ข้ามไปเนื้อหา

นางแตงอ่อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นางแตงอ่อน เป็นวรรณกรรมพื้นบ้านของไทยจัดอยู่ในชาดกนอกนิบาต ปรากฏอยู่ในทุกภาคของประเทศไทยโดยเฉพาะภาคเหนือและภาคอีสาน รวมถึงปรากฏอยู่ในประเทศลาวซึ่งสันนิษฐานว่าแต่งขึ้นสมัยอาณาจักรล้านช้าง[1] ส่วนในกัมพูชามีนิทานพื้นบ้านจังหวัดสตึงแตรงเรื่อง เนียะตามเหสักข์ ที่ผูกเรื่องเข้ากับนิทานพื้นบ้านนางแตงอ่อน เดิมเรียก เชียงแตง ได้รับอิทธิพลจากล้านช้างเพราะจังหวัดสตึงแตรงเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านช้างมาก่อน[2]

วรรณกรรมกล่าวถึงสุริยงญาณซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ที่ลงมาจุติเป็นบุตรของท้าวมหาวงศ์และนางแตงอ่อน แต่ด้วยวิบากกรรมของนางแตงอ่อน เมื่อท้าวมหาวงศ์ออกไปคล้องช้าง นางไวยกาและอำมาตย์แสนเมืองร่วมกันวางแผนนำลูกจระเข้มาสับเปลี่ยนกับลูกของนางแตงอ่อน เพื่อให้เข้าใจผิดจึงโดนขับไล่ออกจากเมืองแล้วเอาลูกของนางใส่ไหไปฝังไห แต่นางเทพอินทิราสุชาดาหยั่งเห็นด้วยทิพจักษุ แล้วได้นำมาเลี้ยงดูพร้อมเนรมิตให้ที่อยู่ ต่อมายักษ์หัตถจักรได้ลักพาตัวนางแตงอ่อนที่ไปบวชเป็นชีอยู่ในป่า เมื่อสุริยงญาณเติบใหญ่เรียนวิชาอาคมจนแก่กล้า จึงออกตามหามารดาแและได้รบชนะยักษ์หัตถจักรในที่สุด

มีการนำเรื่องนางแตงอ่อนไปวาดเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วิหารวัดบวกครกหลวง จังหวัดเชียงใหม่[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. รำเพย ดาวษาวะ. "นางแตงอ่อน : ภาพลักษณ์ - ผู้หญิงในวรรณคดีลาว". วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง: 49.
  2. ชาญชัย คงเพียรธรรม. "กุมภีรคติในสังคมเขมร": 12. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  3. พระมหาโยธิน ปัดชาสี. "การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมภาคเหนือและอีสานเรื่องนางแตงอ่อน" (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร.