ธีเบอิด
ธีเบอิด (/ˈθiːbeɪ.ɪd/; ละติน: Thēbaïs, แปลตรงตัว 'บทกวีแห่งธีบส์') เป็นมหากาพย์ภาษาละตินที่แต่งโดยสเตชิอัส กวีชาวโรมันในปี ค.ศ. 90 เป็นเรื่องราวของคำสาปที่นำไปสู่การวิวาทระหว่างสองพี่น้อง อีทีออคลีสกับพอลีไนซีสเหนือบัลลังก์เมืองธีบส์ หลังพอลีไนซีสถูกเนรเทศ เขาร่วมมือกับเจ้าชายกรีกเจ็ดองค์เพื่อชิงบัลลังก์คืนจากน้องชายของตน ก่อนจะจบลงด้วยความตายของอีทีออคลีส พอลีไนซีสและเจ้าชายทั้งเจ็ด[1]
ธีเบอิด แบ่งออกเป็น 12 บท แต่ละบทมีความยาว 720–946 บาท ฉันทลักษณ์แบบมาตราหกคณะแด็กทิล (dactylic hexameter)[2] สเตชิอัสหยิบยืมต้นเรื่องมาจากวรรณกรรมกรีกโบราณเรื่องตำนานอีดิปัส และมีวรรณกรรมละตินอย่าง อีนีอิด ของเวอร์จิล เมทามอร์โฟซีส ของออวิดและโศกนาฏกรรมของแซแนกาผู้ลูกเป็นต้นแบบ[3][4][5] แก่นเรื่องประกอบด้วยความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับครอบครัว[6] สงครามกลางเมือง[7] และการกระทำอันไร้ศีลธรรม[8]
มีผู้สนใจอ่าน ธีเบอิด ไม่มากนักในสมัยโบราณ[9] แต่บทกวีนี้ได้รับการยกย่องอย่างสูงในสมัยกลางเมื่อมีการประยุกต์และแปลเป็นภาษาท้องถิ่นต่าง ๆ[10] ธีเบอิด ได้รับการอนุรักษ์ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในจักรวรรดิการอแล็งเฌียง แต่กลับไม่ได้รับการชมเชยเท่าที่ควรเมื่อเข้าสู่สมัยใหม่ นักวิชาการคลาสสิกสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 วิจารณ์ ธีเบอิด ว่าขาดความคิดริเริ่ม[11] ขณะที่กลุ่มสำนักคิดลัทธิแก้ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตีความบทกวีนี้ว่าเป็นการวิพากษ์ระบอบอัตตาธิปไตย[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Thebaid - Summary and Study Guide". SuperSummary. สืบค้นเมื่อ January 12, 2023.
- ↑ Gibson 2006, p. xxix, n. 44.
- ↑ Shackleton Bailey 2003, p. 3.
- ↑ Vessey 1973, p. 328.
- ↑ Ganiban 2007, p. 8.
- ↑ Coleman 2003, p. 12.
- ↑ Hardie 1993, p. 95.
- ↑ Ganiban 2007, p. 34.
- ↑ Dewar 1991, p. xxxvii.
- ↑ Dewar 1991, p. xxxix.
- ↑ Coleman 2003, p. 10.
- ↑ Coleman 2003, p. 11.
ข้อมูลอ้างอิง
[แก้]- Ahl, Frederick (1984). "Statius Thebaid: a Reconsideration". Aufstieg und Niedergang der römischen Welt. II (32.5): 2803–2912.
- Aricò, Giuseppe (2020). "Narrative Strategies in Statius' Thebaid". The Classical Review. 70 (2): 1–2.
- Coleman, Kathleen M. (2003). "Recent Scholarship". Statius II: Thebaid 1–7. Cambridge, MA: Harvard University Press. pp. 9–37. ISBN 978-0-674-01208-0.
- Dewar, Michael (1991). Statius, Thebaid IX. Oxford: Clarendon Press. ISBN 978-0-19-814480-9.
- Dominik, William J. (1994). The Mythic Voice of Statius: Power and Politics in the Thebaid. Leiden: Brill. ISBN 978-90-04-09972-2.
- Dominik, William J.; Newlands, Carole E.; Gervais, Kyle (2015). "Reading Statius". Brill's Companion to Statius. Leiden: Brill. pp. 1–27. ISBN 978-90-04-28470-8.
- Ganiban, Randall T. (2007). Statius and Virgil: The Thebaid and the Reinterpretation of the Aeneid. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-16911-0.
- Gibson, Bruce (2006). Statius, Silvae 5. Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-927715-5.
- Hardie, Philip (1993). The Epic Successors of Virgil. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-42562-9.
- Howatson, M. C., บ.ก. (2011). "Statius". The Oxford Companion to Classical Literature. Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-954854-5.
- Lewis, C. S. (1936). The Allegory of Love: A Study In Medieval Tradition. Oxford: Clarendon Press. ISBN 978-1-107-65943-8.
- Marinis, Agis (2015). "Statius' Thebaid and Greek Tragedy: The Legacy of Thebes". ใน Dominik, William J.; Newlands, Carole E.; Gervais, Kyle (บ.ก.). Brill's Companion to Statius. Leiden: Brill. pp. 343–61. ISBN 978-90-04-21789-8.
- Reeve, Michael D. (1984). "Statius: Thebaid". ใน Reynolds, L. D.; Wilson, N. G. (บ.ก.). Texts and Transmission: A Survey of the Latin Classics. Oxford: Oxford University Press. pp. 394–6. ISBN 978-0-19-814456-4.
- Shackleton Bailey, D. R. (2003). Statius II: Thebaid 1–7. Cambridge, MA: Harvard University Press. ISBN 978-0-674-01208-0.
- Vessey, David (1973). Statius and the Thebaid. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-14751-4.