ข้ามไปเนื้อหา

บันกิม จันทระ จัตโตรจี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บันกิมะจันทระ จัตโตปาธยาย
ชื่อท้องถิ่น
বঙ্কিমচন্দ্র চট্টোপাধ্যায়
เกิด26 มิถุนายน ค.ศ. 1838(1838-06-26)
ไนหตี, รัฐเบงกอล, บริติชอินเดีย (ปัจจุบันอยู่ในรัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย)
เสียชีวิต8 เมษายน ค.ศ. 1894(1894-04-08) (55 ปี)
กัลกัตตา, รัฐเบงกอล, บริติชอินเดีย (ปัจจุบันคือ โกลกาตา, รัฐเบงกอลตะวันตก, ประเทศอินเดีย)
อาชีพนักเขียน, กวี, นักเขียนนิยาย, นักเขียนความเรียง, นักข่าว
ภาษาภาษาเบงกอล, ภาษาอังกฤษ
จบจากมหาวิทยาลัยกัลกัตตา
แนวร่วมในทางวรรณคดีเบงกอลเรเนสซองส์
ผลงานที่สำคัญทุรเคศนันทินี
กปาลกุนทล
เทวีจาวธุรณี
อานันทมาถ
"พิษพฤกษะ"
วันทามาตารัม"

ลายมือชื่อ

บันกิมะจันทระ จัตโตรจี (Bankimchandra Chatterjee) หรือ บันกิมะจันทระ จัตโตปาธยาย (Bankimchandra Chattopadhyay), CBE[1] (26 มิถุนายน 1838[2]–8 เมษายน 1894)[3] เป็นผู้ประพันธ์นิยาย, กวี และนักข่าวชาวอินเดีย[4] เขาเป็นผู้เรียบเรียง วันทามาตารัม ขึ้นครั้งแรกโดยเป็นภาษาสันสกฤต, สร้างสรรค์ภาพบุคลาธิษฐานของประเทศอินเดียเป็นพระมารดาภารตมาตา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับบรรดานักเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชอินเดีย จัตโตปาธยายประพันธ์นิยายรวมทั้งหมดจำนวนสิบสามเรื่อง

จัตโตปาธยายได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นบุคคลสำคัญในสาขาการประพันธ์และงานเขียนของการฟื้นฟูวัฒนธรรมเบงกอลและอินเดีย[4] ผลงานเขียนของเขา รวมทั้งนิยาย, ความเรียง และบทวิพากษ์ เป็นผลงานการเขียนที่แหวกขนบการเขียนแบบอินเดียพวกกาพย์กลอน (verse-oriented) และสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเขียนทั่วอินเดียในยุคถัด ๆ มา[4]

ผลงานเขียน

[แก้]
นวนิยาย
  • ทุรเคศนันทินี (Durgeshnandini, 1865)
  • กปาลกุนทล (Kapalkundala, 1866)
  • มรินลินี (Mrinalini, 1869)
  • พิษพฤกษะ (Vishabriksha; “ต้นพืชพิษ”, 1873)
  • อินทิรา (Indira, 1873; เรียงเรียงใหม่ 1893)
  • ชุคลันคุริยะ (Jugalanguriya, 1874)
  • รธราณี (Radharani, 1876; เพิ่มเติม 1893)
  • จันทรเสขร (Chandrasekhar, 1875)[5]
  • กมลกันตารทัปตาร์ (Kamalakanter Daptar; จากโต๊ะของกมลกันตา, 1875)
  • ราชนี(Rajani, 1877)
  • กฤษณกันตารอุยล์ (Krishnakanter Uil; ประสงค์ของกฤษณกันตา, 1878)
  • ราชสิงห์ (Rajsimha, 1882)
  • อานันทมัฐ (Anandamath, 1882)
  • เทวีจาวธุรณี (Devi Chaudhurani, 1884)
  • กมลกันตา (Kamalakanta, 1885)
  • สีตาราม (Sitaram, 1887)
  • มุจิราม กูร์ ชีวันจริต (Muchiram Gurer Jivancharita; ชีวิตของมุจิราม กูร์)
บทวิพากษ์เชิงศาสนา
  • กฤษณจริตร (Krishna Charitra; ชีวิตของพระกฤษณะ, 1886)
  • ธรรมตัตตวา (Dharmatattva; หลักของศาสนา, 1888)
  • เทวตัตตวา (Devatattva; หลักของพระเจ้า, ตีพิมพ์หลังมรณกรรม)
  • ศรีมัทวควัตคีตา (Srimadvagavat Gita; บทวิพากษ์ว่าด้วยภควัตคีตา, 1902 - ตีพิมพ์หลังมรณกรรม)
รวมกวีนิพนธ์
  • ลลิต โอ มนัส (Lalita O Manas, 1858)
ความเรียง
  • โลกรหัสยะ (Lok Rahasya; รวมความเรียงว่าด้วยสังคม, 1874, เพิ่มเติม 1888)
  • วิชนันรหัสยะ (Bijnan Rahasya; รวมความเรียงว่าด้วยวิทยาศาสตร์, 1875)
  • พิจิตรประพันธ์ (Bichitra Prabandha; รวมความเรียง, เล่ม 1 (1876) และ เล่ม 2 (1892))
  • สามยะ (Samya; ความเท่าเทียม, 1879)

นวนิยายเล่มแรกของจัตโตปาธยายเป็นนวนิยายภาษาอังกฤษ ภรรยาของราชโมหัน (Rajmohan's Wife, 1864)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Bankim Chandra Chatterjee". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 30 March 2016.
  2. "History & Heritage". north24parganas.gov.in. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2017. สืบค้นเมื่อ 27 June 2018.
  3. Merriam-Webster's Encyclopedia of Literature. Merriam-Webster. 1995. p. 231. ISBN 978-0-87779-042-6.
  4. 4.0 4.1 4.2 Staff writer. "Bankim Chandra: The First Prominent Bengali Novelist", The Daily Star, 30 June 2011
  5. https://bn.wikisource.org/wiki/%E0%A6%AA%E0%A6%BE%E0%A6%A4%E0%A6%BE:%E0%A6%B8%E0%A6%BE%E0%A6%B9%E0%A6%BF%E0%A6%A4%E0%A7%8D%E0%A6%AF-%E0%A6%B8%E0%A6%BE%E0%A6%A7%E0%A6%95-%E0%A6%9A%E0%A6%B0%E0%A6%BF%E0%A6%A4%E0%A6%AE%E0%A6%BE%E0%A6%B2%E0%A6%BE_%E0%A6%A6%E0%A7%8D%E0%A6%AC%E0%A6%BF%E0%A6%A4%E0%A7%80%E0%A6%AF%E0%A6%BC_%E0%A6%96%E0%A6%A3%E0%A7%8D%E0%A6%A1.djvu/%E0%A7%A9%E0%A7%A8%E0%A7%A6