ปัญหาวิถีสั้นสุด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิถีสั้นสุดบนกราฟไม่ระบุทิศทางที่ไม่ถ่วงน้ำหนักระหว่างจุดยอด 6 กับ 1 คือ (6, 4, 5, 1)

ในทฤษฎีกราฟ ปัญหาวิถีสั้นสุด (อังกฤษ: shortest path problem)​ เป็นปัญหาที่ต้องการหาวิถีสั้นสุดระหว่างจุดยอด 2 จุดภายในกราฟ กล่าวคือในวิถีสั้นสุดนั้น ผลรวมของน้ำหนักในเส้นเชื่อมแต่ละเส้นรวมกันแล้วน้อยที่สุดในบรรดาวิถีทั้งหมด ตัวอย่างปัญหานี้เช่นการหาวิธีเดินทางจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งในแผนที่ ในกรณีนี้ จุดยอดแทนด้วยสถานที่ต่างๆ ส่วนเส้นเชื่อมแทนด้วยถนนหรือเส้นทาง และน้ำหนักบนเส้นเชื่อมแทนด้วยเวลาในการเดินทางด้วยถนนหรือเส้นทางนั้นๆ

นิยาม[แก้]

ปัญหาวิถีสั้นสุดอาจแตกต่างกันออกไป ตามแต่ประเภทของกราฟที่กำลังจะดำเนินการ เช่น กราฟระบุทิศทาง/กราฟไม่ระบุทิศทาง/กราฟผสม หรือ กราฟถ่วงน้ำหนัก/กราฟไม่ถ่วงน้ำหนัก เป็นต้น วิถีสั้นสุดจากจุดยอด u ไป v คือวิถีที่มีจุดเริ่มต้นที่ u และจบที่ v โดยที่ผลรวมของน้ำหนักในวิถีนั้นน้อยที่สุดในบรรดาวิถีทั้งหมดจาก u ไป v สำหรับกราฟไม่ถ่วงน้ำหนัก นิยามให้วิถีสั้นสุดคือวิถีที่มีเส้นเชื่อมน้อยที่สุด

โดยทั่วไป ปัญหาวิถีสั้นสุดจะกำหนดจุดยอด u และ v มาให้และให้หาวิถีสั้นสุดระหว่างจุดยอดทั้งคู่ เรียกปัญหานี้ว่าปัญหาวิถีสั้นสุดแบบคู่เดียว นอกจากนี้ยังมีปัญหาวิถีสั้นสุดอยู่ด้วยกันอีก 3 รูปแบบ คือ

  • ปัญหาวิถีสั้นสุดแบบแหล่งต้นทางเดียว เป็นปัญหาที่ต้องการหาวิถีสั้นสุดจากจุดยอด v ไปจุดยอดอื่นๆทั้งหมดในกราฟ
  • ปัญหาวิถีสั้นสุดแบบแหล่งปลายทางเดียว เป็นปัญหาที่ต้องการหาวิถีสั้นสุดจากจุดยอดทั้งหมดมาที่จุดยอด v ปัญหานี้ในกรณีของกราฟไม่ระบุทิศทางสามารถแก้ได้ทันทีโดยมองปลายทางเป็นต้นทาง แล้วแก้ไขปัญหาวิถีสั้นสุดแบบแหล่งต้นทางเดียวแทน ในกรณีกราฟระบุทิศทางก็สามารถลดรูปปัญหามาเป็นปัญหาวิถีสั้นสุดแบบแหล่งต้นทางเดียวได้เช่นกัน โดยกลับเส้นเชื่อมจากจุดยอด a ไป b เป็น b ไป a ก่อน แล้วแก้ไขปัญหาวิถีสั้นสุดแบบแหล่งต้นทางเดียวจาก v แทน
  • ปัญหาวิถีสั้นสุดแบบทุกคู่ เป็นปัญหาที่ต้องการหาวิถีสั้นสุดจาก u ไป v สำหรับทุกๆจุดยอด u , v ภายในกราฟ

สังเกตว่าปัญหาแต่ละรูปแบบสามารถแก้ได้โดยการแก้ปัญหาวิถีสั้นสุดแบบคู่เดียวหลายๆครั้ง อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาในแต่ละรูปแบบมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไปซึ่งทำให้มีประสิทธิภาพมากกว่าการแก้ปัญหาปัญหาวิถีสั้นสุดแบบคู่เดียวหลายๆครั้ง

อันที่จริง ณ ปัจจุบัน ยังไม่มีขั้นตอนวิธีใดที่กรณีเลวร้ายสุดสามารถแก้ปัญหาวิถีสั้นสุดแบบคู่เดียวโดยที่มีประสิทธิภาพด้านเวลามากกว่าปัญหาวิถีสั้นสุดแบบแหล่งต้นทางเดียวได้[1] ดังนั้นเมื่อต้องการแก้ปัญหาวิถีสั้นสุดแบบคู่เดียว โดยทั่วไปก็จะแก้ปัญหาวิถีสั้นสุดแบบแหล่งต้นทางเดียวจนได้คำตอบที่ต้องการและจบขั้นตอนวิธี อย่างไรก็ตาม สำหรับกราฟพิเศษบางประเภทสามารถแก้ปัญหาวิถีสั้นสุดแบบคู่เดียวโดยการคำนวณล่วงหน้าได้ เช่น กราฟต้นไม้ กราฟเส้นตรง กราฟวัฏจักรเดียว เป็นต้น[ต้องการอ้างอิง]

ขั้นตอนวิธี[แก้]

ขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหาวิถีสั้นสุด จะใช้แนวคิดของการการคลายเส้นเชื่อม (relaxation) นั่นคือขณะเริ่มต้น คำตอบวิถีสั้นสุดจะยังไม่ถูกต้อง เส้นเชื่อม e จะเรียกว่า ตึง (tense) ถ้าสามารถใช้ e แล้วทำให้มีวิถีที่น้ำหนักรวมร้อยกว่าคำตอบที่มีอยู่ ดังนั้นขั้นตอนวิธีแก้ปัญหาวิถีสั้นสุดก็จะทำการคลายเส้นเชื่อมที่ตึง นั่นคือใช้เส้นเชื่อมที่ตึงเพื่อให้ได้คำตอบของวิถีสั้นสุดที่ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายเมื่อไม่พบเส้นเชื่อมที่ตึงก็แปลว่าวิถีที่ได้เป็นวิถีสั้นสุดแล้ว[2]

ปัญหาวิถีสั้นสุดมองแต่เพียงการไปถึงได้ของจุดยอดต่างๆเท่านั้น ดังนั้นสำหรับกราฟไม่ระบุทิศทางจึงสามารถแปลงเป็นกราฟระบุทิศทางได้ โดยการเปลี่ยนเส้นเชื่อมไม่มีทิศทาง เป็นเส้นเชื่อมมีทิศทาง 2 เส้นที่มีทิศทั้งไปและกลับ

สำหรับกราฟไม่ถ่วงน้ำหนัก จากนิยามที่กำหนดให้วิถีสั้นสุดคือมีจำนวนเส้นเชื่อมในวิถีน้อยที่สุด ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าเส้นเชื่อมทุกเส้นมีความสำคัญเท่ากัน กล่าวคือกราฟไม่ถ่วงน้ำหนักจะเทียบเท่ากับกราฟถ่วงน้ำหนักที่เส้นเชื่อมทุกเส้นมีน้ำหนักเท่ากันและไม่เป็นลบ ตัวอย่างเช่นกราฟถ่วงน้ำหนักหนึ่งหน่วย (unit-weight graph) เป็นต้น[2]

ขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหาที่ได้รับความนิยมและสำคัญมีดังนี้

ขั้นตอนวิธีอื่นๆและการนำมาใช้งานในรูปแบบต่างๆอาจหาได้ที่ Cherkassky et al[3]

ปัญหาวิถีสั้นสุดแบบแหล่งต้นทางเดียว[แก้]

ปัญหาวิถีสั้นสุดแบบแหล่งต้นทางเดียวเป็นปัญหาที่ต้องการหาวิถีสั้นสุดจากจุดยอด v ไปจุดยอดอื่นๆทั้งหมดในกราฟ ได้ต้นไม้วิถีสั้นสุดออกมาเป็นผลลัพธ์

กราฟถ่วงน้ำหนักหนึ่งหน่วย[แก้]

กราฟอวัฏจักรระบุทิศทางสำหรับเส้นเชื่อมน้ำหนักใดๆ[แก้]

กราฟที่ไม่มีเส้นเชื่อมน้ำหนักติดลบ[แก้]

ขั้นตอนวิธี ความซับซ้อนทางด้านเวลา ผู้คิดค้น
O(V4) Shimbel 1955
O(V2EL) Ford 1956
ขั้นตอนวิธีของเบลแมน-ฟอร์ด O(VE) Bellman 1958, Moore 1959
O(V2 log V) Dantzig 1958, Dantzig 1960, Minty (cf. Pollack & Wiebenson 1960), Whiting & Hillier 1960
ขั้นตอนวิธีของไดค์สตรา O(V2) Leyzorek et al. 1957, Dijkstra 1959
... ... ...
ขั้นตอนวิธีของไดค์สตราพร้อมใช้ฮีปฟีโบนัชชี O(E + V log V) Fredman & Tarjan 1984, Fredman & Tarjan 1987
O(E log log L) Johnson 1982, Karlsson & Poblete 1983
Gabow's algorithm O(V logE/V L) Gabow 1983b, Gabow 1985b
O(E + V√log L) Ahuja et al. 1990

กราฟเชิงระนาบที่ไม่มีเส้นเชื่อมน้ำหนักติดลบ[แก้]

กราฟสำหรับเส้นเชื่อมน้ำหนักใดๆ[แก้]

กราฟเชิงระนาบสำหรับเส้นเชื่อมน้ำหนักใดๆ[แก้]

ปัญหาวิถีสั้นสุดแบบทุกคู่[แก้]

กราฟสำหรับเส้นเชื่อมน้ำหนักใดๆ[แก้]

การนำไปใช้งาน[แก้]

ปัญหาที่เกี่ยวข้อง[แก้]

การมองด้วยกำหนดการเชิงเส้น[แก้]

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

บรรณานุกรม[แก้]

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Frigioni, D.; Marchetti-Spaccamela, A.; Nanni, U. (1998). "Fully dynamic output bounded single source shortest path problem". Proc. 7th Annu. ACM-SIAM Symp. Discrete Algorithms. Atlanta, GA. pp. 212–221. CiteSeerX 10.1.1.32.9856.
  • Dreyfus, S. E. (October 1967). An Appraisal of Some Shortest Path Algorithms (PDF) (Report). Project Rand. United States Air Force. RM-5433-PR. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ November 17, 2015. DTIC AD-661265.