ข้ามไปเนื้อหา

ปลาหมู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปลาหมู เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่งในวงศ์ปลาหมู (Botiidae) ในชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Botia มีรูปร่างโดยรวม คือ ป้อมสั้น เกล็ดมีขนาดเล็กละเอียด นัยน์ตาไม่มีหนังปกคลุม ใต้นัยน์ตามีเงี่ยงแข็งปลายสองแฉกอยู่หนึ่งชิ้น ซึ่งเมื่อกางออกมาแล้วจะตั้งฉากกับแก้ม จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่หน้าหรือตรงข้ามกับจุดเริ่มต้นของครีบท้อง มีหนวดที่ปลายจะงอยปากสองคู่ และหนวดที่มุมปากบนอีกหนึ่งคู่รวมเป็นสามคู่ ครีบหางเว้าลึกเป็นแฉก

พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่อนุทวีปอินเดียจนถึงเอเชียอาคเนย์และทางตอนใต้ของจีน หากินตามพื้นท้องน้ำ โดยอยู่รวมเป็นฝูงในแหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำค่อนข้างดี มีปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำสูง ได้แก่ อินทรียสาร ซากพืช ซากสัตว์ ตลอดจนแมลงน้ำและสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ[2]

เดิมปลาในสกุลนี้เคยถูกรวมกันเป็นสกุลใหญ่ แต่ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 21 นักมีนวิทยาได้ทำการอนุกรมวิธานใหม่ จนได้มีการแยกสกุลออกไปเป็นสกุลใหม่อีกสามสกุล คือ Chromobotia (มีเพียงชนิดเดียว คือ ปลาหมูอินโด), Syncrossus (ปลาหมูลายเสือ) และ Yasuhikotakia (ปลาหมูขนาดเล็กที่พบได้ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำโขง) ส่วนสกุล Botia นี้จะเหลือเพียงแต่ปลาที่พบในอนุทวีปอินเดียจนถึงพม่า[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Botia". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
  2. หน้า 200 หนังสือสาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย โดย สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ พ.ศ. 2547 ISBN 974-00-8701-9
  3. เอกสารดาวน์โหลด

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ ปลาหมู ที่วิกิสปีชีส์