บรรเจิด สิงคะเนติ
บรรเจิด สิงคะเนติ | |
---|---|
เกิด | 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง |
สัญชาติ | ไทย |
พลเมือง | ไทย |
การศึกษา | Dr.jur (Doktor der Rechte) |
อาชีพ |
|
ศาสตราจารย์[1] บรรเจิด สิงคะเนติ (เกิด 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507) กรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ[2] อดีตกรรมการปฏิรูปกฎหมาย อดีตผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรรมการพิจารณาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง และศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน คตส. ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549 ปัจจุบันเป็นคณบดี คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการปฏิรูปกฎหมาย[3] จนครบวาระ 4 ปี ในปี พ.ศ. 2558
ประวัติ
[แก้]บรรเจิด สิงคะเนติ เกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 ที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง[4]
คุณวุฒิ
[แก้]บรรเจิด สิงคะเนติ จบปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงในปี พ.ศ. 2527, เนติบัณฑิต สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, ปริญญาโทด้านกฎหมายมหาชน จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากนั้นได้ทุนของรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ไปศึกษาปริญญาโท (Magister Lugum) และสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2538 จากมหาวิทยาลัย Bochum และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก (Doktor der Rechte-Dr.jur) ในปี พ.ศ. 2541 จากมหาวิทยาลัยเดียวกัน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2565 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/099/22.PDF
- ↑ ที่มาของคปก.[ลิงก์เสีย]
- ↑ บอกข่าวเล่าสิบ, รายการทางช่องสุวรรณภูมิ โดย อัญชลีพร กุสุมภ์ และกิตติมา ธารารัตนกุล: ศุกร์ที่ 30 สิงหาคม 2556
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖๓, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๕๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๒ ข หน้า ๗๑, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2507
- คตส.
- นักวิชาการชาวไทย
- อาจารย์คณะนิติศาสตร์
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดตรัง
- กรรมการปฏิรูปกฎหมายไทย
- กลุ่มสยามประชาภิวัฒน์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.