ทวี เกตะวันดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทวี เกตะวันดี
เกิด21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475
จังหวัดเลย
เสียชีวิต13 เมษายน พ.ศ. 2517 (42 ปี)
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
นามปากการมย์ รติวัน
รอย ฤทธิรณ
เครียว คนกลางคืน
แชน อรชุน
"แคน", "ดาวสีฟ้า"
เคน คนนา
บุษบา เริงชัย [1]
อาชีพนักเขียน นักหนังสือพิมพ์
คู่สมรสละม่อม ศุภฤกษ์

ทวี เกตะวันดี เป็นนักหนังสือพิมพ์ นักเขียนนวนิยาย เรื่องสั้น บทภาพยนตร์ และเป็นคอลัมนิสต์ให้กับหนังสือพิมพ์สยามรัฐ เดลินิวส์ เดลิเมล์ เป็นดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนักข่าวฯ 3 สมัย ระหว่าง พ.ศ. 2506-2508 [1]

ประวัติ[แก้]

ทวี เกตะวันดี เกิดเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 ที่บ้านหัวสะพานน้ำหมาก ตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย [2] เดินทางเข้ามาศึกษาต่อที่โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ โดยในระหว่างเรียนได้เริ่มเขียนเรื่องสั้น ตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ "นครหลวง" และเขียนคอลัมน์ใน สยามรัฐ จากนั้นเริ่มทำงานที่สถานีรถไฟบางกอกน้อย ก่อนจะลาออกไปทำงานกับสำนักพิมพ์ไทยพาณิชยการของอารีย์ ลีวีระ มีหน้าที่เก็บบล็อก ของหนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย และสยามนิกร ก่อนจะได้เลื่อนเป็นพนักงานพิสูจน์อักษร และนักข่าวประจำสถานีตำรวจ ต่อมาได้เป็นลูกศิษย์ของอิศรา อมันตกุล และติดตามไปอยู่กับหนังสือพิมพ์เดลิเมล์ และ เดลินิวส์ หลังจากไทยพาณิชยการต้องเลิกกิจการไป หลังเหตุการณ์ฆาตกรรมอารีย์ ลีวีระ

ทวี เกตะวันดี มีผลงานเขียนทั้งเรื่องสั้น เรื่องยาว นวนิยาย และคอลัมน์ตอบปัญหา โดยใช้นามปากกา "รมย์ รติวัน" เขียนเรื่องสั้นและนวนิยาย "รอย ฤทธิรณ" เขียนนวนิยายบู๊ จากนั้นจึงได้เริ่มเขียนบทภาพยนตร์ จากคำแนะนำของมารุต

ทวี เกตะวันดี เสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2517 ขณะอายุ 42 ปี เนื่องจากอาการแพ้ยาหลังจากเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ผลงาน[แก้]

เรื่องสั้น[แก้]

  • หล่อนมีค่าเพียงมิให้จูบปาก [note 1]
  • นาฟางลอย
  • ปุยนุ่นกับดวงดาว
  • ลอมฟาง
  • หยัดอยู่สู้โลกพาลา
  • ก่อนตะวันจะขึ้น
  • หยาดเหงื่อจากหยดชีวิต
  • เสียงแคนและเปียนโน

นวนิยายเรื่องยาว[แก้]

  • กัปตันเครียว
  • นายพันใต้ดิน [note 2]
  • โทน เทวดา นักสู้จากที่ราบสูง (2509)

บทภาพยนตร์[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. เรื่องสั้นเรื่องแรก เขียนโดยใช้ชื่อจริงเป็นนามปากกา ตีพิมพ์ใน "นครหลวง" เมื่อ พ.ศ. 2492
  2. กล่าวถึงชาวบ้านชาวไทยที่ต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ได้รับความนิยม และได้รับการแปลเป็นภาษาญี่ปุ่น

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 คริส สารคามนักเขียนในอดีต 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แสงดาว, พ.ศ. 2542. 263 หน้า. ISBN 974-7343-79-7
  2. รมย์ รติวัน : นักรบผู้ขาดเหรียญ[ลิงก์เสีย]