ปรีดา บุญเพลิง
ปรีดา บุญเพลิง | |
---|---|
หัวหน้าพรรคครูไทยเพื่อประชาชน | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 29 กันยายน พ.ศ. 2561 (5 ปี 355 วัน) | |
ดำรงตำแหน่ง 29 กันยายน พ.ศ. 2555 – 27 เมษายน พ.ศ. 2557 | |
ก่อนหน้า | ณัฐวัฒน์ บุญเพลิงพันธ์ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 (5 ปี 178 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 กันยายน พ.ศ. 2494 |
พรรคการเมือง | ครูไทยเพื่อประชาชน |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
ปรีดา บุญเพลิง เป็นนักการเมืองชาวไทย เคยรับราชการครูและดำรงตำแหน่งเลขาธิการคุรุสภา เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคครูไทยเพื่อประชาชน
ประวัติ
[แก้]ปรีดา บุญเพลิง เกิดเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2494 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปริญญาโทพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และปริญญาเอกปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) จากมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ[1]
การทำงาน
[แก้]ปรีดา บุญเพลิง เคยรับราชการครูสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ในระหว่างปี พ.ศ. 2515 จนถึง พ.ศ. 2523 และย้ายมาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการจนถึงปี พ.ศ. 2542 ในระหว่างรับราชการครู นายปรีดา เคยเป็นผู้แทนข้าราชการครูในคณะกรรมการการประถมการศึกษาจังหวัดขอนแก่น (2524-2527) และผู้แทนสมาชิกคุรุสภาในคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา (2525-2533) จนได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นแกนนำองค์กรครู[2]
ปรีดา บุญเพลิงเคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการคุรุสภา[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2565 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-23. สืบค้นเมื่อ 2023-05-23.
- ↑ สัมภาษณ์ ปรีดา บุญเพลิง เป็นครูมาทั้งชีวิต "แก้หนี้ครู" ตั้งใจทำเพื่อครู
- ↑ ประชุมสัมมนาสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูชัยภูมิ จำกัด
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๔, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2494
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ครูชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- หัวหน้าพรรคการเมืองในประเทศไทย
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- บุคคลจากคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ม.