ปลาเห็ดโคน
ปลาเห็ดโคน ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 33.9–0Ma สมัยโอลิโกซีนตอนต้นถึงปัจจุบัน[1] | |
---|---|
Sillago parvisquamis | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | ปลาที่มีก้านครีบ Actinopterygii |
อันดับ: | อันดับปลากะพง Perciformes |
วงศ์: | Sillaginidae Sillaginidae |
สกุล: | ปลาเห็ดโคน Sillago G. Cuvier, 1817 |
ชนิดต้นแบบ | |
Sillago acuta Cuvier, 1817 |
ปลาเห็ดโคน หรือ ปลาซ่อนทราย หรือ ปลาบุรุด[2] เป็นชื่อสามัญของปลาทะเลกระดูกแข็งในสกุล Sillago (/ซิล-ลา-โก/) ในวงศ์ปลาเห็ดโคน (Sillaginidae) เป็นปลาขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร มีส่วนหัวหลิม ลําตัวกลมยาวเรียวแบนข้างเล็กน้อย ลําตัวสีนํ้าตาลอ่อน หลังมีสีเข้มกว่าหรือสีเทา บางชนิดมีแต้มสีเข้มกว่าเรียงเป็นแถวอยู่ข้างลําตัวหรือพาดอยู่บนสันหลัง เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง มีพฤติกรรมไซ้ทรายหรือโคลนบริเวณแหล่งที่อยู่เพื่อหากินและหลบซ่อนตัว อันเป็นที่มาของชื่อ โดยพบบริเวณใกล้ชายฝั่ง ปากแม่น้ำ พงหญ้าทะเล หรือป่าชายเลน[3]
การจำแนก
[แก้]คำว่า Sillago เชื่อว่ามาจากชื่อท้องถิ่นในออสเตรเลีย เป็นไปได้มาจากแนวปะการังซิลลาโกใกล้เกาะวิตซันเดย์ในรัฐควีนส์แลนด์[4]
ปลาเห็ดโคนแบ่งออกได้เป็น 31 ชนิด กระจายพันธุ์ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่ชายฝั่งแอฟริกาจนถึงญี่ปุ่น และพบไกลถึงออสเตรเลีย
- Sillago aeolus Jordan & Evermann, 1902 (ปลาเห็ดโคนจุด)
- Sillago analis Whitley, 1943
- Sillago arabica McKay & McCarthy, 1989
- Sillago argentifasciata Martin & Montalban, 1935
- Sillago asiatica McKay, 1982
- Sillago attenuata McKay, 1985
- Sillago bassensis Cuvier, 1829
- Sillago boutani Pellegrin, 1905
- Sillago burrus Richardson, 1842
- Sillago caudicula Kaga, Imamura, Nakaya, 2010
- Sillago ciliata Cuvier, 1829
- Sillago erythraea Cuvier, 1829
- Sillago flindersi McKay, 1985
- Sillago indica McKay, Dutt & Sujatha, 1985
- Sillago ingenuua McKay, 1985
- Sillago intermedius Wongratana, 1977 (อาจจะเป็นชนิดเดียวกันกับ S. maculata[3])
- Sillago japonica Temminck & Schlegel, 1843
- Sillago lutea McKay, 1985
- Sillago maculata Quoy & Gaimard, 1824 (อาจจะเป็นชนิดเดียวกันกับ S. intermedius[3])
- Sillago megacephalus Lin, 1933
- Sillago microps McKay, 1985
- Sillago nierstraszi Hardenberg, 1941
- Sillago parvisquamis Gill, 1861
- Sillago robusta Stead, 1908
- Sillago schomburgkii Peters, 1864
- Sillago sihama Forsskål, 1775 (ปลาเห็ดโคน, ปลาช่อนทรายแก้ว)
- Sillago sinica Gao, Ji, Xiao, Xue, Yanagimoto & Setoguma, 2011
- Sillago soringa Dutt & Sujatha, 1982
- Sillago suezensis Golani, Fricke & Tikochinski, 2013 [5]
- Sillago vincenti McKay, 1980
- Sillago vittata McKay, 1985
เป็นปลาที่นิยมใช้บริโภค สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากหลาย เช่น ทอดกระเทียม แกงป่า หรือต้มยำ และเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Sepkoski, J.J.Jr (2002): A Compendium of Fossil Marine Animal Genera. เก็บถาวร 2012-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Bulletins of American Paleontology, 363: 1-560.
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : บริษัท ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน), 2556. 1,544 หน้า. หน้า 396. ISBN 978-616-7073-56-9
- ↑ 3.0 3.1 3.2 McKay, R.J. (1992). FAO Species Catalogue: Vol. 14. Sillaginid Fishes Of The World (PDF). Rome: Food and Agricultural Organisation. pp. 19–20. ISBN 92-5-103123-1.
- ↑ Great Barrier Reef Marine Park Authority. "Whitsunday Plan of Management Area boundary map" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2016-06-08.
- ↑ Golani, D., Fricke, R. & Tikochinski, Y. (2013): Sillago suezensis, a new whiting from the northern Red Sea, and status of Sillago erythraea Cuvier (Teleostei: Sillaginidae). Journal of Natural History, 48 (7-8) [2014]: 413-428.
- ↑ "ปลาทรายทอดกระเทียม". mesalim.com. 21 August 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-31. สืบค้นเมื่อ 8 June 2016.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ปลาเห็ดโคน
- ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ ปลาเห็ดโคน ที่วิกิสปีชีส์