ทุ่นระเบิดเคลย์มอร์
M18A1 Claymore mine | |
---|---|
ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล เอ็ม18เอ1 เคลย์มอร์ พร้อมชนวนพลาสติกและสายตัวจุดระเบิด | |
ชนิด | ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล |
แหล่งกำเนิด | สหรัฐ |
บทบาท | |
ประจำการ | 1960-ปัจจุบัน |
ผู้ใช้งาน | สหรัฐอเมริกา |
สงคราม | สงครามเวียดนาม, สงครามอิรัก, สงครามบอสเนีย |
ประวัติการผลิต | |
ผู้ออกแบบ | Norman Macleod และอื่น ๆ |
ช่วงการออกแบบ | 1952-1956 |
บริษัทผู้ผลิต | จำนวนมาก |
มูลค่า | 119 $ (ค.ศ. 1993) [1] |
ข้อมูลจำเพาะ | |
มวล | 3.5 lb |
ความยาว | 216 มม. |
ความกว้าง | 38 มม. |
ความสูง | 124 มม. |
ขนาดลำกล้องปืน | 700, 1/8 inch steel balls |
ความเร็วปากกระบอก | 3,995 ft/s (1,200 m/s) |
ระยะหวังผล | 50 m |
พิสัยไกลสุด | 250 m |
ศูนย์เล็ง | Peep sight on early models, later a knife edge sight |
วัตถุระเบิด | C-4 |
น้ำหนักวัตถุระเบิด | 680 ก. |
กลไกการจุดชนวน | Two detonator well for electrical detonators |
ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล เอ็ม18เอ1 เคลย์มอร์ (อังกฤษ: M18A1 Claymore anti-personnel mine) เป็นทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ที่ใช้งานโดยกองทัพสหรัฐ ออกแบบโดยนอร์แมน แม็กลีออด ซึ่งเป็นผู้ตั้งชื่อทุ่นระเบิดชนิดนี้ ตามศัพท์ภาษาแกลิกแบบสกอต "เคลย์มอร์"
ระเบิดรุ่นแรกใช้ชื่อว่า เอ็ม18 เคลย์มอร์ ออกแบบขึ้นในช่วงทศวรรษ 1950 เริ่มใช้งานครั้งแรกในสงครามเวียดนาม ประกอบด้วยกล่องพลาสติกรูปโค้ง ภายในบรรจุซีโฟร์ และสะเก็ดสังหารเป็นลูกกลมเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1/8 นิ้ว จำนวน 700 ลูก เมื่อถูกจุดระเบิดลูกเหล็กจะพุ่งเป็นแนวรูปพัด ระยะประมาณ 100 เมตร ทำมุมประมาณ 60 องศา ความสูงประมาณ 2 เมตร ด้วยความเร็วประมาณ 1,200 เมตร/วินาที [1] การจุดระเบิดทำได้สามวิธีคือ ใช้ผู้ควบคุม ไม่ใช้ผู้ควบคุม (ทำงานโดยใช้สายลวด หรือระบบอื่นๆ เช่น สวิทช์แสง สวิทช์จับความเคลื่อนไหว สวิทช์สั่นสะเทือน) และระบบหน่วงเวลา สามารถทำความสูญเสียกับทหารราบและยานยนต์ไม่หุ้มเกราะ
ในประเทศไทย บางครั้งมีผู้เรียกระเบิดชนิดนี้ว่า "เคโม" [ต้องการอ้างอิง]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Larry Grupp. Claymore mines, Their History and Development. Paladin Press. ISBN 087364-715-7.