ข้ามไปเนื้อหา

ทฤษฎีการกำเนิดจักรวาล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ทฤษฎีการกำเนิดจักรวาล (อังกฤษ: cosmogony; cosmogeny) หมายถึงทฤษฎีใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับที่มาของของตัวตนหรือต้นกำเนิดของจักรวาล หรือต้นตอของความเชื่อเกี่ยวกับความเป็นจริงในกำเนิดของจักรวาล คือ cosmogony มาจากภาษากรีก κοσμογονία หรือ κοσμογενία ที่กลายมาจาก κόσμος ที่แปลว่า cosmos ในบริบทเฉพาะทางวิทยาศาสตร์อวกาศและดาราศาสตร์ ทฤษฎีการกำเนิดจักรวาลหมายถึงทฤษฎีว่าด้วยกำเนิดของระบบสุริยะและการศึกษาเกี่ยวกับระบบสุริยะ เช่น ทฤษฎีเนบิวลาสุริยะ เป็นต้น

ทฤษฎีการกำเนิดจักรวาลสามารถแยกแตกต่างออกจากวิชาจักรวาลวิทยา (Cosmology) ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับจักรวาลโดยรวมและเกี่ยวกับเรื่องราวตัวตนที่เป็นมาโดยตลอดของจักรวาลซึ่งโดยทางเทคนิคจะไม่แตะโดยตรงกับต้นตอแท้ ๆ ของจักรวาล อย่างไรก็ดี ก็ยังมีความคลุมเครือระหว่างระหว่างคำทั้งสองนี้อยู่บ้าง เช่น วิชาจักรวาลวิทยา ถกเถียงไปทางด้าน เทววิทยา ที่เกี่ยวข้องกับการมีตัวตนของพระเจ้ามากกว่าความคิดเกี่ยวกับจักรวาล ในเชิงปฏิบัติก็ยังคงมีความแตกต่างในความคิดทางวิทยาศาสตร์ระหว่าง "ทฤษฎีการกำเนิดจักรวาล" และ "จักรวาลวิทยา"

จักรวาลวิทยากายภาพ เป็นวิทยาศาสตร์ที่พยายามอธิบายถึงการสังเกตการณ์ทั้งหมดที่อยู่ในข่ายของวิวัฒนาการและลักษณะของจักรวาลโดยรวม คำถามที่ว่าทำไมจักรวาลจึงมีพฤติกรรมเป็นไปดังพรรณาไว้โดยนักฟิสิกส์และนักจักรวาลวิทยาว่าเป็นวิชานอกวิทยาศาสตร์ (extra-scientific) แม้จะมีการการอนุมานหลาย ๆ ด้าน จากมุมมองที่รวมถึงการประมาณค่านอกช่วงในทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่จะไม่ทดสอบความคิดเชิงระบอบ เชิงปรัชญาหรือทางศาสนา

ความพยายามที่จะสร้าง "ทฤษฎีการกำเนิดจักรวาล" เชิง"ธรรมชาตินิยม"

ขึ้นอยู่กับข้อจำกัดที่แตกต่างกัน 2 ประการ ข้อแรกตั้งอยู่บนพื้นฐานของปรัชญาทางวิทยาศาสตร์และข้อจำกัดทางญาณวิทยาในวิทยาศาสตร์เอง โดยเฉพาะกับข้อห่วงใยที่การสอบสวนเชิงวิทยาศาสตร์จะตั้งคำถามว่า "ทำไม" จักรวาลจึงมีอยู่ได้ อีกข้อหนึ่งที่ค่อนมาทางปัญหาเชิงปฏิบัติคือ การไม่มีรูปจำลองทางกายภาพที่สามารถอธิบาย "ขณะแรกสุด" ของการเกิดจักรวาล ที่เรียกว่าพลังค์ไทม์ (Planck time) ได้เพราะการขาดทฤษฎีที่คงเส้นคงวา ว่าด้วยแรงโน้มถ่วงควอนตัม

ข้อจำกัดทางญาณวิทยาที่มีต่อทฤษฎีการกำเนิดจักรวาล

[แก้]

ข้อสมมุติของฝ่ายธรรมชาตินิยมที่เน้นวิธีการเชิงวิทยาศาสตร์ได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์บางคนโดยเฉพาะสาขาการวิจัยเชิงสังเกตตั้งคำถามว่าจริง ๆ แล้วเหตุผลขั้นอันติมะ (ultimate) หรือต้นตอแห่งการมีอยู่ของจักรวาลจะอธิบายด้วยคำตอบทางวิทยาศาสตร์ได้หรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อ "หลักการแห่งเหตุผลอันเพียงพอ" (principle of sufficient reason) ดูเหมือนจะบ่งชี้ไปได้ว่าน่าจะมีคำตอบเช่นว่านี้ได้ แต่คำอธิบายที่น่าพอใจทางวิทยาศาสตร์จะได้มาจากการสอบสวนเชิงวิทยาศาสตร์หรือไม่ ยังเป็นเรื่องที่ต้องโต้เถียงกันได้มาก การตรวจสอบทฤษฎีการกำเนิดจักรวาลด้วยวิทยาศาสตร์ โดยใช้แบบจำลองทางกายภาพที่มีอยู่เดิมย่อมต้องพบกับความท้าทายมากพอควร ตัวอย่างเช่นสมการที่ใช้พัฒนาแบบจำลองของต้นตอที่มาในตัวมันเองแล้วก็ยังไม่สามารถอธิบายได้ว่าจักรวาลเกิดขึ้นมาได้อย่างไร

ข้อจำกัดทางพลังค์ไทม์ที่มีต่อทฤษฎีการกำเนิดจักรวาล

[แก้]

พลังค์ไทม์ (10 ยกกำลังลบ 43 วินาที) คือเวลาที่โฟตอนเดินทางด้วยความเร็วแสงเป็นระยะทางเท่ากับ "ความยาวพลังค์" ได้มีการเสนอให้ใช้เป็น "เวลาควอนตัม" การวัดที่เล็กสุดของเวลาแม้ทฤษฎีฟิสิกส์ปัจจบันยังไม่มีการแจงนับเวลาในเชิงปริมาณ

วิชาที่เกี่ยวข้อง

[แก้]
  • จักรวาลวิทยา (Cosmology)
  • ลัทธิเอมาเนชัน (Emanationism )
  • คุยหจักรวาลวิทยา (Esoteric cosmology)
  • อวสารวิทยา (Eschatology)
  • การดำรงอยู่
  • จักรวาลวิทยาทางอภิปรัชญา (Metaphysical cosmology)
  • จักรวาลวิทยาศาสนา (Religious cosmology)
  • ชะตากรรมขั้นอติมะแห่งจักรวาล (Ultimate fate of the universe)

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]