฒิมงคล (วัดร้องแหย่ง)  หมู่ที่ ๖ ตำบลดอนมูล อำเภอสูงเม่น  จังหวัดแพร่ รหัสไปรษณีย์ ๕๔๑๓๐ เดิมเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม

ขออนุญาตตั้งโดย พระครูวิฑิตธรรมจินดา เจ้าอาวาสวัดวุฒิมงคล และเจ้าคณะอำเภอสูงเม่น

ปีพุทธศักราช ๒๔๙๙     เปิดสอนนักธรรมชั้นตรี  นักธรรมชั้นโท   นักธรรมชั้นเอก โดยมี พระครูวิฑิตธรรมจินดาเป็นครูใหญ่

ปีพุทธศักราช ๒๕๑๔     พระครูวิฑิตธรรมจินดา  เจ้าคณะอำเภอสูงเม่น  และเจ้าอาวาสวัดวุฒิมงคล ได้ขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียนผู้ใหญ่ขึ้น  ชื่อ โรงเรียนผู้ใหญ่วิฑิตธรรมานุสรณ์

เปิดสอน ระดับที่๓ ( ป. ๗) จำนวน  ๓  ห้องเรียนได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากกรรมการศึกษานอกโรงเรียนมี พระดำรง  ฐิตธมฺโม  เป็นครูใหญ่

ปีพุทธศักราช ๒๕๑๕     ขออนุญาตเปิดสอนระดับที่๔ (ม. ๓) จำนวน ๓  ห้องเรียนโดยมี พระวาร   ปัญญาวุโธ เป็นครูใหญ่

ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘     พระอธิการทา  สิริธัมโม เจ้าอาวาสวัดวุฒิมงคล   พระวาร  ปัญญาวุโธ รองเจ้าอาวาส ได้ขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ได้รับอนุญาตจากกรมการศาสนา  กระทรวงศึกษาธิการ  เมื่อวันที่  ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๓๘  เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๑ ถึง ม.๓ )

                     โดยมีพระครูสมุห์วาร  ปญฺญาวุโธ ( พระครูอุดมพัฒนานุยุต ) เป็นเจ้าของ และผู้จัดการ  มีครูใหญ่/ผู้อำนวยการ ดังต่อไปนี้

ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘ – ๒๕๔๐   พระครูวิจิตรธรรมภาณี    เป็นครูใหญ่

ปีพุทธศักราช ๒๕๔๑ – ๒๕๔๒   พระภูริวัฒน์   ปภสฺสโร (สีสนิท)  เป็นครูใหญ่

ปีพุทธศักราช ๒๕๔๓ – ๒๕๔๕   พระโกวิทย์   กนฺตวณฺโณ (พอทำ)  เป็นครูใหญ่

ปีพุทธศักราช ๒๕๔๖ – ๒๕๕๙   พระครูปลัดจีระพันธ์   คมฺภีรธมฺโม (ทาบุญสม) เป็นครูใหญ่/ผู้อำนวยการ โดยสังกัด กองพุทธศาสนศึกษา  สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ เป็นต้นมา

ปีพุทธศักราช ๒๕๕๙    ย้ายมาสังกัดมหาเถรสมาคม โดยการดูแลควบคุมของกองพุทธศาสนศึกษา  สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

ปัจจุบัน           มี พระครูโกศลพิพัฒนคุณ  เป็นผู้จัดการ  

พระครูวีรการโกวิท เป็นประธานกรรมการโรงเรียน

พระครูปลัดจีระพันธ์  คมฺภีรธมฺโม   เป็นผู้อำนวยการ

ในปีพุทธศักราช  ๒๕๕๒  ได้รับพระเมตตา  จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ทรงรับเข้าเป็นโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ

วันที่ ๒๓  กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓   สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จพระราชดำเนินปฎิบัติพระราชกรณียกิจ ณ โรงเรียนร้องแหย่งวิทยาคม

ทรงมีพระราชดำริ และกระแสรับสั่งดังนี้          ๑. ทรงแนะนำให้โรงเรียนขยายห้องสมุดและจัดหาหนังสือเพิ่มเติม

         ๒. ทรงสนับสนุนให้สามเณรนักเรียนไปเรียนวิชาชีพที่วิทยาลัยสารพัดช่างแพร่

         ๓. ทรงสนับสนุนให้สามเณรนักเรียนทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ผ้ามัดย้อมจากสีของเปลือกไม้

         ๔. ทรงสนับสนุนให้สามเณรนักเรียนรู้จักเก็บออมปัจจัยที่ได้จาการรับนิมนต์นำศพตามประเพณีท้องถิ่น

         ๕. ทรงแนะนำให้โรงเรียนและชุมชนชยายพันธุ์ต้นแหย่ง ซึ่งมีอยู่เพียงกอเดียว

         ๖. ทรงแนะนำให้โรงเรียนจัดหาห้องเรียนเพิ่มขึ้น

วันที่  ๗ มีนาคม ๒๕๖๐  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเสด็จพระราชดำเนินปฎิบัติพระราชกรณียกิจ ณ โรงเรียนร้องแหย่งวิทยาคม  เป็นครั้งที่ ๒

สภาพทั่วไป[แก้]

  • สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะ เป็นชุมชนเมือง 
  • ชาวบ้านมีอาชีพสำคัญด้านอุตสาหกรรมแปรรูปไม้  และเกษตรกรรม
  • ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ศาสนาอื่นมีร้อยละ 1.00
  • รายได้เฉลี่ยต่อครอบครัว ต่อปี รายได้ของประชากรส่วนใหญ่จากอาชีพรับจ้างแปรรูปไม้ และ เกษตรกรรม
  • โอกาสของสถานศึกษากับความร่วมมือในด้านต่างๆ ของชุมชนให้ความร่วมมือ และมีส่วนร่วมสนับสนุนในการพัฒนาโรงเรียนดีมาก
  • ข้อจำกัดของสถานศึกษากับความร่วมมือของชุมชน ขึ้นอยู่กับความพร้อมด้านเวลาไม่เอื้ออำนวยในบางครั้ง

เขตติดต่อ   [แก้]

ทิศเหนือจรด             ถนน / บ้านเรือนราษฎร / ทางเข้าวัดมีโรงพยาบาลสูงเม่น

ทิศใต้จรด                 ประปาหมู่บ้าน / บ้านเรือนราษฎร                                                          

ทิศตะวันออกจรด      หอกระจายข่าวหมู่บ้าน / บ้านเรือนราษฎร                                           

ทิศตะวันตกจรด        ตลาด / ทุ่งนา / บ้านเรือนราษฎร

หลักสูตรที่เปิดสอน[แก้]

  • ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ช่วงชั้นที่ ๓ (  ม.๑ - ๓ )
  • ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ช่วงชั้นที่ ๔ (  ม.๔ - ๖ )

รับนักเรียนที่เรียน จบในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ระดับชั้นมัธยมศึกษา ๓  และนักเรียนเทียบโอน บวชเรียน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตั้งแต่ 1 เมษายน ถึง 31 พฤษภาคม  ของทุกปี

สัญลักษณ์และความหมาย[แก้]

ไฟล์:โรงเรียนร้องแหย่งวิทยาคม 6.jpg
ตราโรงเรียน

สีประจำโรงเรียน = สีเหลือง หมายถึง ความผุดผ่อง  ยึดมั่นในคุณธรรม

อักษรย่อ                  =  ร.ย.

ปรัชญา                 =  ปัญญา  โลกัสมิ  ปัชโชโต      แปลว่า  ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก

คำขวัญ                  =  มีวินัย  ใฝ่ศึกษา  พัฒนาคุณธรรม  นำความรู้สู่ชุมชน

คติพจน์                   = มีระเบียบวินัย  ใฝ่ศึกษา รู้จักหน้าที่  มีความกตัญญู

สัญลักษณ์              =  อักษรย่อ ร.ย. ด้านบนมีรัศมี และฉัตร  3  ชั้น ด้านล่างมีชื่อเต็มของโรงเรียน

ต้นไม้ประจำโรงเรียน  = ต้นแหย่ง

ดอกไม้ประจำโรงเรียน = ดอกแหย่ง

ระบบการศึกษา วันและเวลาเรียน     =  ภาคปกติ  วันจันทร์ – ศุกร์

พันธกิจโรงเรียนร้องแหย่งวิทยาคม[แก้]

๑.  จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นศาสนทายาทที่ดี มีคุณธรรมนำความรู้และมีทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตรสถานศึกษา

๒.  จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ครูเป็นแบบอย่างที่ดี และมีพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

๓.  ส่งเสริมและพัฒนาสถานศึกษาให้มีการจัดหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

๔.  ส่งเสริมและพัฒนาให้มีการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลายและใช้แหล่งเรียนรู้อย่างคุ้มค่าตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 

๕.  บริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมจากหน่วยงานทุกภาคส่วนในชุมชน

๖.  ส่งเสริมการสร้างอัตลักษณ์ของสถานศึกษาให้โดดเด่น

๗. จัดกิจกรรมที่สนองงานตามพระราชดำริฯ


อาคารสถานที่[แก้]

อาคารวิฑิตธรรมานุสรณ์

ผู้บริหารปัจจุบัน[แก้]

รายนาม

ดำรงตำแหน่ง

รูป

พระครูโกศลพิพัฒนคุณ ผู้จัดการโรงเรียน
พระครูวีรการโกวิท ประธานกรรมการโรงเรียน
พระครูปลัดจีระพันธ์ คมฺภีรธมฺโม ผู้อำนวยการโรงเรียน

หมวดหมู่ : โรงเรียนในจังหวัดแพร่ โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดแพร่ บทความสถานศึกษา ป้ายโครงการวิกิพีเดีย