ทางหลวงตริภูวัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางหลวงตรีภูวัน
त्रिभूवन राजपथ
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว158 กิโลเมตร (98 ไมล์)
ทางแยกที่สำคัญ
จากกาฐมาณฑุ
  ทางหลวง Prithvi
ทางหลวง Mahendra
ถึงBirganj
 อินเดีย ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข NH527D
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศNepal
จุดหมาย
ปลายทางหลัก
Hetauda
ระบบทางหลวง
แม่แบบ:Infobox road/browselinks/NPL
ทางสิบสองโค้ง
โค้งแห่งหนึ่งบนทางหลวง

ทางหลวงตริภูวัน (อังกฤษ: Tribhuvan Highway, เนปาล: त्रिभूवन राजपथ) เชื่อมต่อระหว่างชานกรุงกาฐมาณฑุ กับเมือง Birganj และ Raxaul บนพรมแดนเนปาล-อินเดีย[1][2] โดยจะเชื่อมต่อกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 28 และ 28A ที่เมืองลัคเนา ประเทศอินเดีย

ประวัติ[แก้]

ชื่ออย่างไม่เป็นทางการคือ บายโรด (อังกฤษ: Byroad) ทางหลวงตริภูวันเป็นทางหลวงสายแรกของประเทศเนปาล เชื่อมต่อระหว่างเมือง Naubise (ห่างจากาฐมาณฑุ 25 กิโลเมตร) กับพรมแดนเนปาล-อินเดีย[2] ทั้งทางหลวงตริภูวันและท่าอากาศยานนานาชาติตริภูวัน ต่างก็ตั้งชื่อเพื่อเป็นการสรรเสริญสมเด็จพระเจ้าตริภูวันแห่งเนปาล

การก่อสร้างเสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 1956 เป็นถนนสายแรกที่เชื่อมกับอินเดีย[2] ในปี ค.ศ. 1959 เปิดให้บริการรถโดยสารประจำทางบนทางหลวง ดำเนินการโดยการบริการการขนส่งเนปาล เส้นทางรถโดยสารสิ้นสุดที่เมือง Amlekhganj ซึ่งสามารถต่อรถไฟไปยังเมือง Birgunj และ Raxaul ได้

ก่อนสร้างทางหลวงสายนี้ขึ้น นักเดินทางจำเป็นต้องการใช้เส้นทางผ่านไปยังเมือง Kulekhani, Chitlang, Chandragiri Pass และ Thankot[3]

เส้นทาง[แก้]

เส้นทางจะผ่านเข้าไปในภูมิภาค Terai หลังจากนั้นจะลัดเลาะไปตามภูเขา Sivalik Hills ทางเหนือของเมือง Hetauda ระยะทางรวมทั้งสิ้น 107 กิโลเมตร (66 ไมล์)[2] ที่เมือง Naubise ทางหลวงตริภูวัน จะไปสิ้นสุดที่แยกทางหลวง Prithvi

ที่หมู่บ้าน Daman จะมีจุดชมวิวเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งจะเห็นได้ตั้งแต่ยอดเขา Dhaulagiri ทางตะวันตก ไปจนถึงยอดเขาเอเวอเรสต์ทางตะวันออก[2]

เมือง Hetauda เป็นจุดรวมของทางหลวง Mahendra และทางหลวงตริภูวัน[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Highways in Nepal". Adarsha Nepal Adventure. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-26. สืบค้นเมื่อ 2010-05-18.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Woodhatch, Tom. "Nepal handbook". p. 431. Google books. สืบค้นเมื่อ 2010-05-18.
  3. "Kathmandu – Kulekhani". Rainbow trek and expedition. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-15. สืบค้นเมื่อ 2010-05-18.