ข้ามไปเนื้อหา

ปลาราฟิโอดอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาราฟิโอดอน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Characiformes
วงศ์: Cynodontidae
วงศ์ย่อย: Cynodontinae
สกุล: Rhaphiodon
Agassiz, 1829
สปีชีส์: R.  vulpinus
ชื่อทวินาม
Rhaphiodon vulpinus
Agassiz, 1829
ชื่อพ้อง

ปลาราฟิโอดอน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhaphiodon vulpinus) ​เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งอยู่ในวงศ์ปลาฟันสุนัข (Cynodontidae) ในอันดับปลาคาราซิน (Characiformes) มีรูปร่างภายนอกเหมือนปลาฝักพร้า (Macrochirichthys macrochirus) มาก ซึ่งเป็นปลาคนละวงศ์ และคนละอันดับ และเป็นปลาที่พบกันคนละทวีปด้วย ซึ่งเป็นผลของการวิวัฒนาการเข้าหากัน เว้นแต่ปลาราฟิโอดอนจะมีครีบไขมัน ซึ่งปลาฝักพร้าไม่มี แต่มีพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกัน มีลักษณะลำตัวยาวและแบนข้างมาก ท้องเป็นสันแคบ ตาโต ปากกว้างเฉียงขึ้นด้านบน ลำตัวสีเงินแวววาว ครีบใส ครีบอกใหญ่และยาวแหลม ครีบท้องและครีบหลังเล็ก แต่ครีบก้นมีฐานครีบยาว ครีบหางเล็กและไม่แยกเป็นสองแฉก มีครีบไขมัน ภายในปากจะเห็นฟันเป็นซี่ ๆ แหลมคมจำนวนมาก

เป็นปลาเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Rhaphiodon (โดย Rhaphiodon มาจากภาษากรีกคำว่า rhaphis (ραφής) หมายถึง "เข็ม", odous (οδούς) หมายถึง "ฟัน" และ vulpinus เป็นภาษาละตินหมายถึง "หมาจิ้งจอก"[1]) มีพฤติกรรมนิยมอยู่รวมเป็นฝูง ออกล่าเหยื่อเป็นปลาขนาดเล็กบริเวณผิวน้ำ ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 70 เซนติเมตร

พบในแม่น้ำอเมซอนและลำน้ำสาขา ในเปรู, ปารากวัย, อุรุกวัย และกายอานา มีชื่อเรียกกันในท้องถิ่นว่า เบียอาร่า (Biara)

ใช้เป็นปลาบริโภคในท้องถิ่นและตกเป็นเกมกีฬา นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามราคาแพง โดยถูกนำเข้ามาจำหน่ายพร้อมกับปลาสคอมบิรอยด์ (Hydrolycus scomberoides) ซึ่งพฤติกรรมในตู้เลี้ยงพบว่า มีนิสัยขี้ตกใจมาก[2]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Reuberger, A. L., E. E. Marques, C. S. Agostinho and R. J. de Oliveira , 2007 - Neotropical Ichthyology 5(4): 479-484 Reproductive biology of Rhaphiodon vulpinus (Ostariophysi: Cynodontidae) in the Tocantins River Basin, Brazil.
  2. Rof, Hydrolycus หมาป่าวารีแห่งอเมซอน VS Hydrocynus สุนัขน้ำแห่งแอฟริกา คอลัมน์ Wild Ambition หน้า 44 นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับที่ 11 ปีที่ 1: พฤษภาคม 2011

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]