บูมเมอแรง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- นี่เป็นเพียงข้อมูลบูมเมอแรงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับบูมเมอแรงข้อมูลศูนย์กลางดูที่ บูมเมอแรง (สถานีโทรทัศน์) บูมเมอแรง ประเทศไทยดูที่ บูมเมอแรง ไทย (สถานีโทรทัศน์)
ประเทศ | ฮ่องกง |
---|---|
พื้นที่แพร่ภาพ | ฮ่องกง อินโดนีเซีย ไทย มาเก๊า มาเลเซีย มัลดีฟส์ ฟิลิปินส์ สิงคโปร์ ศรีลังกา เวียดนาม ไต้หวัน |
คำขวัญ | Home of the Greatest Toons of All Time |
แบบรายการ | |
ระบบภาพ | 1080i (HDTV) |
ความเป็นเจ้าของ | |
เจ้าของ | ระบบแพร่สัญญาณเทอร์เนอร์ (ในเครือของไทม์วอร์เนอร์) |
ช่องรอง | การ์ตูนเน็ตเวิร์ก , ทีซีเอ็ม, บูมเมอแรง (ประเทศไทย) |
ประวัติ | |
เริ่มออกอากาศ | 1 กันยายน พ.ศ. 2548 1 มกราคม พ.ศ. 2558 (รีแบรนด์) | (ออริจินอล)
ยุติออกอากาศ | 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 (รีแบรนด์) | (ออริจินอล)
แทนที่โดย | ทูนามิ |
ลิงก์ | |
เว็บไซต์ | www.boomerang.asia |
ออกอากาศ | |
เคเบิลทีวี | |
StarHub TV (สิงคโปร์) | ช่อง 317 (HD) |
บูมเมอแรง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อังกฤษ: Boomerang Southeast Asia) เป็นสถานีโทรทัศน์การ์ตูน มีรูปแบบมาจากบูมเมอแรง สหรัฐอเมริกา แพร่ภาพในประเทศไทย เวียดนาม ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปินส์ ศรีลังกา และมัลดีฟส์ ภายใต้การบริหารของ[1]ระบบแพร่สัญญาณเทอร์เนอร์ บริษัทในเครือของ ไทม์ วอร์เนอร์ ซึ่งมีสำนักงานศูนย์อยู่ที่ฮ่องกง เริ่มต้นออกอากาศเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2548 - 30 พฤศจิกายน 2555 โดยมีช่อง ทูนามิเอเชีย มาแทนที่
ประวัติบูมเมอแรง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
[แก้]บูมเมอแรง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นสถานีโทรทัศน์เครือข่ายของบูมเมอแรง มีต้นแบบมาจากบูมเมอแรง สหรัฐอเมริกา เป็นช่องการ์ตูนคลาสิกที่แยกออกมาจากช่อง การ์ตูนเน็ตเวิร์ค ออกอากาศในกลุ่มประเทศเขตเอเชีย โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ฮ่องกง และส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม[2] มายังประเทศต่างๆในภูมิภาค
ในอดีต ช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์ก เคยฉายการ์ตูนคลาสิกในยุค 60 - 90 เหมือนที่ช่องบูมเมอแรงฉายในปัจจุบัน แต่ในปัจจุบัน การ์ตูนเน็ตเวิร์กได้นำการ์ตูนแอนิเมชั่นใหม่ ๆ เข้ามาฉาย จึงได้ตัดการ์ตูนคลาสิกเก่า ๆ ออก แต่การ์ตูนคลาสิกยังคงได้รับความนิยมจากผู้ชม จึงได้เพิ่มช่วง บูมเมอแรง เป็นช่วงพิเศษในช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์ก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2542 ซึ่งฉายการ์ตูนคลาสิกเก่า ๆ แต่เนื่องจากการ์ตูนนั้นมีมากมายหลายเรื่อง ไทม์ วอร์เนอร์ จึงเปิดช่องบูมเมอแรงเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2543 โดยนำช่วงพิเศษบูมเมอแรงในการ์ตูนเน็ตเวิร์กออกมาทำเป็นสถานีโทรทัศน์ช่องการ์ตูนช่องใหม่อย่างเต็มรูปแบบ
- 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบรายการและโลโก้ของช่องใหม่ โดยให้เหมือนกับช่องบูมเมอแรงสหรัฐอเมริกา
- ต่อมา บูมเมอแรงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยุติออกอากาศในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และมีช่องการ์ตูนช่องใหม่ชื่อว่า "ทูนามิ" มาแทนที่ และมีกำหนดการรีแบรนด์เครือข่ายช่องบูมเมอแรงทั่วโลก ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558[3]
- ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 บูมเมอแรงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้กลับมาออกอากาศอีกครั้ง[4]
- 28 กรกฎาคม พ.ศ 2566 บูมเมอแรงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ยุติออกอากาศเป็นครั้งที่ 2 และถูกแทนที่โดย การ์ตูนนิโต้
บูมเมอแรง ในประเทศไทย
[แก้]- 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ได้เปิดตัวช่อง บูมเมอแรงประเทศไทย ออกอากาศทางดาวเทียมไทยคม 6A โดยมีรูปแบบมาจากบูมเมอแรง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออกอากาศเป็นภาษาไทยอย่างเต็มรูปแบบวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556
- ในอดีตบูมเมอแรงในประเทศไทยรับสัญญาณจาก บูมเมอแรง เอเชียตะวันออกใต้ แพร่ภาพออกอากาศอยู่ในเคเบิลทีวีท้องถิ่น โดย ไทม์ วอร์เนอร์ ได้มอบสิทธิการแพร่ภาพช่องบูมเมอแรงประเทศไทยให้กับ “บริษัท พี.เซาท์เทอร์นเน็ทเวอร์ค จำกัด” หรือ "พีเอสเอ็น"[5] เป็นผู้ถือสิทธิในประเทศไทย โดยการขายช่องรายการให้กับผู้ประกอบการเคเบิลท้องถิ่น ไปแพร่ภาพให้กับสมาชิก
การ์ตูนที่ฉายในทางบูมเมอแรง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
[แก้]- 2 Stupid Dogs
- The 13 Ghosts of Scooby-Doo
- The Addams Family
- Alf
- Alvin and the Chipmunks
- Astro and the Space Mutts
- Atom Ant
- Atomic Betty
- Augie Doggie and Doggie Daddy
- Birdman and the Galaxy Trio
- The Bugs and Daffy Show
- Captain Caveman and the Teen Angels
- The Captain Planet Series
- Captain Planet and the Planeteers
- The New Adventures of Captain Planet
- Casper and the Angels
- Cave Kids
- The Centurions
- Challenge of the GoBots
- Dastardly and Muttley in their Flying Machines
- The Droopy Dog Series
- Droopy Dog|The Droopy Dog Show
- Droopy: Master Detective
- Dumb and Dumber
- Dynomutt, Dog Wonder
- Fangface
- Fantastic Four (ปี 1967)
- Fantastic Max
- The Flintstones Series
- The Flintstones
- The Flintstone Kids
- The Pebbles and Bamm-Bamm Show
- Frankenstein Jr. and The Impossibles
- The Funky Phantom
- The Great Grape Ape Show
- Hanna-Barbera's Cartoon Corral
- Heathcliff and Marmaduke & Heathcliff and Dingbat
- Help! It's the Hair Bear Bunch
- The Herculoids
- Hong Kong Phooey
- Huckleberry Hound
- Inch High, Private Eye
- Jabberjaw
- The Jetsons
- Jonny Quest
- The Josie and the Pussycats Series
- Josie and the Pussycats
- Josie and the Pussycats in Outer Space
- Lippy the Lion & Hardy Har Har
- Little Red Tractor
- The Looney Tunes Show
- Magilla Gorilla
- Matt's Monters
- Monchhichis
- Mr. T
- MGM (การ์ตูนสั่นของค่าย เอ็มจีเอ็ม)
- The New Shmoo
- Pac-Man
- Paddington Bear
- Paw Paws
- The Perils of Penelope Pitstop
- Police Academy
- The Popeye Series
- The All-New Popeye Show
- The Popeye Show
- Postman Pat
- Postman Pat : Special Delivery Service
- Guest with Jess
- Pound Puppies
- The Pirates of Dark Water
- Pixie & Dixie
- Quick Draw McGraw
- The Real Adventures of Jonny Quest
- Richie Rich
- Scooby-Doo
- A Pup Named Scooby-Doo
- Laff-A-Lympics
- The New Scooby-Doo Movies
- The New Scooby-Doo Mysteries
- Scooby-Doo and Scrappy-Doo
- Scooby-Doo, Where Are You!
- Sealab 2020
- Secret Squirrel
- Shirt Tales
- The Smurfs
- Snagglepuss
- The Snorks
- Space Ghost
- Speed Buggy
- SWAT Kats
- Sylvester and Tweety Mysteries
- Tom and Jerry Kids
- Top Cat
- Wacky Races
- Winx Club
- Wait Till Your Father Gets Home
- Wally Gator
- Yakky Doodle
- The Yearling
- The Yogi Bear Series
- The New Yogi Bear Show
- Yo Yogi!
- Yogi's Gang
- Yogi's Space Race
- Yogi's Treasure Hunt
- Young Robin Hood
โลโก้
[แก้]1 กันยายน 2548 - 2 พฤศจิกายน 2550 | 3 พฤศจิกายน 2550 - 30 พฤศจิกายน 2555 | 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป |
---|---|---|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.turner.com/about/networks_and_businesses.html
- ↑ http://www.lyngsat.com/asia3s.html
- ↑ Littleton, Cynthia (October 14, 2014). "Turner Sets Global Relaunch of Boomerang to Focus on Family Viewing". Variety. สืบค้นเมื่อ October 14, 2014.
- ↑ http://www.awn.com/news/boomerang-bounces-back-asia
- ↑ http://www.positioningmag.com/magazine/PrintNews.aspx?id=29632
ดูเพิ่ม
[แก้]- บูมเมอแรง (สถานีโทรทัศน์)
- บูมเมอแรง (ประเทศไทย)
- ทูนามิเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- การ์ตูนเน็ตเวิร์คเอเชียตะวันออกเฉียงใต้