นีกูเลา ดุช ไรช์ ลูบาตู
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
นีกูเลา ลูบาตู | |
---|---|
![]() | |
ลูบาตูในการประกาศเอกราชติมอร์-เลสเต (1975) | |
ประธานาธิบดีติมอร์-เลสเตคนที่ 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 7 ธันวาคม 1975 – 31 ธันวาคม 1978 | |
ก่อนหน้า | ฟรังซิชกู ชาวีแอร์ ดู อามารัล |
ถัดไป | ยุบตำแหน่ง[a] |
นายกรัฐมนตรีติมอร์-เลสเตคนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 28 พฤศจิกายน 1975 – 7 ธันวาคม 1975 | |
ประธานาธิบดี | ฟรังซิชกู ชาวีแอร์ ดู อามารัล |
ก่อนหน้า | จัดตั้งตำแหน่ง |
ถัดไป | ยุบตำแหน่ง[b] |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1946 Bazartete ติมอร์ของโปรตุเกส |
เสียชีวิต | 31 ธันวาคม ค.ศ. 1978 เขา Mindelo จังหวัดติมอร์ตะวันออก ประเทศอินโดนีเซีย | (32 ปี)
สาเหตุการเสียชีวิต | เสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่ |
เชื้อชาติ | ชาวติมอร์ |
พรรค | เฟรติลิน |
คู่สมรส | Isabel Barreto Lobato (สมรส ค.ศ. 1972; เสียชีวิต ค.ศ. 1975) |
บุตร | 1 |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ![]() |
ประจำการ | 1975–1978 |
บังคับบัญชา | ![]() |
การยุทธ์ | การครอบครองของอินโดนีเซีย |
นีกูเลา ดุช ไรช์ ลูบาตู (โปรตุเกส: Nicolau dos Reis Lobato; 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1946 – 31 ธันวาคม ค.ศ. 1978) เป็นนักการเมืองและวีรบุรุษของประเทศติมอร์-เลสเต
ประวัติ[แก้]
ลูบาตูเป็นนายกรัฐมนตรีติมอร์-เลสเตคนแรก (ในช่วงสงครามประกาศเอกราชจากโปรตุเกส) ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน – 7 ธันวาคม ค.ศ. 1975 และเป็นประธานาธิบดีตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1977 – 31 ธันวาคม ค.ศ. 1978 ก่อนการรุกรานของกองทัพอินโดนีเซีย ลูบาตูกับผู้นำหลักคนอื่น ๆ ของเฟรตีลินหลบหนีเข้าไปยังแดนหลังเทือกเขาของติมอร์เพื่อต่อสู้กับกองกำลังยึดครอง ท้ายที่สุด ลูบาตูถูกซุ่มโจมตีจากกองกำลังพิเศษอินโดนีเซียที่นำโดยร้อยโท ปราโบโว ซูบียันโต (ภายหลังเป็นลูกเขยของประธานาธิบดี ซูฮาร์โต) ที่เขา Mindelo[1][2] เขาถูกยิงที่ท้องเสียชีวิตในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1978
สนามบินนานาชาติของติมอร์-เลสเตได้รับการตั้งชื่อว่า "ท่าอากาศยานนานาชาติประธานาธิบดีนีกูเลา ลูบาตู" เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา
ภาพ[แก้]
อนุสรณ์นีกูเลา ดุช ไรช์ ลูบาตูกับฟรังซิชกู ชาวีแอร์ ดู อามารัลที่ดิลี
หมายเหตุ[แก้]
- ↑ ตำแหน่ง ประธานาธิบดี ถูกยุบหลังติมอร์-เลสเตถูกอินโดนีเซียครอบครอง; Sérgio Vieira de Mello ดำรงตำแหน่ง ผู้บริหารองค์การสหประชาชาติ ใน ค.ศ. 1999–2002; ส่วนชานานา กุฌเมาดำรงตำแหน่ง ประธานาธิบดี ใน ค.ศ. 2002
- ↑ มารี อัลกาตีรีกลายเป็น นายกรัฐมนตรี คนที่2 หลังการครอบครองใน ค.ศ. 2002
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Indonesia: Fretilin leader shot dead in East Timor (Kuala Lumpur BUSINESS TIMES in English 3 Jan 79 p 18)". Translations on South and East Asia. Arlington, VA: U.S. Joint Publications Research Service. 802: 17. 8 February 1979.
- ↑ "Body of Timor-Leste's first prime minister still missing after 41 years". Tempo Timor. 31 December 2019. สืบค้นเมื่อ 11 September 2020.
อ่านเพิ่ม[แก้]
- Nicol, Bill (2002). "Chapter Eleven: Strange Bedfellows". Timor: A Nation Reborn. Jakarta: Equinox Publishing. pp. 106–120. ISBN 979958986X.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
บทความเกี่ยวกับประเทศสมาชิกอาเซียนนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ วิกิอาเซียน |