ข้ามไปเนื้อหา

ปฏิทินสาธารณรัฐฝรั่งเศส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปฏิทินสาธารณรัฐฝรั่งเศสปีค.ศ.1794 วาดโดยPhilibert-Louis Debucourt

ปฏิทินสาธารณรัฐฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: calendrier républicain français) มักถูกเรียกว่า ปฏิทินของนักปฏิวัติฝรั่งเศส (calendrier révolutionnaire français) เป็นปฏิทินที่ก่อตั้งในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส และถูกใช้โดยรัฐบาลฝรั่งเศสไว้ประมาณ 12 ปี ตั้งแต่ปลายปีค.ศ.1793 ถึง ค.ศ.1805 และอีก 18 วันโดยคอมมูนปารีสในปีค.ศ.1871. ระบบปฏิทินนี้ถูกออกแบบไว้เพื่อลบล้างอิทธิพลทางศาสนาและพระมหากษัตริย์ออกจากปฏิทินทั้งหมด และเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายใหญ่ของการทำตามแบบทศนิยม (decimalisation) ในประเทศฝรั่งเศส (ซึ่งรวมไปถึงเวลาทศนิยมของวัน, หน่วยเงินทศนิยม และเมตริก).

เดือน

[แก้]

ปฏิทินสาธารณรัฐฝรั่งเศสเริ่มต้นที่ศารทวิษุวัตในปารีส และมีทั้งหมด 12 เดือน แต่ละเดือนมี 30 วัน โดยจะตั้งชื่อเดือนตามธรรมชาติ และสภาพอากาศในและรอบปารีส. วันพิเศษอีกห้าหรือหกวันในปีที่ไม่ได้อยู่ในเดือน แต่จะขึ้นอยู่กับSansculottides หรือวันเสริม.

  • ฤดูใบไม้ร่วง:
    • Vendémiaire (จากภาษาฝรั่งเศส vendange ที่ได้มาจากภาษาลาติน vindemia, "เก็บเกี่ยวองุ่น") เริ่มวันที่ 22, 23 หรือ 24 กันยายน
    • Brumaire / บรูว์แมร์ (จากภาษาฝรั่งเศส brume, "หมอก") เริ่มวันที่ 22, 23 หรือ 24 ตุลาคม
    • Frimaire (จากภาษาฝรั่งเศส frimas, "น้ำค้างแข็ง") เริ่มวันที่ 21, 22 หรือ 23 พฤศจิกายน
  • ฤดูหนาว:
    • Nivôse (จากภาษาลาติน nivosus, "เต็มไปด้วยหิมะ") เริ่มวันที่ 21, 22 หรือ 23 ธันวาคม
    • Pluviôse (จากภาษาฝรั่งเศส pluvieux ที่ได้มาจากภาษาลาติน pluvius, "ฝนตก") เริ่มวันที่ 20, 21 หรือ 22 มกราคม
    • Ventôse (จากภาษาฝรั่งเศส venteux ที่ได้มาจากภาษาลาติน ventosus, "ลมแรง") เริ่มวันที่ 19, 20 หรือ 21 กุมภาพันธ์
  • ฤดูใบไม้ผลิ:
    • Germinal (จากภาษาฝรั่งเศส การงอก) เริ่มวันที่ 20 หรือ 21 มีนาคม
    • Floréal (จากภาษาฝรั่งเศส fleur ที่ได้มาจากภาษาลาติน flos, "ดอกไม้") เริ่มวันที่ 20 หรือ 21 เมษายน
    • Prairial (จากภาษาฝรั่งเศส prairie, "ทุ่งหญ้า") เริ่มวันที่ 20 หรือ 21 พฤษภาคม
  • ฤดูร้อน:
    • Messidor (จากภาษาลาติน messis, "การเก็บเกี่ยว") เริ่มวันที่ 19 หรือ 20 มิถุนายน
    • Thermidor (หรือ Fervidor; จากภาษากรีก thermon, "ฤดูร้อน") เริ่มวันที่ 19 หรือ 20 กรกฎาคม
    • Fructidor / ฟรูว์ตีดอร์ (จากภาษาลาติน fructus, "ผลไม้") เริ่มวันที่ 18 หรือ 19 สิงหาคม

เดือนส่วนใหญ่ตั้งตามศัพท์จากภาษาฝรั่งเศส, ภาษาลาติน และภาษากรีก[1]

ในอังกฤษ มีการล้อเลียนชิ่อเดือนปฏิทินนี้เป็น: Wheezy, Sneezy และFreezy; Slippy, Drippy และNippy; Showery, Flowery และBowery; Hoppy, Croppy และPoppy.[2] ส่วนทอมัส คาร์ลีลย์ นักประวัติศาสตร์ชาวสก็อตได้ตั้งชื่อปฏิทินให้เป็นทางการมากขึ้นในปีค.ศ.1837[1] โดยมีชื่อเป็น Vintagearious, Fogarious, Frostarious, Snowous, Rainous, Windous, Buddal, Floweral, Meadowal, Reapidor, Heatidor และ Fruitidor

สิบวันต่อสัปดาห์

[แก้]
นาฬิกาพกในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศสแสดงชื่อ décade ทั้งสิบวัน และเดือนละ 30 วันในปฏิทินสาธารณรัฐฝรั่งเศส แต่เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ตั้งอยู่ที่Musée d'Art et d'Histoire (Neuchâtel)ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์.

ในเดือนหนึ่งจะถูกแบ่งเป็นสาม décades หรือ "สัปดาห์" ที่มี 10 วัน โดยมีชื่อ ดังนี้:

  • primidi (วันแรก)
  • duodi (วันที่สอง)
  • tridi (วันที่สาม)
  • quartidi (วันที่สี่)
  • quintidi (วันที่ห้า)
  • sextidi (วันที่หก)
  • septidi (วันที่เจ็ด)
  • octidi (วันที่แปด)
  • nonidi (วันที่เก้า)
  • décadi (วันที่สิบ)

Décades ถูกยกเลิกใน Floréal an X (เมษายน ค.ศ.1802).[3]

การแปลงเป็นปฏิทินกริกอเรียน

[แก้]
บ่อน้ำพุที่Octon, Héraultที่บันทึกเป็นวันที่ 5 Ventôse an 109 (24 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1901)

ด้านล่างคือปฏิทินกริกอเรียนตามการนับในปฏิทินสาธารณรัฐฝรั่งเศส

An ปฏิทินกริกอเรียน
I (1) 22 กันยายน ค.ศ.1792
II (2) 22 กันยายน ค.ศ.1793
III (3) 22 กันยายน ค.ศ.1794
IV (4) 23 กันยายน ค.ศ.1795*
V (5) 22 กันยายน ค.ศ.1796
VI (6) 22 กันยายน ค.ศ.1797
VII (7) 22 กันยายน ค.ศ.1798
VIII (8) 23 กันยายน ค.ศ.1799*
IX (9) 23 กันยายน ค.ศ.1800
X (10) 23 กันยายน ค.ศ.1801
XI (11) 23 กันยายน ค.ศ.1802
XII (12) 24 กันยายน ค.ศ.1803*
XIII (13) 23 กันยายน ค.ศ.1804
XIV (14) 23 กันยายน ค.ศ.1805

* วันพิเศษ (sextile) ถูกใส่ก่อนในวันของปีที่แล้ว เนื่องจากเป็นปีอธิกสุรทิน[4]

ปฏิทินนี้ถูกยกเลิกไปในปี XIV (1805). หลังจากวันนั้น การนับวันโดยรวมปีอธิกสุรทินยังคงแน่นอน ถ้าปฏิทินยังคงถูกใช้ต่อ. โดยมีการแปลงเป็นปฏิทินกริกอเรียนอยู่อย่างน้อยตามสันณิษฐานแค่ 4 แบบ:

  • วิษุวัต: การนับปีอธิกสุรทินจะคงที่ต่อตามฤดูใบไม้ร่วงที่ปารีสในวันที่ 1 Vendémiaire ถึงแม้ว่าบางครั้งอาจจะผ่านไป 5 ปีเช่นปีที่ 15 และ 20.[5]
  • รอมเม: การนับปีอธิกสุรทินจะนับตามปีที่หารสี่ลงตัว (เช่น 20, 24, 28...) ซึ่งทำให้ปีใหม่ของปฏิทินสาธารณรัฐฝรั่งเศสจะยังคงเหมือนเดิม (22 กันยายน) ตามปฏิทินกริกอเรียนไปอีกสามศตวรรษของปฏิทินสาธารณรัฐฝรั่งเศส (ค.ศ.1992–2091).[6]
  • ต่อเนื่อง: การนับปีอธิกสุรทินจะนับตามปีที่หารสี่ลงตัวจากอันสุดท้าย (เช่นปี 15, 19, 23, 27...) ซึ่งทำให้มีวันเพิ่มก่อน แทนที่จะเพิ่มทีหลัง มักจะใช้ในระยะยาว[7][8]
  • 128 ปี: เริ่มตั้งแต่ปี 20 การนับปีอธิกสุรทินจะนับตามปีที่หารสี่ลงตัว ยกเว้นปีที่หารด้วย 128 ซึ่งทำให้ปีใหม่ของปฏิทินสาธารณรัฐฝรั่งเศสจะยังคงเหมือนเดิม (23 กันยายน) ตามปฏิทินกริกอเรียนทุกปีตั้งแต่ปี 129 ถึง 256 (ค.ศ.1920–2047).[9][10][11]
An ค.ศ. วิษุวัต รอมเม ต่อเนื่อง 128 ปี

XV (15)

ค.ศ.1806

23 กันยายน

23 กันยายน

23 กันยายน

23 กันยายน

XVI (16)

ค.ศ.1807

24 กันยายน*

23 กันยายน

24 กันยายน*

24 กันยายน*

XVII (17)

ค.ศ.1808

23 กันยายน

23 กันยายน*

23 กันยายน

23 กันยายน

XVIII (18)

ค.ศ.1809

23 กันยายน

23 กันยายน

23 กันยายน

23 กันยายน

XIX (19)

ค.ศ.1810

23 กันยายน

23 กันยายน

23 กันยายน

23 กันยายน

XX (20)

ค.ศ.1811

23 กันยายน

23 กันยายน

24 กันยายน*

23 กันยายน

CCXXVI (226)

ค.ศ.2017

22 กันยายน

22 กันยายน

22 กันยายน

23 กันยายน

CCXXVII (227)

ค.ศ.2018

23 กันยายน*

22 กันยายน

22 กันยายน

23 กันยายน

CCXXVIII (228)

ค.ศ.2019

23 กันยายน

22 กันยายน

23 กันยายน*

23 กันยายน

CCXXIX (229)

ค.ศ.2020

22 กันยายน

22 กันยายน*

22 กันยายน

23 กันยายน*

* วันพิเศษ (sextile) ถูกใส่ก่อนในวันของปีที่แล้ว เนื่องจากเป็นปีอธิกสุรทิน

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Thomas Carlyle (1867). The French revolution: a history. Harper.
  2. John Brady (1812), Clavis Calendaria: Or, A Compendious Analysis of the Calendar; Illustrated with Ecclesiastical, Historical, and Classical Anecdotes, vol. 1, Rogerson and Tuxford, p. 38
  3. Antoine Augustin Renouard (1822). Manuel pour la concordance des calendriers républicain et grégorien (2 ed.). A. A. Renouard. สืบค้นเมื่อ 14 September 2009.
  4. Parise, Frank (2002). The Book of Calendars. Gorgias Press. p. 376. ISBN 978-1-931956-76-5.
  5. Sébastien Louis Rosaz (1810). Concordance de l'Annuaire de la République française avec le calendrier grégorien.
  6. "Brumaire – Calendrier Répulicain". Prairial.free.fr. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-18. สืบค้นเมื่อ 30 January 2009.
  7. Antoine Augustin Renouard (1822). Manuel pour la concordance des calendriers républicain et grégorien: ou, Recueil complet de tous les annuaires depuis la première année républicaine (2 ed.). A. A. Renouard.
  8. "Brumaire – Calendrier Républicain". Prairial.free.fr. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-18. สืบค้นเมื่อ 30 January 2009.
  9. The French Revolution Calendar เก็บถาวร 18 มิถุนายน 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  10. "Calendars". Projectpluto.com. สืบค้นเมื่อ 30 January 2009.
  11. "The French Revolutionary Calendar, Calendars". Webexhibits.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-23. สืบค้นเมื่อ 30 January 2009.

สารานุกรม

[แก้]
  • Ozouf, Mona, 'Revolutionary Calendar' in Furet, François and Mona Ozouf, eds., Critical Dictionary of the French Revolution (1989)
  • Shaw, Matthew, Time and the French Revolution: a history of the French Republican Calendar, 1789-Year XIV (2011)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]