ป่าสันทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ป่าสันทรายที่มีให้เห็นอยู่ทั่วไป

ป่าสันทราย เป็นป่าที่มีความพิเศษกว่าป่าอื่น ๆ ที่มีอยู่ ซึ่งสามารถที่จะเกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ ของโลก ที่มีเขตพื้นที่ติดกับทะเลส่วนใหญ่จะมีความเป็นหาดทรายที่เกิดจากการทับถมกันของกรวดและหิน ก้อนเล็ก ๆ จากการพัดมาของลมทะเล ระยะเวลาการเกิดใช้เวลานาน กว่าจะเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์พืชนานาชนิด ซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งไม่มากนัก หากอยู่ห่างจากฝั่งมากก็เป็นการบ่งบอกถึงเวลาว่ามีอายุที่มากกว่าป่าที่อยู่บริเวณใกล้กับชายฝั่ง มีจุดเด่นคือ เกิดจากแรงลมพัดทรายมากองทับถมกันคล้ายกับ Sand dunes แต่ไม่ได้เกิดกับหาดทรายทั่วไป มีพันธุ์ไม้และพันธุ์พืชหลากหลายชนิด บ้างก็ใช้รับประทาน บ้างก็ใช้เป็นสมุนไพร เป็นยารักษาโรค เกิดประโยชน์กับคนในชุมชน[1]

กระบวนการเกิดป่าสันทรายอาจต้องใช้เวลาหลายร้อยหลายพันปี กว่าจะเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ ใช้องค์ประกอบหลายอย่างด้วยกัน ตามสภาพแวดล้อมที่มีของแต่ละสถานที่วงจรของป่าสันทรายวนเวียนอยู่อย่างนี้ ตลอดไป

กระบวนการเกิด[แก้]

ป่าสันทรายเกิดจากเวลาผ่านไปนาน น้ำทะเลมีการลดลง และพื้นที่ของหาดก็เพิ่มขึ้น เกิดการทดแทนกันของน้ำและพื้นดิน จากที่ที่เคยเป็นน้ำกลับกลายเป็นพื้นดินที่เป็นทราย วงจรของสิ่งแวดล้อมชายฝั่งมีผลมากเช่นกัน สภาพภูมิอากาศ และสภาพภูมิประเทศที่ต่างกัน การเกิดป่าใกล้บริเวณชายหาดก็มีสภาพที่ต่างกันด้วย มีองค์ประกอบหลักหลายประการที่ทำให้เกิดเป็นป่าสันทราย ดังนี้

  • ลมที่พัดเอาทรายมากองทับถมกัน
  • แรงลมจะต้องมีความสม่ำเสมอ มีความเร็วประมาณ 15-45 ไมล์ทะเลต่อชั่วโมง เพราะถ้าเร็วกว่านี้ก็จะเป็นพายุ
  • เป็นหาดทรายที่มีทรายมากพอ มีเม็ดทรายมากพอที่ลมจะพัดปลิวได้
  • ต้องมีสิ่งที่มาดักกั้นทราย ที่ถูกลมพัดมาให้กองทับถมกัน ได้แก่ เศษสาหร่าย ขยะในทะเลที่ถูกคลื่นซัดมากองไว้

เมื่อเน่าเปื่อยก็จะเป็นปุ๋ย ให้พืชชายทะเลงอกและช่วยดักกั้นทรายให้กองสูงขึ้น พืชประเภทนี้มีลักษณะพิเศษ คือ ทนต่อละอองเค็ม ทานลมต้นเตี้ย ใบและกิ่งมีผิวมันเป็นขน แพร่พันธุ์รวดเร็ว มีแขนงออกไปรอบ ๆ เมื่อถูกทรายทับถมก็สามารถงอกกิ่งใบและรากใหม่ ๆ ชูต้นพ้นทรายได้ทัน ซึ่งเป็นตัวด้กกั้นทรายเพิ่มขึ้น ทำให้สันทรายสูงขึ้น เป็นต้น

สถานที่ตั้ง[แก้]

สถานที่ตั้งในประเทศไทย

ประโยชน์ที่ได้รับ[แก้]

เป็นแหล่งเรียนรู้ของคนในชุมชนและหมู่บ้านใกล้เคียง ในเรื่องพฤกษศาสตร์และเรื่องอื่น ๆ คนในชุมชนสามารถนำมาให้ประกอบอาหาร เป็นสมุนไพร เป็นยารักษาโรค ทำให้คนในชุมชนสามารถใช้ชีวิตแบบพอเพียง และมีความเป็นอยู่อย่างกลมกลืนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในสังคม พันธุ์ไม้ที่มีในป่าสันทรายสามารถในไปขยายพันธุ์และสืบพันธุ์ยังแหล่งอื่น ๆ ที่ต้องการได้อีกด้วย

ผลกระทบ[แก้]

ส่วนใหญ่เกิดจากการทำลายของมนุษย์ เช่น ปัญหาความขัดแย้ง การขุดหน้าดินขาย ทำให้เป็นหลุมเป็นบ่อลึก ส่งผลให้สภาพป่าเปลี่ยนแปลงไป ความเจริญที่เข้ามาแทนที่ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้เห็นถึงคุณค่าของป่าสันทราย รวมถึงความสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวมถึงภัยธรรมชาติ เป็นต้น

พันธุ์ไม้ที่มีป่าสันทราย[แก้]

พันธุ์พืชและพันธุ์ไม้ที่มีการสืบพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน มีหลากหลายชนิด หลากหลายพันธุ์ หากแยกตามประโยชน์ที่ได้รับจากป่า อาจแยกได้ดังนี้

อ้างอิง[แก้]

  1. ป่าชายหาด (Beach forest)องค์การความร่วมมือเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]