ข้ามไปเนื้อหา

บัตรประจำตัวประชาชนไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก บัตรประชาชน)
บัตรประจำตัวประชาชนไทยแบบปัจจุบัน

บัตรประจำตัวประชาชนไทย เป็นบัตรประจำตัวประชาชนที่รัฐออกให้แก่ผู้มีสัญชาติไทยที่มีอายุตั้งแต่ 7 ถึง 70 ปี[1] โดยเกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2486 ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม[2] โดยเดิมได้กำหนดให้ผู้ที่มีอายุ 16 ปีบริบูรณ์ให้ไปร้องขอทำบัตร ต่อมาลดอายุลงเหลือ 15 ปีในปี พ.ศ. 2526 และ 7 ปี ในปี พ.ศ. 2554

บัตรนี้ถูกใช้เพื่อการยืนยันตัวตนของผู้ถือบัตรและรับการบริการจากภาครัฐ รวมทั้งในธุรกิจเอกชนบางประเภท เช่น การเปิดใช้หมายเลขโทรศัพท์ หรือการเปิดบัญชีธนาคาร ทั้งนี้หากผู้ใดไม่อาจแสดงบัตรโดยไม่มีเหตุอันควรต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท[1]

ปัจจุบันบัตรประจำตัวประชาชนไทย เป็นรุ่นอเนกประสงค์รุ่นที่ 7[3][4]

ประวัติ

[แก้]

ก่อนหน้าการกำหนดให้มีบัตรประจำตัวประชาชนนั้น ผู้ใดที่ประสงค์จะเดินทางออกนอกท้องที่สามารถขอรับหนังสือเดินทางที่กรมการอำเภอในท้องถิ่นของผู้ประสงค์นั้น[5][6] อย่างไรก็ตาม กฎหมายดังกล่าวมิได้ใช้บังคับอย่างเคร่งครัดนัก กระทั่งในปี 2486 มีการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2486 ได้กำหนดให้พลเมืองไทยที่มีอายุ 16 ปีเป็นต้นไปและพำนักในท้องที่ที่กำหนดต้องไปทำบัตรประจำตัวประชาชน[2] ซึ่งในขณะนั้นมีลักษณะเป็นสมุดพับคล้ายหนังสือเดินทางก่อนหน้านั้น[6]

บัตรประจำตัวประชาชนไทย รุ่น 2 ด้านหน้า

ในปี พ.ศ. 2506 บัตรประจำตัวประชาชนได้เปลี่ยนรูปแบบเป็นบัตรกระดาษเคลือบลามิเนต แสดงรูปถ่ายผู้ถือบัตรยืนหน้าแผ่นวัดส่วนสูง โดยข้อมูลส่วนตัวของผู้ถือบัตรบนหน้าบัตรนั้นจัดพิมพ์โดยใช้เครื่องพิมพ์ดีดบนด้านหน้า และวันที่ออกบัตรและวันบัตรหมดอายุพิมพ์บนด้านหลัง และปรับค่าธรรมเนียมทำบัตรเป็น 5 บาท โดยในเวลานั้นบัตรประจำตัวประชาชนได้เป็นสิ่งที่พลเมืองไทยทุกคนต้องถือไว้ตามกฎหมาย[7] แต่กระนั้น บัตรดังกล่าวนั้นปลอมแปลงขึ้นได้อย่างง่ายดายเนื่องจากไม่มีคุณสมบัติป้องกันการปลอมแปลงและชำรุดได้โดยง่าย

ต่อมาเมื่อไมโครฟิล์ม เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ และเมนเฟรมคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในประเทศ ในปี พ.ศ. 2530 ได้มีการปรับปรุงรูปแบบบัตรขึ้นใหม่ทดแทนแบบเดิม[8] โดยในช่วงดังกล่าว พลเมืองไทยทุกคนจะได้รับการระบุเลขประจำตัวประชาชนซึ่งจะระบุบนบัตรเช่นเดียวกับข้อมูลอื่น ๆ โดยได้กำหนดให้ผู้มีสัญชาติที่อายุ 15 ปีบริบูรณ์ต้องไปขอมีบัตรประจำตัวประชาชนที่ที่ว่าการอำเภอหรือที่ว่าการเขต โดยการจัดทำบัตรนั้นเป็นแบบรวมศูนย์ กล่าวคือเมื่อผู้ประสงค์จะทำบัตรยื่นคำร้องแล้ว แบบคำร้องและแบบพิมพ์ลายนิ้วมือจะบรรจุลงบนไมโครฟิล์มแล้วส่งไปยังสำนักบริหารการทะเบียนที่กรุงเทพมหานครเพื่อจัดทำบัตรต่อไป โดยรูปแบบบัตรทำจากกระดาษพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์และเคลือบด้วยวิธีการเฉพาะ

ในปี พ.ศ. 2539 บัตรประจำตัวประชาชนที่ออกในกรุงเทพมหานครจะจัดทำโดยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ส่วนในต่างจังหวัดยังคงออกโดยไม่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์[9] หลังจากนั้นระบบการออกบัตรด้วยคอมพิวเตอร์ก็ได้แพร่หลายไปทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลบนบัตรนั้นยังเป็นภาษาไทยทั้งหมด ผู้ใดที่จะใช้ในต่างประเทศจะต้องนำไปแปลเสียก่อน กระทั่งในปี พ.ศ. 2548 ได้มีการออกบัตรประจำตัวประชนแบบสองภาษาขึ้นใช้จนถึงปัจจุบัน[6]

ในปี พ.ศ. 2554 รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้กำหนดให้ผู้ที่อายุ 7 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปสามารถขอมีบัตรประจำตัวประชาชนได้ เพื่อลดการใช้สูติบัตรและเอกสารทางราชการอื่นสำหรับเด็ก[1]

ในปี พ.ศ. 2565 บัตรประชาชนอเนกประสงค์ รุ่นที่ 7[10][11]ได้ผลิตขึ้นเป็นรุ่นล่าสุดที่ใช้ในปัจจุบัน

ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2566 สามารถใช้บัตรประจำตัวประชาชนดิจิทัลผ่านแอพลิเคชัน D.DOPA ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ThaiID แทนบัตรตัวจริงได้ โดยในระยะแรกจะเริ่มใช้กับหน่วยงานในกรมการปกครองก่อน[12]

เลขประจำตัวประชาชน

[แก้]

รูปแบบ

[แก้]

บัตรประจำตัวประชาชนประกอบด้วยข้อมูลของผู้ถือบัตร ดังต่อไปนี้

ข้อมูลทั้งหมดบัตรข้างต้นระบุด้วยภาษาไทยและภาษาอังกฤษยกเว้นที่อยู่ พิมพ์บนบัตรสีขาวอมฟ้า นอกจากนี้ยังมีลายมือชื่อผู้ออกบัตรและตราประจำตำแหน่งพิมพ์ลงบนบัตรบนด้านเดียวกันทั้ง ก่อนหน้าปี พ.ศ. 2548 ข้อมูลทั้งจะระบุเป็นภาษาไทยเท่านั้น ลายมือชื่อผู้ออกบัตรนั้นพิมพ์บนด้านหลังของบัตรเนื่องจากพื้นที่หน้าบัตรไม่เพียงพอ[13]

บัตรประจำตัวอื่น

[แก้]
  • บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย
  • บัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน[14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2011-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๓๔ ก, ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔
  2. 2.0 2.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. ๒๔๘๖ เก็บถาวร 2018-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔, ๑๙ มกราคม ๒๔๘๖
  3. ข่าวด่วน !!! เรื่องการอ่านบัตรประชาชนรุ่นใหม่ JC3
  4. รุ่นของบัตรประจำตัวประชาชนแบบอเนกประสงค์ ( Smart Card )
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. ๒๔๔๐ เก็บถาวร 2018-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๔ ตอนที่ ๙, ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๓๐
  6. 6.0 6.1 6.2 สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. "วิวัฒนาการบัตรประจำตัวประชาชน". สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. ๒๕๐๖ เก็บถาวร 2018-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๙, ตอนที่ ๑๑๕ ก, ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๕.
  8. ราชกิจจานุเบกษา, กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๖ เก็บถาวร 2018-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔, ตอนที่ ๒๗๕ ก, ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐
  9. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/A/024/30.PDF เก็บถาวร 2018-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๖
  10. รุ่นของบัตรประจำตัวประชาชนแบบอเนกประสงค์ ( Smart Card )
  11. ข่าวด่วน !!! เรื่องการอ่านบัตรประชาชนรุ่นใหม่ JC3
  12. "ดีเดย์! 10 ม.ค.นี้ ใช้บัตรปชช.ดิจิทัล แทนบัตรตัวจริงได้ นำร่องใช้ในหน่วยงานภายใต้กระทรวงมหาดไทยก่อน". pptvhd36.com.
  13. สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. "บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่ 5". สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  14. http://office.bangkok.go.th/ard/Manual_regis.html เก็บถาวร 2017-05-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, คู่มือประชาชน กรุงเทพมหานคร

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]