นกมุ่นรกหน้าผากสีน้ำตาล
นกมุ่นรกหน้าผากสีน้ำตาล | |
---|---|
นกมุ่นรกหน้าผากสีน้ำตาล (S. dubius) ใน Khonoma Nature Conservation and Tragopan Sanctuary นากาแลนด์ของประเทศอินเดีย | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Aves |
อันดับ: | Passeriformes |
วงศ์: | Pellorneidae |
สกุล: | Schoeniparus |
สปีชีส์: | S. dubius |
ชื่อทวินาม | |
Schoeniparus dubius (Hume, 1874) | |
ชื่อพ้อง | |
Alcippe dubia |
นกมุ่นรกหน้าผากสีน้ำตาล หรือ นกมุ่นรกหน้าผากสีน้ำตาลแดง (อังกฤษ: Rusty-capped Fulvetta; ชื่อวิทยาศาสตร์: Schoeniparus dubius ) เป็น นกชนิดหนึ่งในวงศ์นกมุ่นรก (Pellorneidae)[1] พบใน ภูฏาน จีน อินเดีย ลาว เมียนมา และ เวียดนาม มีถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติในป่าดิบเขาในเขตร้อนชื้นหรือเขตกึ่งร้อน เป็นนกประจำถิ่นของประเทศไทยที่พบเห็นได้ยาก[2]
อนุกรมวิธาน
[แก้]นกมุ่นรกหน้าผากสีน้ำตาล เป็นนกใน ในวงศ์นกมุ่นรก (Pellorneidae) ของลำดับนกเกาะคอน (Passeriformes) ซึ่งมี 4 ชนิดย่อยที่เป็นที่ยอมรับ ดังนี้
ชนิดย่อย
[แก้]- Schoeniparus dubius dubius — อาศัยในเขตป่าสนของประเทศเมียนมา ถึงเขตรอยต่อในประเทศ จีน (ยูนนาน) และบางส่วนในภาคเหนือตอนล่างของไทย ชนิดย่อยนี้เป็นนกประจำถิ่นของประเทศไทยแต่อยู่ในสถานะพบได้ยาก[3]
- Schoeniparus dubius cui — พบในเวียดนามตอนกลาง (ภูเขา Ngoc Linh จังหวัดกอนตูม) และบางส่วนในภาคเหนือของเวียดนาม[4]
- Schoeniparus dubius mandellii — กระจายพันธุ์ทางใต้ของรัฐอัสสัม (ฝั่งใต้ของแม่น้ำพรหมบุตร) ไปจนถึงเมียนมา (แถบเทือกเขาของรัฐชีน ในภาคตะวันตกของเมียนมา)[5]
- Schoeniparus dubius genestieri — ในทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน (บริเวณมณฑลชิงไห่ฝั่งตะวันตก ยูนนาน และกุ้ยโจว) ถึงอินโดจีน ได้แก่ ลาว [6]
ลักษณะทางชีววิทยาและพฤติกรรม
[แก้]ลักษณะเด่นที่ต่างจากนกมุ่นรกอื่น ๆ คือ หน้าผากสีน้ำตาลแกมส้ม กระหม่อมถึงท้ายทอยน้ำตาลแดงเข้ม มีแถบสีดำบาง ๆ เหนือคิ้วยาวสีขาว หน้าถึงข้างคอน้ำตาลเทาเกือบดำ มีลายขีดขาวตอนท้ายของหัว[7][8]
ลำตัวด้านบนน้ำตาลแกมแดง คอขาวนวล ลำตัวด้านล่างสีน้ำตาลอ่อน[7]
เคลื่อนไหวเป็นฝูงขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ซึ่งไม่ค่อยพบกับรวมกับนกชนิดอื่นซึ่งต่างจากนกมุ่นรกอื่น ๆ เสียงร้องมีหลากหลาย เช่น เสียงร้องแบบแหบเขย่ายาวนานและเร่งความถี่ตามด้วยเสียงหวีดสามครั้ง เสียงร้องแบบสั้น ตี-ตี๊-ตี่-ตี้ และตามด้วยเสียงคล้ายผิวปาก แหว่ว ๆ สามถึงสี่ครั้ง โดยโน้ตตัวสุดท้ายมีแนวโน้มที่จะคมและดังที่สุด[7]
ถิ่นที่อยู่และการกระจายพันธุ์
[แก้]ในประเทศไทย ถิ่นอาศัยในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ในป่าดิบเขา ชายป่า ที่มีความสูง 1,600-2,100 เมตร อยู่ในสถานะพบได้ยากและมีรายงานการพบที่ยอดเขาโมโกจู อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จังหวัดกำแพงเพชร และยอดเขาขะเจอลา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จังหวัดตาก
รายงานที่พบในประเทศไทย[7]
- พบหลายฝูง ๆ ละ 9-10 ตัว บางฝูงอาจมากถึง 20 ตัว และถ่ายภาพไว้ได้ บนดอยโมโกจู ตั้งแต่ระดับความสูง 1,600 เมตร จนถึงยอดสูงสุดคือ 1,964 เมตร ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จังหวัดกำแพงเพชร ระหว่างวันที่ 24-26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 โดย วัชระ สงวนสมบัติ โดม ประทุมทอง กฤษณ์ มุติตาภรณ์ บารมี เต็มบุญเกียรติ และเสาร์วดี มังกรศักดิ์สิทธิ์
- พบบนยอดดอยสูงสุด ระดับความสูง 2,152 เมตร ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จังหวัดตาก ระหว่างวันที่ 24-25 เมษายน พ.ศ. 2544 โดย ฟิลิป ดี ราวด์
- พบหลายฝูงบนดอยโมโกจู ตั้งแต่ระดับความสูง 1,600 เมตร จนถึงยอดสูงสุด คือ 1,964 เมตร ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จังหวัดกำแพงเพชร ระหว่างวันที่ 21-22 มกราคม พ.ศ. 2545 โดย อวยพร ขวัญแพ ประสิทธิ์ จันเสรีกร และคณะ
- เดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 พบนกหลายฝูง ฝูงละไม่ต่ำกว่า 6-7 ตัว ที่ระดับความสูง 1,600 เมตร จนถึงที่แคมป์ 2 โดย มาโนช แตงตุ้ม และคณะ - สถานภาพของนกชนิดนี้พบได้ไม่ยากนักระหว่างการเดินทางขึ้นสู่ยอดดอยโมโกจู
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 BirdLife International. (2016). "Schoeniparus dubius". IUCN Red List of Threatened Species. 2016: e.T22716627A94503294. doi:10.2305/IUCN.UK.2016-3.RLTS.T22716627A94503294.en. Retrieved 25 July 2020.
- ↑ Avibase. Rusty-capped Fulvetta สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2563.
- ↑ Avibase. Rusty-capped Fulvetta (nominate). สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2563.
- ↑ Avibase. Rusty-capped Fulvetta (cui). สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2563.
- ↑ Avibase. Rusty-capped Fulvetta (mandellii). สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2563.
- ↑ Avibase. Rusty-capped Fulvetta (genestieri). สืบค้นเมื่อ 237 ธันวาคม 2563.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 Bird of the Lower Northern Thailand. Rusty-capped Fulvetta ( Schoeniparus dubius (Hume, 1874) ) สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2563.
- ↑ eBird. นกมุ่นรกหน้าผากสีน้ำตาล. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2563.
- Collar NJ & Robson, C. 2007 วงศ์ Timaliidae (Babblers) pp. 70 - 291 นิ้ว; del Hoyo, J., Elliott, A. & Christie, DA eds. Handbook of the Birds of the World, Vol. 12. Picathartes ถึงหัวนมและ Chickadees Lynx Edicions, Barcelona