ข้ามไปเนื้อหา

ปูเวร์โตปรินเซซา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปูเวร์โตปรินเซซา
นครหนาแน่น
จากบนซ้ายไปล่างขวา: หาดเอเมอรัล, ถ้ำทางทะเล, หมู่บ้างซาบัง, ศาลากลางจังหวัดปาลาวัน, ริมชายฝั่งทะเล
สมญา: 
เมืองในป่า[1]
เมืองของพระเจ้า
เมืองของนกยูงแห่งฟิลิปปินส์
เมืองราชินีแห่งลูซอนตะวันตก
ที่ตั้งในจังหวัดปาลาวัน
ที่ตั้งในจังหวัดปาลาวัน
ประเทศ ฟิลิปปินส์
เขตมีมาโรปา
จังหวัดปาลาวัน (ในทางภูมิศาสตร์)
District3rd District of Palawan
ก่อตั้งค.ศ. 1872
เป็นนคร21 มิถุนายน ค.ศ. 1961
เป็นนครหนาแน่น9 กรกฎาคม ต.ศ. 2007
บารังไกย์66
การปกครอง
 • ประเภทSangguniang Panlungsod
 • นายกเทศมนตรีLucilo R. Bayron
 • สิทธิ์เลือกตั้ง127,664 คน (ค.ศ. 2016)
พื้นที่[2]
 • ทั้งหมด2,381.02 ตร.กม. (919.32 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (ค.ศ. 2015)[3]
 • ทั้งหมด255,116 คน
 • ความหนาแน่น110 คน/ตร.กม. (280 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+8 (PST)
รหัสไปรษณีย์5300
PSGC175316000
ไอดีดี:รหัสโทรศัพท์+63 (0)48
ภูมิอากาศป่าดิบชื้น
ระดับรายได้ระดับที่ 1
เว็บไซต์puertoprincesa.ph

นครปูเวร์โตปรินเซซา (คูโยโนน: Siyudad i'ang Puerto Princesa; ฮีลีไกโนน: Dakbanwa sang Puerto Princesa; ฟิลิปปินส์: Lungsod ng Puerto Princesa; สเปน: Ciudad de Puerto Princesa) เป็นนครหนาแน่นแห่งหนึ่งในประเทศฟิลิปปินส์ ในปี ค.ศ. 2015 มีประชากร 255,116 คน ตั้งอยู่ในจังหวัดปาลาวัน และเป็นนครที่อยู่ทางตะวันตกสุดของประเทศ นครแห่งนี้เป็นนครอิสระ แม้ว่าจะเป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการหลายแห่ง แต่ตัวนครก็ไม่ได้อยู่ในการควบคุมของจังหวัด

ปูเวร์โตปรินเซซาเป็นนครที่ความหนาแน่นน้อยที่สุดของประเทศ แต่เป็นนครที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับที่สอง (2,381.02 ตารางกิโลเมตร (919.32 ตารางไมล์)) รองจากนครดาเบา ปูเวร์โตปรินเซซาเป็นที่ตั้งของหน่วยบัญชาการตะวันตก[4]

ปัจจุบัน ปูเวร์โตปรินเซซาเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม มีรีสอร์ตและร้านอาหารทะเลหลายแห่ง ได้รับการยกย่องว่าเป็นนครที่สะอาดที่สุดของประเทศ

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ตั้งอยู่ทางตอนกลางของเกาะปาลาวัน ติดกับทะเลซูลูทางทิศตะวันออก ติดกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ติดกับเทศบาลซันบีเซนเตและโรซัสทางทิศเหนือ และติดกับเทศบาลอาโบร์ลันทางทิศใต้ อยู่ห่างจากมะนิลา 306 ไมล์ทะเล (567 กิโลเมตร), ห่างจากเกาะปาไนย์ 205 ไมล์ทะเล (380 กิโลเมตร) และห่างจากซัมบวงกาซิตี 250 ไมล์ทะเล (460 กิโลเมตร)

ภูมิอากาศ

[แก้]
ข้อมูลภูมิอากาศของปูเวร์โตปรินเซซา
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 30.7
(87.3)
31.2
(88.2)
32.0
(89.6)
32.9
(91.2)
32.5
(90.5)
31.3
(88.3)
30.9
(87.6)
30.9
(87.6)
30.9
(87.6)
31.0
(87.8)
30.9
(87.6)
30.7
(87.3)
31.33
(88.39)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 26.8
(80.2)
26.9
(80.4)
27.7
(81.9)
28.6
(83.5)
28.5
(83.3)
27.6
(81.7)
27.2
(81)
27.2
(81)
27.2
(81)
27.2
(81)
27.2
(81)
27.1
(80.8)
27.43
(81.38)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 22.7
(72.9)
22.6
(72.7)
23.2
(73.8)
24.2
(75.6)
24.5
(76.1)
23.9
(75)
23.4
(74.1)
23.4
(74.1)
23.4
(74.1)
23.4
(74.1)
23.4
(74.1)
23.3
(73.9)
23.45
(74.21)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 30.7
(1.209)
16.7
(0.657)
37.2
(1.465)
42.4
(1.669)
142.4
(5.606)
184.2
(7.252)
177.6
(6.992)
183.6
(7.228)
196.4
(7.732)
210.0
(8.268)
205.2
(8.079)
137.4
(5.409)
1,563.8
(61.567)
ความชื้นร้อยละ 83 81 79 80 82 85 86 86 86 87 86 86 83.9
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 0.10 mm) 4 2 4 5 12 15 16 17 16 16 14 9 130
แหล่งที่มา: PAGASA[5]

การขนส่ง

[แก้]
ท่าอากาศยานนานาชาติปูเวร์โตปรินเซซา

ทางอากาศ

[แก้]

ท่าอากาศยานนานาชาติปูเวร์โตปรินเซซาตั้งอยู่ในตัวเมือง ให้บริการเที่ยวบินไปยังมะนิลา, เซบูซิตี, ดาเบา, อีโลอีโลซิตี และคลาร์ก นอกจากนี้ให้บริการเที่ยวบินภายในเกาะอีกด้วย

ทางทะเล

[แก้]

ท่าเรือปูเวร์โตปรินเซซา ให้บริการเรือข้ามฟากไปยังคูโย, มะนิลา, โคโรน และอีโลอีโล

ทางบก

[แก้]

การขนส่งทางบกที่สำคัญ ได้แก่ รถสามล้อเครื่อง, รถจี๊ปนีย์, รถตู้เช่า และรถแท็กซี่ (ให้บริการตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 2015) และมีรถโดยสารภายในจังหวัด ให้บริการที่สถานีขนส่งซันโฮเซ ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือ 7 กิโลเมตร

เมืองพี่น้องและเมืองฝาแฝด

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Puerto Princesa: The Philippines' Cleanest and Greenest City เก็บถาวร 2013-01-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน September 12, 2012
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-10. สืบค้นเมื่อ 2018-04-05.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-12. สืบค้นเมื่อ 2018-04-05.
  4. Sea Tensions Deepen With China's Rise June 7, 2012
  5. "Climatological Normals of the Philippines (1951-1985) (PAGASA 1987)" (PDF). PAGASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-05-16. สืบค้นเมื่อ 18 April 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]