ปลาปักเป้าหนามทุเรียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาปักเป้าหนามทุเรียน
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 55–0Ma
อีโอซีนยุคต้นถึงปัจจุบัน[1]
ปลาปักเป้าหนามทุเรียนหนามยาว (D. holocanthus)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Tetraodontiformes
วงศ์: Diodontidae
สกุล: Diodon
Linnaeus, 1758
ชนิด
5 ชนิด (ดูในเนื้อหา)
ชื่อพ้อง[2]

ปลาปักเป้าหนามทุเรียน (อังกฤษ: Porcupinefishes, Balloonfishes) เป็นสกุลของปลากระดูกแข็งในอันดับปลาปักเป้า (Tetraodontiformes) ในวงศ์ปลาปักเป้าฟัน 2 ซี่ (Diodontidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Diodon (/ได-โอ-ดอน/)

ปลาปักเป้าหนามทุเรียนนั้น มีรูปร่างคล้ายปลาปักเป้าทั่วไป แต่มีรูปร่างเพรียวยาว หนังหยาบหนา และมีหนามแข็งชี้ไปข้างท้ายลำตัวตลอดทั้งตัว ซึ่งหนามนี้จะตั้งแข็งตรงเมื่อพองตัวกลมคล้ายลูกบอล เพื่อใช้ในการป้องตัวตัวเองจากนักล่าขนาดใหญ่กว่าในธรรมชาติ เช่น ปลาฉลาม ครีบหางเป็นทรงกลม มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร

มีลักษณะเด่น คือ มีฟันที่แหลมคมจำนวน 2 ซี่ภายในช่องปากใช้สำหรับขบกัดสัตว์มีเปลือกต่าง ๆ เป็นอาหาร เช่น กุ้ง, ปู, หอยฝาเดี่ยว หรือหอยสองฝา เป็นต้น

ปลาปักเป้าหนามทุเรียนมีลักษณะแตกต่างไปจากปลาปักเป้าสกุลอื่นในวงศ์เดียวกัน คือ ลักษณะของหนามบนลำตัว[3]

มีทั้งหมด 5 ชนิด (ดูในเนื้อหา[4]) กระจายพันธุ์ไปในทะเลและมหาสมุทรต่าง ๆ ทั่วโลก เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามตามบ้านหรือในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ และนิยมนำมาสตัฟฟ์เป็นเครื่องประดับโดยเฉพาะเมื่อยามพองตัว แต่ถือเป็นปลาที่มีอันตราย หากได้รับประทานเข้าไป เนื่องจากมีสารพิษชนิด เตโตรโดท็อกซิน และซิกัวเตราอย่างรุนแรง [5]

การจำแนก[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Sepkoski, Jack (2002). "A compendium of fossil marine animal genera". Bulletins of American Paleontology. 364: 560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-20. สืบค้นเมื่อ 2007-12-25.
  2. "Diodon". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
  3. Lieske, E. and Myers, R.F. (2004) Coral reef guide; Red Sea London, HarperCollins ISBN 0-00-715986-2
  4. 4.0 4.1 Matsuura, K (2014). "Taxonomy and systematics of tetraodontiform fishes: a review focusing primarily on progress in the period from 1980 to 2014". Ichthyological Research. 62 (1): 72–113. doi:10.1007/s10228-014-0444-5.
  5. "ปลาทะเลที่มีพิษ ในน่านน้ำไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-06. สืบค้นเมื่อ 2013-10-01.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Diodon ที่วิกิสปีชีส์