บิเซนเต ฟอกซ์
บิเซนเต ฟอกซ์ | |
---|---|
![]() ภาพถ่ายอย่างเป็นทางการของฟอกซ์ในปี พ.ศ. 2543 | |
ประธานาธิบดีเม็กซิโกคนที่ 62 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ธันวาคม พ.ศ. 2543 – 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 | |
ก่อนหน้า | เอร์เนสโต เซดิโย |
ถัดไป | เฟลิเป กัลเดรอน อิโนโฆซา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 รัฐกัวนาฮัวโต ประเทศเม็กซิโก |
พรรคการเมือง | พรรคก้าวหน้า (พีเอเอ็น) |
คู่สมรส | มาริตา ซาฆากุน |
บุตร | 4 คน |
บิเซนเต ฟอกซ์ กูเอซซาดา (สเปน: Vicente Fox Quesada; 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 –) เป็นนักธุรกิจและนักการเมืองชาวเม็กซิโกซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 62 ของประเทศตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2543 จนถึง 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 เขาคือประธานาธิบดีของเม็กซิโกคนแรกที่ไม่ได้มาจากพรรคปฏิวัติแห่งชาติเม็กซิโก (พีอาร์ไอ) นับตั้งแต่ พ.ศ. 2472 โดยเขานั้นสังกัดพรรคก้าวหน้าเม็กซิโก (พีเอเอ็น) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองฝ่ายขวา[1][2][3][4]
ฟอกซ์ดำเนินนโยบายแบบการเมืองฝ่ายขวาเริ่มนำระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่มาใช้ในประเทศ รัฐบาลของเขามีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับสหรัฐในสมัยของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช[5]ซึ่งแตกต่างจากรัฐบาลก่อนหน้าในเม็กซิโกที่มีจุดยืนที่ขัดแย้งกับสหรัฐมาโดยตลอด รัฐบาลของเขาประสบความล้มเหลวในความพยายามเพิ่มภาษีเภสัชรวมถึงการสร้างสนามบินในภูมิภาคเต็กซ์โกโก[6][7] นอกจากนี้เขายังขัดแย้งกับประเทศคิวบาภายใต้การนำของฟิเดล กัสโตร อีกด้วย[8] การลอบสังหารดิกนา โอชัวซึ่งเป็นทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนใน พ.ศ. 2544 ทำให้รัฐบาลของเขาถูกตั้งคำถามในเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชนและความพยายามที่จะกำจัดมรดกของพรรคพีอาร์ไอ
ก่อนที่รัฐบาลของเขาจะหมดวาระไม่นาน เขาได้มีความขัดแย้งกับอันเดรส มานูเอล โลเปซ โอบราดอร์ประธานาธิบดีเม็กซิโกคนที่ 65 ซึ่งขณะนั้นโอบราดอร์ยังดำรงตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรีของเม็กซิโกซิตี โดยฟอกซ์และรัฐบาลพยายามถอดถอนโอบราดอร์ออกจากตำแหน่งนายกเทศมนตรีและขัดขวางไม่ให้โอบราดอร์ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปของประเทศในปี พ.ศ. 2549[9][10] นอกจากนี้ รัฐบาลของฟอกซ์ยังมีปัญหาขัดแย้งทางการทูตระหว่างประเทศเวเนซุเอลาและประเทศโบลิเวียอันเนื่องมาจากการสนับสนุนให้สร้างเขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกาซึ่งถูกคัดค้านโดยรัฐบาลของทั้งสองประเทศ[11][12] ใน พ.ศ. 2549 พรรคพีเอเอ็นซึ่งนำโดยเฟลิเป กัลเดรอน อิโนโฆซาชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีซึ่งคะแนนนำโอบราดอร์เพียงเล็กน้อย โดยการเลือกตั้งครั้งนั้นถูกมองว่ามีการทุจริตจึงทำให้ประชาชนออกมาประท้วงทั้งประเทศ และในปีเดียวกันนั้นเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในรัฐวาฮากาซึ่งเป็นการประท้วงเพื่อขับไล่อูเอซิส รูอีซ ออร์ติสซึ่งเป็นผู้ว่าการรัฐวาฮากาในช่วงเวลานั้น[13] รวมถึงยังเกิดการจลาจลที่ซานซัลบาดอร์อาเนโกซึ่งทำให้รัฐบาลของเขาถูกตัดสินโดยศาลสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในทวีปอเมริกาว่ามีความผิดฐานละเมิดสิทธิมนุษยนชจากการปราบปรามผู้ประท้วงอย่างรุนแรงซึ่งความไม่สงบเหล่านี้ส่งผลให้ฟอกซ์เสียคะแนนความนิยมไปมาก[14] อย่างไรก็ตามเขาได้รับการยอมรับในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศและลดอัตราความยากจนของประเทศเม็กซิโกลงจากร้อยละ 43.7 ในปี พ.ศ. 2543 ลดลงเหลือร้อยละ 35.6 ในปี พ.ศ. 2549[15]
เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2546 ฟอกซ์เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาลและเข้าร่วมการะประชุมเอเปคในปี พ.ศ. 2546 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ[16] ซึ่งในขณะนั้นนายกรัฐมนตรีของไทยคือทักษิณ ชินวัตร
หลังจากที่เขาลงจากตำแหน่งประธานาธิบดี เขาได้กลับไปยังรัฐกัวนาฮัวโตอันเป็นบ้านเกิดของเขา เขามีส่วนร่วมในการพัฒนาศูนย์การศึกษา ห้องสมุด และพิพิธภัณฑ์บิเซนเต ฟอกซ์ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐกัวนาฮัวโต เขายังเคยดำรงตำแหน่ประธานศูนย์กลางประชาธิปไตยนานาชาติ (ซีดีไอ)[17] ซึ่งเป็นสมาคมของพรรคการเมืองฝ่ายขวากลางระดับนานาชาติ ต่อมาฟอกซ์ถูกขับออกจากพรรคพีเอเอ็นใน พ.ศ. 2556 หลังจากการรับรองการสมัครลงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรคพีอาร์ไอในการเลือกตั้งทั่วไปของประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2555[18]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Vincent Mosco; Dan Schiller (2001). Continental Order?: Integrating North America for Cybercapitalism. Rowman & Littlefield Publishers. p. 111. ISBN 9780742509542.
- ↑ Charles Hauss (1 January 2018). Comparative Politics: Domestic Responses to Global Challenges. p. 391. ISBN 9781337554800.
- ↑ "El populismo de derecha" (ภาษาสเปน). Proceso. 10 September 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 July 2019. สืบค้นเมื่อ 4 March 2018.
- ↑ "Revolución en México". El País (ภาษาสเปน). 4 July 2000. สืบค้นเมื่อ 4 March 2018.
- ↑ "Con Estados Unidos a una sana distancia". The Washington Post. 3 March 2006. สืบค้นเมื่อ 2 May 2010.
- ↑ "Vicente Fox's rocky first year as president of Mexico". The San Diego Union-Tribune. 13 December 2001. สืบค้นเมื่อ 10 March 2018.
- ↑ "La Jornada Virtu@l". jornada.com.mx. n.d. สืบค้นเมื่อ 4 February 2019.
- ↑ "Cuba - Castaneda - Mexico - Castro - Worldpress.org". worldpress.org. n.d. สืบค้นเมื่อ 4 February 2019.
- ↑ Editorial Desk (7 April 2005). "Let Mexico's Voters Decide". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 April 2005. สืบค้นเมื่อ 16 June 2008.
- ↑ Editorial desk (6 April 2005). "Decision on Democracy". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2012. สืบค้นเมื่อ 15 February 2019.
- ↑ O'Grady, Mary Anastasia. Why Fox's Outrage? Chavez's Meddling in Mexico. The Wall Street Journal. (Eastern edition). New York, N.Y.: 18 November 2005. pg. A.17
- ↑ "Chavez renews trade pact attack". 20 November 2005. สืบค้นเมื่อ 15 February 2019 – โดยทาง news.bbc.co.uk.
- ↑ Diana Denham and the C.A.S.A. Collective, บ.ก. (2010). Teaching Rebellion: Stories from the Grassroots Mobilization in Oaxaca.
- ↑ "Historic Judgment of Inter-American Court Orders Mexico to Punish Repression and Torture in Atenco". CEJIL. 21 December 2018. สืบค้นเมื่อ 7 May 2022.
- ↑ "Solidaridad, Oportunidades y Prospera no disminuyeron la pobreza". Milenio (ภาษาสเปน). 7 July 2015. สืบค้นเมื่อ 9 March 2018.
- ↑ "History of diplomatic relations between Mexico and Thailand (in Spanish)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2023-03-17.
- ↑ "Who's Who". cdi-idc.com. CDI-IDC. n.d. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 December 2013. สืบค้นเมื่อ 4 February 2019.
- ↑ [archivo.eluniversal.com.mx/nacion/203190.html archivo.eluniversal.com.mx/nacion/203190.html]