ทอมป์สัน (วงดนตรี)
ทอมป์สัน | |
---|---|
วงทอมป์สันขณะทำการแสดงเมื่อ พ.ศ. 2556 | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ที่เกิด | โครเอเชีย |
แนวเพลง | |
ช่วงปี | พ.ศ. 2534–ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | โครเอเชียเรเคิร์ดส์ |
สมาชิก | มาร์กอ เพกอวิช ทอมิสลาฟ แมนดาลิช ตูเย อีวิช อีวีกา บีลิช อีเก อีวาน ดราบอ |
อดีตสมาชิก | อีวาน อีวานกอวิช |
เว็บไซต์ | www |
ทอมป์สัน (โครเอเชีย: Thompson) เป็นกลุ่มดนตรีโฟล์กและฮาร์ดร็อกสัญชาติโครเอเชีย ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2534 โดยมาร์กอ เพกอวิชซึ่งต่อมาคือนักร้องหลักและนักแต่งเพลงประจำวง ร่วมกับทอมิสลาฟ แมนดาลิช อีวาน อีวานกอวิช ตูเย อีวิช และอีวีกา บีลิช อีเก โดยชื่อวงดนตรีนั้นตั้งชื่อตามปืนกลมือทอมป์สันซึ่งเป็นปืนกลมือสัญชาติอเมริกัน
วงดนตรีนี้เป็นที่รู้จักในช่วงสงครามยูโกสลาเวียและสงครามประกาศเอกราชโครเอเชีย พวกเขาออกผลงานเพลงแรกคือ บอจนาชาโวกลาเว (ทหารกล้าแห่งชาวอกลาวา) เมื่อ พ.ศ. 2534 และเพลงดังกล่าวถูกบรรจุในสูติโออัลบั้มแรกของวงคือ มอลิ มาลา ซึ่งวางจำหน่ายครั้งแรกใน พ.ศ. 2535 หลังจากนั้นวงดนตรีมีชื่อเสียงและออกผลงานเพลงเรื่อยมา และได้จัดคอนเสิร์ตทัวร์ครั้งใหญ่ใน พ.ศ. 2545 จากการโปรโมตสูตดิโออัลบั้มชุด อีมอจนาโรเด ซึ่งมียอดขายเกิน 60,000 ตลับ/แผ่น[1] จากนั้นวงดนตรีมีโอกาสได้แสดงคอนเสิร์ตที่ซิดนีย์และเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เมื่อ พ.ศ. 2548[2] และมีโอกาสได้ขึ้นแสงคอนเสิร์ตในหลายประเทศใน พ.ศ. 2549 พร้อมกับสตูดิโออัลบั้ม บีโลเยดินอมอูฮวาตสกอจ โดยจัดการแสดงคอนเสิร์ตทั้งในประเทศแคนาดา สหรัฐ ประเทศเยอรมนีและประเทศสวีเดน
อย่างไรก็ตาม เนื้อหาเพลงของทอมป์สันโดยส่วนใหญ่มักมีเนื้อหาแนวคิดชาตินิยมชาวโครแอต[3] รวมถึงเป็นพวกฝักใฝ่อูสตาเชซึ่งเป็นองค์กรฟาสซิสต์ของประเทศโครเอเชีย ประกอบกับมีเนื้อหาเพลงที่รุนแรงและมีคตินิยมเชื้อชาติต่อชาวเซิร์บเป็นจำนวนมาก[3] ส่งผลให้พวกเขาถูกห้ามมิให้จัดแสดงคอนเสิร์ตในหลายประเทศ[3] อาทิ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศออสเตรีย ประเทศสวิตเซอร์แลนด์[4]และประเทศสโลวีเนีย นอกจากนี้ ทอมป์สันยังถูกวิพากษ์วิจารณ์จากการคัดลอกทำนองเพลงของเซิร์บและเพลงของพวกพลพรรคยูโกสลาเวียหลายเพลง โดยเฉพาะกรณีของเพลง อาลีเจกนินซกากรายีจา ซึ่งอยู่ในสตูดิโออัลบั้มชุด วรีเยเมชกอปิออนา (2538) ที่ไปคัดลอกทำนองเพลง นาจกราเยดอมชีวาวราตาเซวา[5] รวมถึงเพลงที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของวงอย่าง บอจนาชาโวกลาเว ได้ไปคัดลอกทำนองเพลง ซีวีซอกอเล[6]
สิ่งสืบเนื่อง
[แก้]หนึ่งในเพลงดังของวงดนตรีอย่าง ลีเยพาลิซี (ช่างสวยงามเหลือเกิน) ซึ่งอยู่ในสตูดิโออัลบั้ม วเยตาซะดินาเร (2541) ถูกใช้บรรเลงและขับร้องโดยชาวโครแอตที่สนับสนุนฟุตบอลทีมชาติโครเอเชียระหว่างการแข่งขันในช่วงครึ่งหลังที่สนามกีฬามักซีมือร์ เมื่อ พ.ศ. 2550[7]
ผลงานเพลง
[แก้]สตูดิโออัลบั้ม
[แก้]- 2534 – บอจนาชาโวกลาเว
- 2535 – มอลิมาลา
- 2538 – วรีเยเมชกอปิออนา
- 2539 – เกนีกาเมนี
- 2541 – วเยตาซะดินาเร
- 2545 – อีมอจนาโรเด
- 2549 – บีโลเยดินอมอูฮวาตสกอจ
- 2554 – กลาสบาอิซฟลีมายอเซฟ
- 2556 – ออราเอดลาโบลา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Croatia Records". Crorec.hr. สืบค้นเมื่อ 5 February 2014.
- ↑ mir.net.au. "BlackCro Presents-MP Thompson 2005 Concert Tour Australia". Mir.net.au. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2014. สืบค้นเมื่อ 5 February 2014.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "Backgrounder: Marko Perkovic and Thompson". ADL.org. Anti-Defamation League. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2008.
- ↑ "Ne žele "fašiste": Thompsonu zabranjen koncert i ulaz u Švicarsku". Nacional.hr. 29 September 2009.
- ↑ "PLAGIJATOR: Tompson od četničke pesme napravio ustašku?! (VIDEO)". Telegraf. 8 October 2013.
- ↑ "Tompson od četničke pesme napravio ustašku?". Vesti.
- ↑ "Šimunić: Zašto nam nisu pustili Thompsona? - Sport". Index.hr. 14 October 2007. สืบค้นเมื่อ 5 February 2014.