ผู้ใช้:ตรวจทาน/ตำนานแห่งซิลมาริล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Silmarillion  
ผู้ประพันธ์เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน
ชื่อเรื่องต้นฉบับSilmarillion
ผู้แปลธิดา ธัญญประเสริฐกุล
ศิลปินปกเท็ด แนสมิธ
ประเทศอังกฤษ
ภาษาอังกฤษ
ชุดปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ
ประเภทนวนิยายแฟนตาซี
สำนักพิมพ์สหราชอาณาจักร สำนักพิมพ์อัลเลนแอนด์อันวิน
วันที่พิมพ์สหราชอาณาจักร พ.ศ. 2520

The Silmarillion (อังกฤษ: The Silmarillion) เป็นนิยายแฟนตาซีแต่งโดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน (ผู้แต่งเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์) เริ่มประพันธ์โครงเรื่องตั้งแต่ปี ค.ศ.1917 และมีการเขียนเพิ่มเติมมาโดยตลอด จนเมื่อ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน สิ้นชีวิตเมื่อปี ค.ศ.1973 วรรณกรรมเรื่องนี้ก็ยังเขียนไม่เสร็จ และยังไม่ได้รับการตีพิมพ์ ว่าด้วยเรื่องการปรากฏของพระเจ้าสูงสุดและเทพเจ้าที่รองลงมา โดยเรียกว่าGODโดยรวม ซึ่งแนวคิดนี้สามารถสั่นคลอนความเชื่อในพระเจ้าในแบบที่ทุกคนเชื่อกันเป็นอย่างมาก เพราะว่าพระเจ้าและเทพเจ้าคือผู้มีความก้าวหน้าและการเจริญเติบโตของอารยธรรมที่ไปไกลมาก ได้มาปรากฏตัวแล้วเริ่มสร้างสิ่งมีชีวิตขึ้นมา และก่อให้เกิดเรื่องราวต่างๆขึ้นมากมายในภายหลัง แต่หลักๆย่อมมีความเชื่อซึ่งมักจะไม่ตรงความเป็นจริงเสมอในด้านของการบันทึกสังเคราะห์ข้อมูล

คริสโตเฟอร์ โทลคีน บุตรชายคนที่สามของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ได้สานต่องานประพันธ์ของพ่อ โดยรวบรวมงานเขียนที่ยังคั่งค้างอยู่ ทั้งส่วนที่เขียนรายละเอียดแล้ว และส่วนที่มีเพียงแนวคิด โครงเรื่อง มาประพันธ์ต่อจนสำเร็จสมบูรณ์ เดอะ Silmarillion จึงได้ตีพิมพ์เป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1977

เนื้อหาในตำนานแห่งซิลมาริล เกี่ยวกับตำนานการสร้างโลก และเหตุการณ์ในยุคที่หนึ่งและยุคที่สองของโลกอาร์ดา ซึ่งเป็นเหตุการณ์หลายพันปีก่อนถึงยุคสมัยในเรื่อง เดอะฮอบบิท และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งอยู่ในยุคที่สาม

ภาพรวมของเรื่อง[แก้]

ตำนานแห่งซิลมาริล ประกอบด้วยเนื้อเรื่องห้าส่วน ดังนี้

  1. ไอนูลินดาเล (Ainulindalë) มหาคีตาแห่งไอนัวร์ : เล่าถึงตำนานการสร้างโลก
  2. วาลาเควนตา (Valaquenta) ตำนานแห่งวาลาร์ : เล่าถึงเหล่าวาลาร์ และ ไมอาร์ ซึ่งเป็นบรรดาชนศักดิ์สิทธิ์ (คือ ไอนัวร์)
  3. เควนตา Silmarillion(Quenta Silmarillion) ตำนานแห่งซิลมาริล : ประวัติศาสตร์ตั้งแต่กำเนิดสิ่งมีชีวิตจนถึงสิ้นสุดยุคที่หนึ่ง เป็นเนื้อหาส่วนใหญ่ของหนังสือเล่มนี้
  4. อคัลลาเบธ (Akallabêth) ชื่อนี้หมายถึง การล่มสลายของนูเมนอร์ : ว่าด้วยเรื่องราวการก่อตั้งเกาะนูเมนอร์ไปจนถึงกาลสิ้นสุดของเกาะ เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นในช่วงยุคที่สอง
  5. ว่าด้วยแหวนแห่งอำนาจ และยุคที่สาม (Of the Rings of Power and the Third Age) เรื่องของการสร้างแหวน และเหตุการณ์ของยุคที่สาม ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์

ที่จริงแล้วเรื่องทั้ง 5 ชุดนี้ โทลคีนได้แต่งแยกกันเป็นหลายชิ้นหลายเรื่องย่อย มิใช่เป็นเรื่องเดียวต่อเนื่องกัน และยังมีการปรับปรุงแก้ไขแต่ละเรื่องย่อยเป็นหลายๆ เวอร์ชัน แต่ลูกชายของเขา คริสโตเฟอร์ ได้นำมาเรียบเรียงใหม่ โดยคัดเลือกเอาเวอร์ชันที่สอดคล้องกันมากที่สุดมารวมไว้ (ไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุดที่โทลคีนแต่งไว้ก่อนเสียชีวิต) แล้วใช้ชื่อบทที่มีเนื้อหามากที่สุด คือ เควนตา Silmarillion (Quenta Silmarillion) หรือ ตำนานแห่งซิลมาริล มาเป็นชื่อของเรื่องที่เขาได้เรียบเรียงขึ้นมาใหม่

เนื้อเรื่องย่อยแต่ละชิ้น และแต่ละเวอร์ชันที่โทลคีนผู้พ่อแต่งไว้ โดยเฉพาะเวอร์ชันล่าสุดก่อนเสียชีวิต คริสโตเฟอร์ โทลคีนผู้ลูก ได้รวบรวมไว้ในหนังสือ Unfinished Tales และหนังสือชุด ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ (The History of Middle Earth) ซึ่งประกอบด้วยหนังสือ 12 เล่ม

โครงเรื่อง[แก้]

ไอนูลินดาเล และวาลาเควนตา[แก้]

ไอนูลินดาเล เป็นเนื้อหาส่วนแรกของหนังสือ ตำนานแห่งซิลมาริล เล่าถึงเหตุการณ์การสร้างโลกในลักษณะตำนาน กล่าวคือ อิลูวาทาร์ ("พระบิดาแห่งสรรพสิ่ง") ทรงสร้างไอนัวร์ขึ้นก่อนทุกสิ่ง เป็นดวงจิตที่ถือกำเนิดขึ้นจากดำริ หรือความคิดของพระองค์เอง จากนั้นอิลูวาทาร์ทรงแสดงดนตรีให้เหล่าไอนัวร์ชม แล้วโปรดให้พวกเขาบรรเลงดนตรีให้พระองค์ฟังบ้าง การบรรเลงดนตรีของเหล่าไอนัวร์นี้เรียกว่า "มหาคีตาแห่งไอนัวร์" (คำแปลของ ไอนูลินดาเล) ในระหว่างการบรรเลงนั้น เมลคอร์ ไอนัวร์องค์หนึ่งคิดอยากบรรเลงตามใจตัวเอง ทำให้เสียงดนตรีเพี้ยนผิดพลาดไปหมดจนล่มลง แต่องค์อิลูวาทาร์ทรงสำแดงฤทธิ์เป็นเสียงดนตรีไม่สิ้นสุด แล้วจากนั้นจึงแสดงภาพของโลกอาร์ดา ให้เหล่าไอนัวร์ได้เห็น โลกอาร์ดานั้นคือสิ่งที่บังเกิดขึ้นจากการบรรเลงดนตรีนั่นเอง

จากนั้นอิลูวาทาร์จึงสร้าง เออา หรือโลกอาร์ดาขึ้นให้เป็นจริง แล้วโปรดให้เหล่าไอนัวร์ที่ทรงพลังอำนาจ ลงไปสถิตอยู่ในโลกนั้น เพื่อสร้างโลกให้เป็นไปตามที่พวกเขาได้บรรเลงบทเพลงเอาไว้ เหล่าไอนัวร์ที่ลงมาในโลก กลุ่มที่มีฤทธิ์มากเรียกว่า วาลาร์ กลุ่มที่มีฤทธิ์รองลงมา เรียกว่า ไมอาร์ พวกเขาทั้งหมดพากันสร้างโลกให้พร้อมรอรับการมาถึงของเหล่าบุตรแห่งอิลูวาทาร์ โดยที่มีเมลคอร์คอยขัดขวางการก่อสร้างอยู่ตลอด

บท วาลาเควนตา เป็นเนื้อหาส่วนที่สองของหนังสือ กล่าวถึงรายละเอียดของวาลาร์ทั้ง 14 พระองค์ และรายละเอียดของไมอาร์องค์สำคัญบางองค์ สุดท้ายกล่าวถึงเทพอสูรเมลคอร์ คือไอนัวร์ที่จิตใจหันไปสู่ความชั่วร้าย กับบรรดาไมอาร์ที่ยอมเป็นสมุนของเขา เช่นเซารอน และบัลร็อก บทดนตรีเพลงที่มีเพียงผู้มีอำนาจแห่งพลังเท่านั้นที่จะบรรเลงได้ เทพเจ้าและพระเจ้าในเนื้อหานี้จะหมายถึงสิ่งมีชีวิตที่ก้าวหน้ามากเกินความเข้าใจโดยปกติได้ ภควัทคีตา คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์แห่งศาสนาฮินดู ภควัทคีตา อ่านว่า "พะ-คะ-วัด-คี-ตา" หมายถึง "บทเพลงแห่งพระเป็นเจ้า" เป็นชื่อคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่เล่าเรื่องโดย ฤๅษีกฤษณะ ไทวปายนะ วยาส โดยฤๅษีตนนี้ ได้เล่าเรื่องราวของมหาภารตะให้แก่ พระพิฆเนศ และพระพิฆเนศก็ได้จดจาร บันทึกไว้เป็นตัวอักษร ก่อเกิดเป็นมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวฮินดูใช้ปฏิบัติกันจวบจนปัจจุบัน คัมภีร์ภควัทคีตา ฉบับที่แปลเป็นภาษาไทยปัจจุบันแทบจะไม่เหลือแล้ว ลองหาอ่านได้ตามหอสมุดแห่งชาติ (ห้องหนังสือศาสนา) โบสถ์พราหมณ์เสาชิงช้า และหอสมุดโบราณต่างๆ

มหาภารตะ เป็นมหากาพย์ที่ยาวที่สุดในโลก (ยาวกว่า สามก๊ก อีเลียด Oddysey และ The Cantos รวมกัน) มีเนื้อหาที่ซับซ้อนมาก ให้ความรู้ครบถ้วนทุกศาสตร์ในโลก ทั้งเรื่องราวของเทพปกรณัม นิทาน บทกวี คติสอนใจ หลักปรัชญา หลักการสู้รบ ภูมิศาสตร์ วิถีชีวิต ศิลปะ ประเพณีของอินเดีย การเมือง และมีเรื่องย่อยๆ แทรกอยู่อีกมากมาย สามารถแยกเรื่องย่อยๆเหล่านั้นมาเป็นหนังสือได้อีกหลายร้อยเล่ม

เนื้อหาใน ภควัทคีตา คือ วรรณกรรมทิพย์ ที่อยู่เหนือสิ่งอื่นใดทั้งมวลในโลกและจักรวาลนี้

เราควรอ่าน ศึกษา ทำความเข้าใจให้ละเอียดถี่ถ้วน เมื่อเราได้ปฏิบัติตามหลักแห่งชีวิตที่นำเสนอใน ภควัทคีตา อย่างถูกต้องแล้ว เราจะเป็นผู้มีอิสระ หลุดพ้นจากความทรมานและความทุกข์ยากในชีวิตทั้งปวง บทโศลกแต่ละบรรทัด แต่ละบท จะช่วยขับกล่อมและปลอบประโลมจิตใจที่เหนื่อยล้า ให้กลับมามีความสดใสและชื่นบานได้อย่างน่าอัศจรรย์!!!

ภควัทคีตา ได้สอนเราว่า เมื่อมนุษย์ทำบาป ย่อมได้รับผลจากบาปที่ตนกระทำ เมื่อมนุษย์ทำดี ย่อมได้รับผลดีจากการกระทำของตนเช่นกัน ทั้งสองสิ่งนี้คือข้อกำหนดจาก พระเจ้าสูงสุด แต่ทั้ง กรรมดี และ กรรมชั่ว นี้ จะก่อให้เกิด การเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งการเวียนว่ายตายเกิดนี้ก็ก่อให้เกิด ความทุกข์ ปรัชญาใน ภควัทคีตา จึงสอนให้มุ่งเน้นไปสู่องค์พระผู้เป็นเจ้า (ซึ่งไม่จำเป็นต้องคือพระกฤษณะเท่านั้น) การมุ่งสู่องค์พระเป็นเจ้า ก็เพื่อการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด มีกายและจิตที่เป็นทิพย์และจะพบกับความสุขตลอดกาล..

ภควัทคีตา คือคัมภีร์ที่เรียกได้ว่าเป็นบทสรุปแห่งคัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นคัมภีร์พระเวท ฤคเวท สามเวท ยชุรเวท อาถรรพ์เวท คัมภีร์สังหิตา พราหมณะ อารัณยกะ คัมภีร์อุปนิษัท เวทานตะ ปุราณะ ฯลฯ ปรัชญาใน ภควัทคีตา เป็นการรวบยอดเอาคำสอนที่กระจัดกระจายในคัมภีร์ต่างๆดังกล่าว มารวมไว้ในเล่มเดียว ภควัทคีตา จึงเปรียบได้ว่าเป็น หัวใจ แห่งคำสอนของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูก็ไม่ผิดนัก..

เนื่องด้วย ภควัทคีตา นี้เป็นส่วนหนึ่งใน มหากาพย์มหาภารตะ เมื่ออ่านจบแล้ว เราก็ควรอ่านและศึกษาเรื่อง มหาภารตะ เพิ่มเติม เพื่อความเข้าใจในปรัชญาของชีวิตอย่างเข้มข้น มหาภารตะ เป็นมหากาพย์ชั้นเยี่ยม เป็นวรรณกรรมอมตะที่อ่านสนุกน่าติดตาม ทั้งนี้ การอ่าน ภควัทคีตา ให้จบก่อน มหาภารตะ ก็ไม่เป็นการผิดขั้นตอนแต่อย่างใด..

ผู้ที่เชื่อในคำสอนของคัมภีร์ ภควัทคีตา ไม่จำเป็นต้องนับถือศาสนาฮินดู หรือศาสนาพุทธแต่อย่างใด คำสอนในภควัทคีตาถือเป็น "ความจริง" ที่อยู่เหนือการนับถือศาสนาทุกศาสนา แต่อยู่ภายใต้การนับถือ "องค์พระผู้เป็นเจ้า" ซึ่งอาจจะเรียกว่า พระกฤษณะ พระตรีมูรติ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ เพราะเราเชื่อในความจริงอันสูงสุด ซึ่งความจริงอันสูงสุดนี้ก็หมายถึงว่า... ชีวิตของมนุษย์ทุกคนล้วนเกิดจากพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งพระเจ้านั้นอาจจะเป็น พระยะโฮวาห์ (ศาสนาคริสต์) พระอัลเลาะห์ (ศาสนาอิสลาม) พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ พระตรีมูรติ พระกฤษณะ ฯลฯ (ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู) และการศิโรราบต่อองค์พระเป็นเจ้าที่ตนนับถือนั้น คือสิ่งที่ควรทำ การได้เป็นผู้รับใช้พระเจ้าในศาสนาของตน คือหนทางไปสู่ความสุขอันสูงสุด ดังที่ทุกศาสนาได้สอนไว้ในแง่เดียวกัน

เนื้อหาใน ภควัทคีตา คือความจริง คือข้อควรปฏิบัติ คือกฏแห่งการใช้ชีวิต คือระเบียบที่ควรยึดถือปฏิบัติอย่างหลักเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้ การนำแต่ละบท แต่ละบรรทัด ใน ภควัทคีตา มาปรับใช้ให้เข้ากับยุคสมัยและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิต ก็เป็นสิ่งที่ควรทำ เพื่อให้เหมาะสมแก่กาลเวลา การศึกษา ภควัทคีตา โดยดึงเอามาประยุกต์ใช้ทีละส่วน จะทำให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างราบรื่นและไม่เครียดเกินไปนัก..

ควรสร้างความรู้สึก สำนึก ในพระกรุณาของพระผู้เป็นเจ้าหรือเทพเจ้าที่ตนนับถือ แต่ไม่จำเป็นต้องเป็น องค์พระกฤษณะ เท่านั้น อาจจะเป็น พระพิฆเนศ พระวิษณุ พระแม่สรัสวดี ฯลฯ ก็ได้ เนื่องจากพระเป็นเจ้าทุกพระองค์ที่ปรากฏพระนามในโลกนี้ ล้วนเป็นหนึ่งเดียว เพียงแต่พระองค์ปรากฏมาในภาคที่แตกต่างกันเพื่อแสดงปาฏิหาริย์โน้มน้าวให้ มนุษย์หันหน้าเข้าหาพระองค์มากขึ้น ความรู้สึกสำนึกในพระกรุณาของพระเป็นเจ้าที่ตนนับถือ จะส่งผลให้การศึกษา พระคัมภีร์ภควัทคีตา ดำเนินไปอย่างไม่ติดขัด ความศรัทธาที่เรามีจะก่อให้เกิดความเชื่อมั่นในความสุขที่จะได้รับจากการศึกษาคัมภีร์นี้..

การที่เรามีคนดีอยู่ในโลกนี้ เป็นข้อพิสูจน์ว่า พระผู้เป็นเจ้ามีอยู่จริง การที่เรามีคนชั่วอยู่ในโลกนี้ เป็นข้อพิสูจน์ว่า พระผู้เป็นเจ้ามีอยู่จริง การที่มีคนที่มีความสุขอยู่ในโลกนี้ เป็นข้อพิสูจน์ว่า พระผู้เป็นเจ้ามีอยู่จริง การที่มีคนที่มีความทุกข์อยู่ในโลกนี้ เป็นข้อพิสูจน์ว่า พระผู้เป็นเจ้ามีอยู่จริง การที่มีการเกิดชีวิตใหม่ๆขึ้นบนโลกนี้ เป็นข้อพิสูจน์ว่า พระผู้เป็นเจ้ามีอยู่จริง การที่มีการดับสูญไปของแต่ละชีวิตบนโลกนี้ เป็นข้อพิสูจน์ว่า พระผู้เป็นเจ้ามีอยู่จริง..

มหาตมะคานธี คือผู้มองโลกอย่างเป็นกลางที่สุด...เขาเชื่อในพระเจ้าทุกพระองค์ และ อ่านคัมภีร์มาแล้วทุกศาสนา คานธีเคยกล่าวไว้ว่า ศาสนาทุกๆศาสนามีอยู่จริง พระเจ้าทุกๆพระองค์มีอยู่จริง...ทุกๆศาสนาล้วนแล้วแต่เป็นความจริงทั้งสิ้น ผู้ใดจะนับถือศาสนาใด ก็ควรนำเอาหลักของศาสนานั้นๆมาปรับให้เข้ากับการดำเนินชีวิต ควรหันหน้าเข้าหาพระเจ้า มีความสำนึกในพระเจ้าของตน และไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนศาสนา รวมถึงไม่จำเป็นต้องโน้มน้าวให้ใครมาอยู่ในศาสนาของตน เพราะแต่ละคนย่อมมีชะตาที่เข้ากับแต่ละศาสนาไม่เหมือนกัน ถ้าทำได้ดังนี้ ความสุขในแต่ละศาสนาก็จะเกิดขึ้นอย่างยั่งยืน และสงครามทางศาสนาก็คงจะไม่อุบัติขึ้นแน่นอน..

ภควัทคีตา เป็นได้ทั้งคัมภีร์ มหากาพย์ บทความ เรียงความ บทกลอน บทเพลง วรรณกรรม สุดแล้วแต่จะเรียกและเปรียบเทียบ เนื้อหาในภควัทคีตาสะท้อนปรัชญาแห่งชีวิตออกมาได้อย่างลึกล้ำ และยากที่จะมีผู้ใดเขียนขึ้นได้อีก สิ่งใดไม่มีกล่าวไว้ใน มหาภารตะ สิ่งนั้นไม่มีในโลก ธรรมใดไม่มีกล่าวไว้ใน ภควัทคีตา ธรรมนั้นไม่มีในโลก!!

ชีวิตคือการต่อสู้..ภควัทคีตาคือคู่มือเพื่อการต่อสู้ นักรบ กษัตริย์ แม่ทัพ และผู้นำทุกคนควรอ่านและทำความเข้าใจให้ถ่องแท้เพื่อประโยชน์ในการต่อสู้กับสิ่งเลวร้าย มนุษย์ผู้แสวงหาทางรอดและความพ้นจากวงเวียนของบาปกรรมทุกคนควรศึกษาคัมภีร์ภควัทคีตา..

โศลกทุกบทใน ภควัทคีตา สามารถตอบคำถามทางจริยธรรม คุณธรรม และบาปกรรมได้อย่างถ่องแท้ ปรัชญาในภควัทคีตาจึงเป็นความสุขที่ลึกซึ้ง และเป็นความปรารถนาที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจของมนุษย์ทุกคน..

ศัมการา (Shamkara) คือผู้ที่มองว่า คัมภีร์ภควัทคีตา นั้นสอนให้เรารู้จักการเสียสละเพื่อส่วนรวม สอนว่าสิ่งที่บังตาเราทั้งหลายอยู่นั้นคือ บาป และการหลุดพ้นจากบาปนั้นต้อง มุ่งตรงต่อพระผู้เป็นเจ้า (มหาเทพ-มหาเทวี) อวิชชา และ อวิทยา คือสิ่งที่ขัดต่อการปฏิบัติเพื่อหลุดพ้นจากบาป การขจัดอวิชชาและอวิทยาได้ก็จะเข้าสู่ พรหมมัน เข้าสู่ ปรมาตมัน ปรมาตมัน ก็คือความจริงอันสูงสุด นั่นคือ ความสุขอันเป็นนิรันดร์ นั่นเอง..

รามนุจา (Ramanuja) คือผู้ที่มองว่า คัมภีร์ภควัทคีตา คือบทเพลงที่ขับกล่อมจิตวิญญาณให้เข้าใจถึงพื้นฐานแห่งปรัชญา ภควัทคีตา ได้พูดถึงความรักแห่งพระเป็นเจ้า ทั้งความรักที่พระเป็นเจ้ามีต่อเรา และความรักที่เราควรมีต่อพระองค์ การได้พึ่งพา ภควัทคีตา ก็คือการพึ่งพาความรักจากองค์พระเป็นเจ้า และไม่ต้องพึ่งคัมภีร์เล่มใดอีกเลย..

พระกฤษณะ คือ บุคลิกภาพแห่งพระเจ้าสูงสุด คือ ตัวแทน แห่งองค์พระเป็นเจ้าทุกพระองค์ในจักรวาล คือผู้มอบความสุขอันสูงสุดและเป็นนิรันดร์แก่มนุษย์ การมอบความภักดีแด่ พระกฤษณะ ก็คือการมอบความภักดีแก่ พระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าจะประทานความรัก ความเมตตา และคำพรอันประเสริฐทั้งมวลผ่าน องค์พระกฤษณะ มาสู่มนุษย์ ผู้ที่น้อมคารวะและปฏิบัติ โยคะ หรือ ภักดี ต่อ องค์พระกฤษณะ ก็ย่อมได้รับคำพรตามคำอธิษฐานจากพระผู้เป็นเจ้า สิ่งนี้คือความจริงที่หลีกเลี่ยงและปฏิเสธไม่ได้..

คัมภีร์ของศาสนาพุทธ นิกายมหายาน (พุทธ) คัมภีร์ไบเบิ้ล (คริสต์) คัมภีร์อัลกุรอาน (อิสลาม) คัมภีร์ภควัทคีตา (พราหมณ์ฮินดู) คัมภีร์ของศาสนาสิกข์ ต่างกล่าวถึง พระเจ้าสูงสุดผู้ทรงอำนาจเหนือมนุษย์ (ยกเว้นพุทธหินยานของไทย) การทำความดีและปฏิบัติมุ่งตรงต่อพระเจ้าของตน คือสิ่งที่พระคัมภีร์ได้สอนไว้แล้วในทุกๆศาสนา

...ความดีที่ท่านกระทำลงไป จะไม่มีการสูญเปล่า... เนื่องจากสภาวะพรหมมัน อาตมัน และ ปรมาตมัน เป็นสิ่งที่ไม่สามารถสลายได้ หากท่านกระทำความดีตราบจนสิ้นลม อาตมันที่จะรอรับกรรมดีของท่านก็จะยังคงรอท่านอยู่ ณ ที่นั้น ...เพื่อนำพาท่านไปสู่พระผู้เป็นเจ้า...ให้ท่านได้มีความสุขตลอดกาล... siamganesh.com/BhagavadGita-00.html

เควนตา Silmarillion[แก้]

คำว่า เควนตา (quenta) หมายถึง ตำนาน ส่วน Silmarillion (silmarillion) ประกอบจากคำว่า silmarilli และ -on โดยที่ silmarilli หมายถึง silmarils (คือรูปพหูพจน์ของ silmaril) ส่วน -on หมายถึง of the (ว่าด้วย) ดังนั้น Quenta Silmarillion จึงหมายถึง ตำนานว่าด้วยเรื่องของดวงมณีซิลมาริล

ซิลมาริล (หรือซิลมาริลลิในรูปพหูพจน์) คือดวงมณีสามดวงที่เฟอานอร์ เจ้าชายเอลฟ์ ชาวโนลดอร์ ประดิษฐ์ขึ้น แต่ถูกมอร์กอธขโมยไปหลังจากสังหารกษัตริย์ฟินเว บิดาของเฟอานอร์ เฟอานอร์กับโอรสทั้งเจ็ดและชาวโนลดอร์จึงติดตามไล่ล่าเพื่อล้างแค้น เรื่องราวส่วนใหญ่ในตอนนี้จะเกี่ยวกับการทำสงครามของพวกเอลฟ์กับมอร์กอธในแผ่นดินเบเลริอันด์ เพื่อชิงซิลมาริลกลับคืน

เควนตา Silmarillion ประกอบด้วยเนื้อเรื่อง 24 บท ในจำนวนนี้ เรื่องที่ถือว่าเป็นเอกในตำนานSilmarillion ได้แก่

อคัลลาเบธ[แก้]

เนื้อหาส่วนนี้กล่าวถึงการกำเนิดและการล่มสลายของอาณาจักรมนุษย์ชาวนูเมนอร์ ซึ่งเป็นเกาะแห่งหนึ่งกลางมหาสมุทรใหญ่ที่เหล่าวาลาร์สร้างประทานให้เป็นของรางวัลแก่ชาวมนุษย์สามตระกูลที่เป็นสหายเอลฟ์ และได้ช่วยเหลือการศึกต่อต้านเมลคอร์มาโดยตลอด อาณาจักรนูเมนอร์ต้องล่มสลายลงก็ด้วยความเจ้าเล่ห์ของไมอาผู้ชั่วร้ายชื่อ เซารอน ซึ่งเคยเป็นสมุนมือขวาของเมลคอร์มาก่อน เซารอนสร้างสมอำนาจของตนขึ้นใหม่ในยุคที่สอง หมายจะครองมิดเดิลเอิร์ธทั้งหมด แต่ชาวนูเมนอร์ยกทัพมาปราบปรามลงได้ เมื่อเซารอนไม่สามารถเอาชนะชาวนูเมนอร์ด้วยกำลัง เขาจึงแสร้งเป็นยอมจำนนและให้ชาวนูเมนอร์จับตัวไปเป็นเชลย เซารอนหาทางเข้าไปใกล้ชิดกษัตริย์ อาร์-ฟาราโซน แล้วทำให้พระองค์หลงเชื่อคำยุยงจนตั้งให้เขาเป็นหัวหน้าที่ปรึกษา และเหิมเกริมถึงขนาดคิดยกทัพไปต่อสู้กับเหล่าวาลาร์เพื่อช่วงชิงความเป็นอมตะ ครั้นเมื่อทัพเรือของอาร์-ฟาราโซนยกไปถึงแผ่นดินอามัน อิลูวาทาร์ก็บันดาลให้มหาสมุทรใหญ่แยกเป็นเหวลึก ดูดเอาเกาะนูเมนอร์และกองเรือทั้งหมดจมหายไปในห้วงอเวจี ทว่าดวงจิตของเซารอนสามารถหนีรอดกลับมายังแผ่นดินมิดเดิลเอิร์ธได้ และชาวนูเมนอร์จำนวนหนึ่งที่ยังคงภักดีต่อวาลาร์และอิลูวาทาร์ ก็หนีรอดมายังมิดเดิลเอิร์ธได้เช่นกัน

ว่าด้วยแหวนแห่งอำนาจและยุคที่สาม[แก้]

เนื้อหาส่วนสุดท้ายของหนังสือเป็นบทสรุปเหตุการณ์ในวงล้อประวัติศาสตร์โลกอาร์ดาของโทลคีน กล่าวถึงการปรากฏตัวของจอมมารเซารอน ที่เรืองอำนาจขึ้นมาแทนที่ เมลคอร์ นายเก่าของตน เซารอนสร้างแหวนแห่งอำนาจขึ้น และก่อสงครามกับศัตรูเก่า คือเหล่าเอลฟ์และมนุษย์ผู้เป็นสหายเอลฟ์ (ชาวนูเมนอร์) จนกระทั่งถึงสงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้ายซึ่งเป็นอันสิ้นสุดยุคที่สอง

จากนั้นเล่าถึงเหตุการณ์ในยุคที่สามที่เกี่ยวข้องกับแหวนแห่งอำนาจของเซารอน การกำเนิดสภาขาว การรุ่งเรืองและเสื่อมสลายของอาณาจักรกอนดอร์ ไปจนถึงการสูญสิ้นอำนาจของเซารอนในปลายยุคที่สาม เนื้อหาในส่วนนี้เพียง 1 ย่อหน้า ขยายเป็นเหตุการณ์ทั้งหมดที่ปรากฏในเรื่อง "เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์" ว่าด้วยความพยายามทำลายแหวนเอกของเซารอน โดยชาวเพเรียนนัธ (ฮอบบิท) ตัวเล็กๆ คนหนึ่งที่ไม่มีชื่อปรากฏในประวัติศาสตร์


เบื้องหลังการประพันธ์และการตีพิมพ์[แก้]

โทลคีนเริ่มต้นงานเขียนนิยายที่ต่อมากลายมาเป็น "Silmarillion" ตั้งแต่ ค.ศ. 1914[1] โดยที่เขาตั้งใจจะให้เป็นตำนานปรัมปราของประเทศอังกฤษ เพื่ออธิบายถึงกำเนิดเรื่องราวในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม[1] เนื้อหาส่วนมากเขียนขึ้นขณะที่โทลคีนพำนักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลหลังจากถูกส่งตัวกลับจากสมรภูมิแนวหน้าในฝรั่งเศสระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเนื่องจากป่วยเป็นไข้กลับ เขาเขียนนิยายเรื่องแรก คือ การล่มสลายของกอนโดลิน สำเร็จลงในราวปลายปี ค.ศ. 1916[1]

ในตอนนั้นเขาตั้งชื่อให้ชุดงานเขียนของเขาว่า The Book of Lost Tales (ประมวลตำนานอันสาบสูญ)[2] ซึ่งในเวลาต่อมาชื่อนี้ได้กลายเป็นชื่อหนังสือสองเล่มแรกในชุดหนังสือประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ เรื่องราวใน The Book of Lost Tales เป็นเรื่องที่เล่าผ่านนักเดินเรือคนหนึ่งชื่อว่า เอริโอล (ในเวอร์ชันหลังๆ ชื่อนี้เปลี่ยนไปเป็น อัลฟ์วีน (Ælfwine)) ซึ่งล่องเรือไปจนกระทั่งได้พบกับเกาะโทลเอเรสเซอา พวกเอลฟ์ที่บนเกาะนั้นได้เล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ของพวกเขาให้เอริโอลฟัง อย่างไรก็ดีโทลคีนแต่ง The Book of Lost Tales ยังไม่จบ เขาหันไปแต่งกวีนิพนธ์ชุด "The Lay of Leithian" (ลำนำแห่งเลย์ธิอัน) และ "The Lay of the Children of Húrin" (ตำนานบุตรแห่งฮูริน) แทน[2]

Silmarillionฉบับแรกสุดที่เขียนจบสมบูรณ์เป็น 'โครงร่างปกรณัม' เขียนในปี ค.ศ. 1926[3] โครงร่างปกรณัมนี้มี 28 หน้า เป็นการอธิบายพื้นหลังของตำนานว่าด้วยเรื่องของ ทูริน ทูรัมบาร์ ให้แก่ อาร์.ดับเบิลยู. เรย์โนลด์ เพื่อนคนหนึ่งของโทลคีนที่เขาส่งต้นฉบับหลายเรื่องไปให้ดู[3] จาก 'โครงร่างปกรณัม' นี้ โทลคีนได้พัฒนาปรับปรุงงานเขียนเชิงบรรยายเพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นชุดที่มีชื่อว่า เควนตา โนลโดรินวา ซึ่งเป็นงานเขียน Silmarillion ที่สมบูรณ์ที่สุดของโทลคีน[4]

เมื่อถึง ค.ศ. 1937 โทลคีนประสบความสำเร็จอย่างมากในการตีพิมพ์ เดอะฮอบบิท เขาจึงส่งต้นฉบับ Silmarillion ที่ได้พัฒนาเพิ่มเติมยิ่งขึ้นไปให้สำนักพิมพ์ของเขา คือ สำนักพิมพ์อัลเลนแอนด์อันวิน แต่สำนักพิมพ์ปฏิเสธการพิมพ์โดยบอกว่าเนื้อเรื่องหม่นหมองเกินไปและยังมีความเป็น "เคลต์" มากเกินไป[5] สำนักพิมพ์ขอให้โทลคีนเขียนภาคต่อของ เดอะฮอบบิท แทน โทลคีนปรับปรุง Silmarillion เพิ่มเติมอีก แต่ไม่นานเขาก็ยอมเขียนภาคต่อของ เดอะฮอบบิท คือ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งเป็นงานที่กินเวลาและความสนใจของเขาไปแทบทั้งหมด หลังจากเขียน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ จบ เขาจึงหันมาให้ความสนใจแก้ไข Silmarillion อีกครั้ง[6] โทลคีนปรารถนาอย่างยิ่งจะให้สำนักพิมพ์ตีพิมพ์ทั้ง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ Silmarillion เป็นงานเขียนชุดต่อเนื่องกัน[7] แต่สำนักพิมพ์ไม่เห็นด้วย ในที่สุดเมื่อรู้แน่ว่าจะไม่ได้พิมพ์ Silmarillion โทลคีนจึงหันไปปรับปรุง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ให้สมบูรณ์สำหรับการตีพิมพ์[8]

ปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 โทลคีนหันมาปรับปรุงงานเขียนชุด Silmarillion อีกครั้ง งานเขียนในคราวนี้โดยมากเป็นเรื่องราวทำนองเทววิทยาและปรัชญาซึ่งเป็นพื้นฐานของเรื่องมากกว่าจะเป็นงานพรรณนาแบบนิยาย ในระหว่างเวลานี้เขามีข้อสงสัยเกี่ยวกับแนวคิดหลักของเนื้อเรื่อง ทำให้เขาย้อนไปปรับปรุงงานเขียนเวอร์ชันแรกๆ โทลคีนรู้สึกว่าเขาจำเป็นต้องปรับปรุงและแก้ไขข้อขัดแย้งบางอย่างเสียก่อนจึงจะเขียนนวนิยายฉบับสมบูรณ์ได้[6] ในช่วงนี้เขาจึงประพันธ์เรื่องราวเกี่ยวกับความชั่วร้ายในอาร์ดา กำเนิดของออร์ค วัฒนธรรมของพวกเอลฟ์ ความหมายเกี่ยวกับการ "เกิดใหม่" ของพวกเอลฟ์ แนวคิดเรื่องโลกแบน และตำนานเกี่ยวกับดวงอาทิตย์และดวงจันทร์[6] ตลอดช่วงชีวิตที่เหลือ โทลคีนบรรจงแต่งเติมงานประพันธ์ชุดนี้โดยมีการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ เพียงหนึ่งหรือสองเรื่องเท่านั้น[6]

การตีพิมพ์หลังเสียชีวิต[แก้]

หลังจากโทลคีนเสียชีวิตไปแล้วหลายปี คริสโตเฟอร์ โทลคีน บุตรชายของเขาจึงได้นำงานเขียนร้อยแก้วของ Silmarillion มาเรียบเรียงขึ้นใหม่ ด้วยความตั้งใจจะใช้บทประพันธ์ชุดล่าที่สุดที่โทลคีนผู้พ่อได้เขียนเอาไว้ แต่คัดเลือกเนื้อหาที่สอดคล้องรับส่งต่อเนื่องกันทั้งภายในเรื่องชุดนี้และสอดคล้องกับ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ด้วย[9] แม้ว่าตัวเขาเองก็สารภาพเอาไว้ในบทนำของหนังสือว่า การจะทำให้สอดคล้องกันทั้งหมดแทบจะเป็นไปไม่ได้ ในหนังสือชุด ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ คริสโตเฟอร์ โทลคีน ได้นำงานเขียนต้นฉบับจำนวนมากมารวบรวมเอาไว้พร้อมคำอธิบายเพิ่มเติมของเขา เพื่อชี้แจงว่าเขาเลือกใช้ต้นฉบับใดมาเป็นชุดเรียบเรียง และเพราะเหตุใด โดยในหนังสือชุดนี้มีต้นฉบับเก่าแก่ที่สุดย้อนไปถึงปี ค.ศ. 1917 คือต้นฉบับ Book of Lost Tales ที่เก่าแก่ที่สุด ใน เควนตา Silmarillion บทท้ายๆ คือเรื่อง "การล่มสลายของโดริอัธ" เป็นต้นฉบับส่วนที่โทลคีนไม่ได้ปรับปรุงแก้ไขเลยตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 ดังนั้นคริสโตเฟอร์ จึงต้องเรียบเรียงความเรียงร้อยแก้วจำนวนหนึ่งขึ้นมาใหม่จากต้นฉบับที่กระจัดกระจายเป็นส่วนๆ[10] จนกระทั่งได้ต้นฉบับที่เสร็จสมบูรณ์ทั้งเนื้อเรื่อง ผังตระกูล แผนที่ ดรรชนีคำ รวมถึงรายการชื่อในภาษาเอลฟ์ชุดแรกที่สุดที่เคยจัดทำขึ้น ตีพิมพ์เป็นเล่มเมื่อปี ค.ศ. 1977

กระแสตอบรับ[แก้]

ไม่เป็นที่นิยมเพราะมีเนื้อหาเหมือนกับคัมภีร์ไับเบิ้ล คัมภีร์ศาสนา

  • คัมภีร์อัลกุรอานซึ่งอาจนำไปสู่กระแสต่อต้านอย่างรุนแรง ต่อผู้นับถือศาสนาอื่นๆ
  • เพราะเป็นศาสนาสังเคราะห์ที่โทนคีนทำขึ้นเพื่อใช้เป็นโครงกำเนิดของเนื้อหาทั้งหมดของโทนคีนจากเนื้อหาแรกที่ถูกเขียนขึ้น
  • จนถึงเรื่องสุดท้ายวันที่โทนคีนตาย และถูกปรับแต่งจัดเรียงโดยลูกๆของโทนคีนในภายหลัง เพื่อเป็นเกียรติแด่โทนคีน

ดูเพิ่ม[แก้]

ยุคสมัย[แก้]

นิยายที่เกี่ยวข้อง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 ฮัมฟรีย์ คาร์เพนเตอร์, ed. (1981), The Letters of J. R. R. Tolkien, บอสตัน: Houghton Mifflin, ISBN 0-395-31555-7
  2. 2.0 2.1 เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน (1984), คริสโตเฟอร์ โทลคีน, เรียบเรียง, The Book of Lost Tales, บอสตัน: Houghton Mifflin, ISBN 0-395-35439-0
  3. 3.0 3.1 Tolkien, J. R. R. (1985), Christopher Tolkien, ed., The Lays of Beleriand, Boston: Houghton Mifflin, ISBN 0-395-39429-5
  4. Tolkien, J. R. R. (1986), Christopher Tolkien, ed., The Shaping of Middle-earth, Boston: Houghton Mifflin, Preface, ISBN 0-395-42501-8
  5. ฮัมฟรีย์ คาร์เพนเตอร์, จดหมายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ฉบับที่ 19
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Tolkien, J. R. R. (1993), Christopher Tolkien, ed., Morgoth's Ring, บอสตัน: Houghton Mifflin, Foreword, ISBN 0-395-68092-1
  7. ฮัมฟรีย์ คาร์เพนเตอร์, จดหมายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ฉบับที่ 124
  8. ฮัมฟรีย์ คาร์เพนเตอร์, จดหมายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ฉบับที่ 133
  9. เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน (1980), คริสโตเฟอร์ โทลคีน, เรียบเรียง, Unfinished Tales, บอสตัน: Houghton Mifflin, Introduction, ISBN 0-395-29917-9
  10. เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน (1994), คริสโตเฟอร์ โทลคีน, เรียบเรียง, The War of the Jewels, บอสตัน: Houghton Mifflin, Part Three, Chapter V "The Tale of Years", ISBN 0-395-71041-3

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]