ข้ามไปเนื้อหา

บรอมเฮกซีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บรอมเฮกซีน
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่อทางการค้าBisolvon เป็นต้น
AHFS/Drugs.comInternational Drug Names
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • A (Aus)
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผล75–80%
การเปลี่ยนแปลงยาในตับโดยมาก
สารซึ่งได้หลังการเปลี่ยนแปลงยาAmbroxol เป็นต้น
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ12 ชม.
การขับออกปัสสาวะ
ตัวบ่งชี้
  • 2,4-Dibromo-6-{[cyclohexyl (methyl) amino]methyl}aniline
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
ECHA InfoCard100.020.622
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC14H20Br2N2
มวลต่อโมล376.136 g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • Brc1cc (c(N) c (Br) c1)CN(C)C2CCCCC2
  • InChI=1S/C14H20Br2N2/c1-18(12-5-3-2-4-6-12)9-10-7-11(15)8-13(16)14(10)17/h7-8,12H,2-6,9,17H2,1H3 checkY
  • Key:OJGDCBLYJGHCIH-UHFFFAOYSA-N checkY
  7checkY (what is this?)  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

บรอมเฮกซีน (bromhexine) เป็นยาละลายเสมหะที่ใช้รักษาโรคระบบทางเดินหายใจที่มีเสมหะเหนียวหรือมีมากเกินไป[1] ได้พัฒนาขึ้นในห้องปฏิบัติการเชิงวิจัยของบริษัทยาเยอรมัน Boehringer Ingelheim ในช่วงปลายทศวรรษ 1950 เพื่อเป็นส่วนผสมออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรม ได้รับสิทธิบัตรในปี 1961 วางจำหน่ายในปี 1963 ภายใต้เครื่องหมายการค้า Bisolvon® และเริ่มใช้ทางการแพทย์ในปี 1966[2]

หน้าที่

[แก้]

ยามีไว้เพื่อสนับสนุนกลไกการกำจัดเสมหะออกจากระบบทางเดินหายใจของร่างกาย เป็นยาที่ช่วยการหลั่งสารคัดหลั่ง โดยเพิ่มการผลิตเมือกชนิดใสในทางเดินหายใจ ซึ่งทำให้เสมหะบางลงและหนืดน้อยลง นี่ช่วยขับเสมหะ คือทำให้เซลล์ขน (ซิลเลีย) สามารถขนเสมหะออกจากปอดได้ง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงมักเติมยาลงในยาน้ำแก้ไอ

มีข้อบ่งใช้เป็น "การรักษาโดยละลายเสมหะในโรคหลอดลมและปอดที่การหลั่งเสมหะและการขับเสมหะผิดปกติ"

บรอมเฮกซีนมีอยู่ในยารูปแบบต่าง ๆ ทั้งยาน้ำเชื่อมความเข้มข้นสูง (8 มก./5 มล.) และต่ำ (4 มก./5 มล.) ยาเม็ดและยาเม็ดชนิดละลายน้ำ (ทั้งคู่ 8 มก.) และสารละลายสำหรับรับประทาน 10 มก./5 มล. ซึ่งสามารถปรับให้เหมาะกับความจำเป็นของผู้ป่วย ขนาดการใช้ยาแตกต่างกันตามอายุและน้ำหนัก แต่มีผลิตภัณฑ์สำหรับทุกกลุ่มอายุตั้งแต่ทารกขึ้นไป เป็นยาที่ได้การยอมรับโดยคนไข้อดทนต่อยาได้ดี

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. Morton, I; Hall, J (1999). Concise Dictionary of Pharmacological Agents. Springer. p. 55. ISBN 0-7514-0499-3. สืบค้นเมื่อ 2009-06-03.
  2. Fischer, J; Ganellin, CR (2006). Analogue-based Drug Discovery (ภาษาอังกฤษ). John Wiley & Sons. p. 544. ISBN 9783527607495.