ปิโตรเลียมเจลลี
ปิโตรเลียมเจลลี (อังกฤษ: petroleum jelly) หรือ ปิโตรลาทัม (petrolatum) เป็นเนื้อสารไฮโดรคาร์บอนกึ่งแข็ง มีเลขคาร์บอนสูงกว่า 25[1] ลักษณะไม่มีสีถึงสีเหลืองอ่อน ไม่มีกลิ่นและรส มีจุดหลอมเหลวระหว่าง 40–70 องศาเซลเซียส (105–160 องศาฟาเรนไฮต์)[2] ติดไฟเมื่อเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว ส่วนที่ติดไฟคือไอระเหยไม่ใช่ตัวของเหลว ปิโตรเลียมเจลลีไม่ละลายน้ำ แต่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น ไดคลอโรมีเทน คลอโรฟอร์ม เบนซีน และน้ำมันสน[3] มีเลขอีคือ E905b[4]
วัตถุดิบของปิโตรเลียมเจลลีได้รับการค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1859 ที่แท่นขุดเจาะน้ำมันในเมืองไททัสวิลล์ รัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐ คนงานแท่นขุดเจาะใช้สารนี้ทาแผลเพราะเชื่อว่าช่วยสมานแผลเร็วขึ้น[5] ต่อมารอเบิร์ต ชีสโบรห์ นักเคมีผู้เคยมีผลงานกลั่นเชื้อเพลิงจากน้ำมันจากวาฬหัวทุย มาที่เมืองนี้เพื่อศึกษาสารชนิดนี้ เขาเก็บตัวอย่างสารไปสกัดและกลั่นจนได้เจลสีอ่อนที่มีคุณสมบัติในการรักษาบาดแผล ในปี ค.ศ. 1870 ชีสโบรห์ตั้งโรงงานผลิตปิโตรเลียมเจลลีในชื่อวาสลีน และจดสิทธิบัตรวิธีการผลิตในปี ค.ศ. 1872[5]
เดิมปิโตรเลียมเจลลีได้รับการวางตลาดในฐานะขี้ผึ้งสำหรับใช้เฉพาะจุด แต่ต่อมาใช้เป็นส่วนผสมผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมและผิวหนัง[6] นอกจากนี้ยังใช้ในการเคลือบผิว หล่อลื่น ป้องกันสนิม และเป็นตัวรักษาสภาพในวัตถุระเบิด[7][8] ปิโตรเลียมเจลลีเป็นที่ยอมรับทั่วไปว่าปลอดภัย แต่อาจส่งผลข้างเคียงในรายที่มีอาการแพ้[9][10] ขณะที่สำนักงานเคมีภัณฑ์ยุโรป (European Chemicals Agency หรือ ECHA) ระบุว่าสารนี้อาจก่อมะเร็ง เนื่องจากในกระบวนการสกัดปิโตรเลียมเจลลีมีสารก่อมะเร็งผสมอยู่ และสารมีระดับความบริสุทธิ์แตกต่างกัน[11][12]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Petrolatum (white)". inchem.org. International Programme on Chemical Safety and the Commission of the European Communities. March 2002. สืบค้นเมื่อ August 5, 2011.
- ↑ Robert Leach (6 December 2012). The Printing Ink Manual. Springer Science & Business Media. pp. 254–. ISBN 978-94-011-7097-0.
- ↑ Vaseline (Petroleum Jelly) Material Safety Data Sheet (MSDS) เก็บถาวร 2008-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (June 15, 2007). MakingCosmetics.com Inc. Retrieved August 5, 2011.
- ↑ "E905b - Petroleum jelly". Open Food Facts. สืบค้นเมื่อ August 20, 2020.
- ↑ 5.0 5.1 The History of Vaseline Petroleum Jelly began in the Pennsylvania Oil Fields!, Drake Well Museum pamphlet, copyright 1996 by Holigan Group Ltd, Dallas, Texas.
- ↑ Villines, Zawn (December 20, 2018). "6 Uses and Benefits of Petroleum Jelly". Medical News Today. สืบค้นเมื่อ August 20, 2020.
- ↑ "Petroleum jelly". Britannica. สืบค้นเมื่อ August 20, 2020.
- ↑ "Cordite". Britannica. สืบค้นเมื่อ August 20, 2020.
- ↑ Ginta, Daniela (March 7, 2019). "Everything You Need to Know About Petroleum Jelly". Healthline. สืบค้นเมื่อ August 20, 2020.
- ↑ "Petroleum Jelly Topical". WebMD. สืบค้นเมื่อ August 20, 2020.
- ↑ "Petrolatum - Substance Information". European Chemicals Agency. July 8, 2020. สืบค้นเมื่อ August 20, 2020.
- ↑ Adams, Rebecca (September 1, 2016). "Petroleum Jelly May Not Be As Harmless As You Think". HuffPost. สืบค้นเมื่อ August 20, 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ปิโตรเลียมเจลลี
- "Petroleum jelly - MSDS" (PDF). CDH Fine Chemicals.
![]() |
บทความเกี่ยวกับเคมีนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:เคมี |