ปอร์ฟิริโอ ดิอัซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ปอร์ฟิริโอ ดีอัซ)
ปอร์ฟิริโอ ดิอัซ
ประธานาธิบดีเม็กซิโกคนที่ 29
ดำรงตำแหน่ง
1 ธันวาคม 1884 – 25 พฤษภาคม 1911
รองประธานาธิบดีรามอน กอร์รัล
ก่อนหน้ามานูเอล กอนซาเลซ โฟลเรส
ถัดไปฟรันซิสโก เลออน เด ลา บาร์รา
ดำรงตำแหน่ง
17 กุมภาพันธ์ 1877 – 1 ธันวาคม 1880
ก่อนหน้าฆวน เอเน. เมนเดซ
ถัดไปมานูเอล กอนซาเลซ โฟลเรส
ดำรงตำแหน่ง
28 พฤศจิกายน 1876 – 6 ธันวาคม 1876
ก่อนหน้าโฆเซ มาริอา อิเกลเซียส
ถัดไปฆวน เอเน. เมนเดซ
ผู้ว่าการรัฐวาฮากา
ดำรงตำแหน่ง
1 ธันวาคม 1882 – 3 มกราคม 1883
ก่อนหน้าโฆเซ มาเรียโน ฆิเมเนซ
ถัดไปโฆเซ มาเรียโน ฆิเมเนซ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนา การอาณานิคม และอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
1 ธันวาคม 1880 – 27 มิถุนายน 1881
ประธานาธิบดีมานูเอล กอนซาเลซ โฟลเรส
ก่อนหน้าบิเซนเต ริบา ปาลาซิโอ
ถัดไปการ์โลส ปาเชโก บิยาโลโบส
ผู้ว่าการเฟเดอรัลดิสตริกต์
ดำรงตำแหน่ง
15 มิถุนายน 1867 – 14 สิงหาคม 1867
ก่อนหน้าโตมัส โอโฆรัน
ถัดไปฆวน โฆเซ บัซ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
โฆเซ เด ลา กรุซ ปอร์ฟิริโอ ดิอัซ โมริ

15 กันยายน ค.ศ. 1830(1830-09-15)
วาฮากา รัฐวาฮากา เม็กซิโก
เสียชีวิต2 กรกฎาคม ค.ศ. 1915(1915-07-02) (84 ปี)
ปารีส ฝรั่งเศส
ที่ไว้ศพสุสานมงปาร์นัส ปารีส
พรรคการเมืองพรรคเสรีนิยม
คู่สมรสเดลฟินา ออร์เตกา ดิอัซ (สมรส 1867; เสียชีวิต 1880)
การ์เมน โรเมโร รูบิโอ (สมรส 1881)
บุตรเดโอดาโต ลูกัส ปอร์ฟิริโอ (1875–1946)
ลุซ เอาโรรา บิกโตเรีย (1875–1965)
บุพการีโฆเซ เฟาส์ติโน ดิอัซ
มาริอา เปโตรนา โมริ
วิชาชีพนายทหาร, นักการเมือง
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ เม็กซิโก
สังกัด กองทัพบกเม็กซิโก
ประจำการ1848–1876
ยศพลเอก

โฆเซ เด ลา กรุซ ปอร์ฟิริโอ ดิอัซ โมริ (สเปน: José De La Cruz Porfirio Díaz Mori; 15 กันยายน ค.ศ. 1830 – 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1915) เป็นนายพลและนักการเมืองชาวเม็กซิโกซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเม็กซิโก 7 สมัย รวม 31 ปี ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1877 ถึงวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1880 และตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1884 ถึง 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1911 มักเรียกช่วงเวลาที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีว่า ปอร์ฟิเรียโต[1]

ในฐานะทหารผ่านศึกจากสงครามการปฏิรูป (ค.ศ. 1858–1860) และการแทรกแซงของฝรั่งเศสในเม็กซิโก (ค.ศ. 1862–1867) ดิอัซได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายพล นำกองทัพสาธารณรัฐเข้าต่อต้านการปกครองของจักรพรรดิมัคซีมีลีอานที่ฝรั่งเศสสนับสนุน ต่อมาเขาได้ก่อการกำเริบต่อต้านประธานาธิบดีเบนิโต ฆัวเรซ และเซบัสเตียน เลร์โด เด เตฆาดา ด้วยหลักการที่ไม่ให้มีการเลือกตั้งกลับเข้ามาเป็นประธานาธิบดีอีกสมัย ดิอัซประสบความสำเร็จในการยึดอำนาจและขับไล่เลร์โดในรัฐประหาร ค.ศ. 1876 ด้วยความช่วยเหลือจากผู้สนับสนุนทางการเมืองของเขา และดิอัซได้รับการเลือกตั้งใน ค.ศ. 1877 จากนั้นใน ค.ศ. 1880 เขาก้าวลงจากตำแหน่งและมานูเอล กอนซาเลซ โฟลเรส ซึ่งเป็นพันธมิตรทางการเมืองของเขาได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีโดยดำรงตำแหน่งระหว่าง ค.ศ. 1880–1884 ใน ค.ศ. 1884 ดิอัซละทิ้งแนวคิดที่จะไม่ให้มีการเลือกตั้งกลับเข้ามาเป็นประธานาธิบดี และอยู่ในตำแหน่งต่อเนื่องกันจนถึง ค.ศ. 1911[2]

ดิอัซเป็นหนึ่งในบุคคลที่เป็นประเด็นโต้แย้งในประวัติศาสตร์เม็กซิโก ระบอบการปกครองของเขาทำให้เกิด "ระเบียบและความก้าวหน้า" โดยยุติความปั่นป่วนทางการเมืองและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ ดิอัซและพันธมิตรของเขารวมกันเป็นกลุ่มนักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่รู้จักกันในชื่อ ซิเอนติฟิโก ("นักวิทยาศาสตร์")[3] นโยบายเศรษฐกิจของเขาส่วนใหญ่เอื้อประโยชน์ต่อพันธมิตรเช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติ และช่วยให้เจ้าของที่ดินการเกษตรขนาดใหญ่เพียงไม่กี่รายซึ่งร่ำรวยอยู่แล้วได้รับที่ดินมหาศาล ทำให้ชาวชนบทไม่สามารถหาเลี้ยงชีพได้ ในปีหลัง ๆ นโยบายเหล่านี้ไม่ได้รับความนิยมเนื่องมาจากการกดขี่พลเมืองและความขัดแย้งทางการเมือง ตลอดจนการทักท้วงจากแรงงานและชาวไร่ชาวนาซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับส่วนแบ่งจากความเจริญรุ่งเรืองของเม็กซิโก

แม้ว่าดิอัซจะประกาศสนับสนุนการกลับคืนสู่ประชาธิปไตยและประกาศจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอีกสมัยในแถลงการณ์สาธารณะเมื่อ ค.ศ. 1908 แต่เขาก็กลับคำและลงสมัครอีกครั้งใน ค.ศ. 1910 ความล้มเหลวของดิอัซในการหาผู้สืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดี (ขณะนั้นเขามีอายุ 80 ปีแล้ว) ส่งผลให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองระหว่างกลุ่ม ซิเอนติฟิโก กับกลุ่มผู้สนับสนุนนายพลเบร์นาร์โด เรเยส ซึ่งเป็นพันธมิตรกับทหารและภูมิภาครอบนอกของเม็กซิโก[4] หลังจากที่ดิอัซประกาศตนเองเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสมัยที่แปดใน ค.ศ. 1910 ฟรันซิสโก อี. มาเดโร ผู้สมัครรับเลือกตั้งฝ่ายตรงข้ามซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินผู้มั่งคั่งได้ออกแผนซานลุยส์โปโตซีซึ่งเรียกร้องให้มีการก่อความไม่สงบโดยใช้อาวุธต่อดิอัซ นำไปสู่การปะทุของการปฏิวัติเม็กซิโก หลังจากกองทัพบกสหพันธรัฐประสบความพ่ายแพ้ทางทหารหลายครั้งต่อกองกำลังที่สนับสนุนมาเดโร ดิอัซก็ถูกบังคับให้ลาออกในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1911 และลี้ภัยไปอยู่ปารีสที่ซึ่งเขาเสียชีวิตในอีกสี่ปีต่อมา

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Stevens, D.F. "Porfirio Díaz" in Encyclopedia of Latin American History and Culture, vol. 2, p. 378. New York: Charles Scribner's Sons 1996.
  2. Schell,William Jr. "Politics and Government: 1876–1910" in Encyclopedia of Mexico. Chicago: Fitzroy Dearborn 1997, pp. 1111–1117.
  3. Vaughan, Mary Kay, "Científicos" in Encyclopedia of Latin American History and Culture, vol. 2, p. 155. New York: Charles Scribner's Sons 1996.
  4. Vaughan, "Cientificos", p. 155.

หนังสืออ่านเพิ่มเติม[แก้]

  • Alec-Tweedie, Ethel. The Maker of Modern Mexico: Porfirio Diaz, John Lane Co., 1906.
  • Bancroft, Hubert Howe. Life of Porfirio Díaz, The History Company Publisher, San Francisco, 1887.
  • Beals, Carleton. Porfirio Díaz, Dictator of Mexico, J.B. Lippincott & Company, Philadelphia, 1932.
  • Cosío Villegas, Daniel. The United States Versus Porfirio Díaz.trans. by Nettie Lee Benson. Lincoln: University of Nebraska Press 1963.
  • Creelman, James. Diaz: Master of Mexico (New York 1911) full text online
  • Garner, Paul (2001). Porfirio Díaz. Pearson. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  • Godoy, José Francisco. Porfirio Díaz, President of Mexico, the Master Builder of a Great Commonwealth, G. P. Putnam's Sons, New York, 1910.
  • Katz, Friedrich. "The Liberal Republic and the Porfiriato, 1867-1910" in Mexico Since Independence, Leslie Bethell, ed. Cambridge: Cambridge University Press 1991, pp. 49–124. ISBN 0-521-42372-4
  • Krauze, Enrique (1987). Porfirio Díaz: Místico de la Autoridad. Mexico. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  • Krauze, Enrique, Mexico: Biography of Power. New York: HarperCollins 1997. ISBN 0-06-016325-9
  • Knight, Alan. The Mexican Revolution, Cambridge University Press, Cambridge, 1986. vol. 1
  • López Obrador, Andrés Manuel (2014). Neoporfirismo: Hoy como ayer. Grijalbo. ISBN 9786073123266. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  • Perry, Laurens Ballard. Juárez and Díaz: Machine Politics in Mexico, Northern Illinois University Press, DeKalb, IL, 1978.
  • Roeder, Ralph. Hacia El México Moderno: Porfirio Díaz. México: Fondo de Cultura Económica, 1973.
  • Turner, John Kenneth. Barbarous Mexico.(1910) Austin: University of Texas Press, reprint 1969.
  • Vanderwood, Paul (1970). "Genesis of the Rurales: Mexico's Early Struggle for Public Security". Hispanic American Historical Review. 50 (2): 323–344. doi:10.2307/2513029. JSTOR 2513029. {{cite journal}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)

ปอร์ฟิเรียโต[แก้]

  • Cumberland, Charles C. Mexican Revolution: Genesis Under Madero, University of Texas Press, Austin, 1952.
  • De María y Campos, Alfonso. "Porfirianos prominentes: origenes y años de juventud de ocho integrantes del group de los Científicos 1846–1876", Historia Mexicana 30 (1985), pp. 610–81.
  • González Navarro, Moisés. "Las ideas raciales de los Científicos'. Historia Meixana 37 (1988) pp. 575–83.
  • Hale, Charles A. Justo Sierra. Un liberal del Porfiriato. Mexico: Fondo de Cultura Económica 1997.
  • Hale, Charles A. The Transformation of Liberalism in Late Nineteenth-Century Mexico. Princeton: Princeton University Press 1989.
  • Harris, Charles H. III; Sadler, Louis R. (2009). The Secret War in El Paso: Mexican Revolutionary Intrigue, 1906–1920. Albuquerque, NM: University of New Mexico Press. ISBN 978-0-8263-4652-0. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  • Hart, John Mason. Revolutionary Mexico: The Coming and Process of the Mexican Revolution, University of California Press, Berkeley, 1989.
  • Priego, Natalia. Positivism, Science, and 'The Scientists' in Porfirian Mexico. Liverpool: Liverpool University Press 2016.
  • Raat, William. "The Antiposivitist Movement in Pre-Revolutionary Mexico, 1892–1911", Journal of Inter-American Studies and World Affairs, 19 (1977) pp. 83–98.
  • Raat, William. "Los intelectuales, el Positivismo y la cuestión indígena". Historia Mexicana 20 (1971), pp. 412–27.
  • Villegas, Abelardo. Positivismo y Porfirismo. Mexico: Secreatria de Educación Pública, Col Sepsetentas 1972.
  • Zea, Leopoldo, El Positivismo en México. Nacimiento apogeo y decadenica. Mexico: Fondo de Cultura Económica 1968.

ประวัติศาสตร์นิพนธ์[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]