ตูโปเลฟ ตู-28
![]() | |
บทบาท | เครื่องบินสกัดกั้น |
---|---|
ชาติกำเนิด | ![]() |
บริษัทผู้ผลิต | ตูโปเลฟ |
บินครั้งแรก | พ.ศ. 2502 |
เริ่มใช้ | พ.ศ. 2506 |
ปลดประจำการ | พ.ศ. 2535 (รัสเซีย) |
สถานะ | ปลดประจำการ |
ผู้ใช้งานหลัก | กองกำลังป้องกันทางอากาศโซเวียต |
ช่วงการผลิต | พ.ศ. 2506-2513 |
จำนวนที่ผลิต | 188 ลำ |
แบบอื่น | ดูที่นี่ |
ตูโปเลฟ ตู-28/ตู-128 (อังกฤษ: Tupolev Tu-28 Fiddler) (นาโต้เรียกมันว่าฟิดเดลอร์) เป็นเครื่องบินสกัดกั้นพิสัยไกลที่ออกแบบโดยสหภาพโซเวียตเมื่อทศวรรษที่ 1960 มันยังคงเป็นเครื่องบินขับไล่ที่ใหญ่ที่สุดของโลก
การออกแบบและการผลิต[แก้]
ในปีพ.ศ. 2498 การป้องกันทางอากาศของโซเวียตหรือพีวีโอ (Soviet Anti-Air Defense) ได้ประกาศข้อจำกัดของเครื่องบินสกัดกั้นพิสัยไกลเพื่อป้องกันอาณาเขตอันกว้างใหญ่ของสหภาพโซเวียต ซึ่งกว้างมากจนสภาพทางเศรษฐกิจก็ไม่เพียงพอที่จะสร้างฐานป้องกันทางอากาศได้ทั้งหมด เพื่อสร้างพิสัยและความสามารถในการติดตั้งเรดาร์และขีปนาวุธอากาศสู่อากาศที่จำเป็น ตูโปเลฟจึงได้สร้างเครื่องบินที่คล้ายคลึงกับเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบตู-105 (ตู-22) ขึ้นมา
หัวหน้าการสร้างตูโปเลฟ ตู-28 คือไอ เนซวัล[1] ตู-102ทำการบินครั้งแรกในปีพ.ศ. 2502 พร้อมกับรุ่นที่เริ่มปฏิบัติการ ตู-28พีที่เข้าสู่การผลิตในปีพ.ศ. 2506 ต่อมามันถูกแทนที่ในการผลิตโดยตู-128 แบบสุดท้าย
ด้วยการใช้พื้นฐานจากเครื่องบินทิ้งระเบิดเหนือเสียงตู-98 ที่ไม่ประสบความสำเร็จ มันมีปีกลู่ขนาดใหญ่ที่ด้านใต้มีล้ออยู่ภายในปีกและปีกหางแนวนอน มีเครื่องยนต์ไอพ่นเทอร์โบ ไลยูก้า เอแอล-7เอฟ-2 สองเครื่องยนต์ติดอยู่ที่ลำตัว ไม่เหมือนกับตู-22 ที่มันนั้นไม่มีห้องเก็บอาวุธภายในลำตัว อาวุธจะติดตั้งอยู่ที่ใต้ปีกพร้อมกับมีลำตัวไว้เพื่อถังเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ ตู-28พีมีสองที่นั่งเรียงกันพร้อมฝาเปิดที่แยกจากกัน
ผู้เชี่ยวชาญฝั่งตะวันตกคิดว่าตู-102 มีเรดาร์ที่ท้องขนาดใหญ่ แต่ส่วนที่นูนนั้นจริงๆ แล้วเป็นเพียงอุปกรณ์ทดสอบเท่านั้น การผลิตตู-28พีให้มีส่วนคล้ายโดมที่เรียกว่าเรโดม (radome) สำหรับเรดาร์ที่เรียกว่าสเมิร์ช (Smerch) ซึ่งมีระยะตรวจจับได้ประมาณ 50 กิโลเมตรและล็อกเป้าหมายได้ประมาณ 40 กิโลเมตร ถึงแม้ว่าพลังเรดาร์ของมันจะดี เครื่องบินก็ยังต้องพึ่งพาการสกัดกั้นที่ควบคุมจากพื้นดินเพื่อชี้เป้าให้กับนักบิน หลายปีต่อมามันมักทำงานคู่กับตู-126 ในฐานะเครื่องบินสกัดกั้นตู-28พีจึงไม่มีระบบต่อต้านอิเลคทรอนิกหรือระบบป้องกันอื่นๆ ไม่มีแม้กระทั่งเรดาร์เตือนภัยอย่างของซุคฮอย
ตู-128 เป็นเครื่องบินสกัดกั้นสมบูรณ์และด้วยน้ำหนักบรรทุกที่ปีกที่สูง ระบบอิเลคทรอนิกที่ไม่ทันสมัย และทัศนวิสัยที่แย่ ทำให้มันเป็นเครื่องบินที่ไม่คล่องแคล่วอย่างไม่ต้องสงสัย มันถูกมอบหมายให้โจมตีเครื่องบินทิ้งระเบิดของนาโต้เป็นหลัก อย่าง บี-52 ไม่ใช่การต่อสู้กับเครื่องเครื่องินขนาดเล็กลำอื่น
อาวุธของตู-128 คือขีปนาวุธอากาศสู่อากาศบิสโนวัท อาร์-4 โดยมักมีอาร์-4อาร์สองลูกและอาร์-4ทีสองลูก ถึงแม้ว่าขีปนาวุธเหล่านี้จะโบราณ แต่มันก็ไม่เคยถูกแทนที่ด้วยอาวุธที่ใหม่กว่าเลย
การผลิตตู-128 สิ้นสุดลงในปีพ.ศ. 2513 พร้อมเครื่องบินทั้งสิ้น 188 ลำที่ถูกสร้างออกมา นอกจากนั้นยังทีแบบสำหรับฝึกอีก 10 ลำที่ถูกผลิตขึ้นในปีพ.ศ. 2514 และอีก 4 ลำดัดแปลงมาจากเครื่องบินขับไล่ ใช้ชื่อว่าตู-128ยูทีพร้อมห้องนักบินเพิ่มที่ด้านหน้าสำหรับนักบินแทนที่เรดาร์ โครงการพัฒนาที่ใช้ชื่อตู-138 และตู-148 ถูกละทิ้งก่อนที่จะมีการดำเนินการเพิ่ม
ประวัติการใช้งาน[แก้]
ตู-28 ได้รับการรายงานต่อสาธารณะในการต่อสู้เพียงครั้งเดียวโดยได้ทำลายบอลลูนสอดแนมของนาโต้ไปเท่านั้น แต่ในภารกิจสกัดกั้นการสอดแนมมักจะไม่รายงาน เป็นไปได้ว่าอาจมีหลายเหตุการณ์ที่ไม่เคยเปิดเผยต่อสาธารณะ
เครื่องบินทั้งหมดยังคงอยู่ในประจำการจนถึงทศวรรษที่ 1980 ตู-128 ได้ถูกปลดประจำการเพื่อเครื่องบินที่ใหม่กว่าอย่างมิก-31 แม้ว่ามีจำนวนเล็กน้อยที่ยังคงอยู่ในปลายปีพ.ศ. 2535
แบบต่างๆ[แก้]
- ตู-102
- เป็นเครื่องบินทดสอบ ถูกสร้างเพียงหนึ่งลำ
- ตู-28พี ('ฟิดเดลอร์-เอ')
- แบบแรกที่เข้าสู่การผลิต
- ตู-128 ('ฟิดเดลอร์-บี')
- แบบสุดท้ายที่เข้าสู่การผลิต
- ตู-128ยูที
- รุ่นสำหรับการฝึกพร้อมห้องนักบินเพิ่มที่ส่วนหน้าแทนที่เรดาร์ สร้างออกมา 10 ลำและอีก 4 ลำถูกดัดแปลงมาจากเครื่องบินขับไล่
- ตู-138
- โครงการพัฒนา ถูกละทิ้งเพื่อแบบอื่น
- ตู-148
- ครงการพัฒนา ถูกละทิ้งเพื่อแบบอื่น
ประเทศผู้ใช้งาน[แก้]
- กองกำลังป้องกันทางอากาศของโซเวียต
รายละเอียด ตู-28[แก้]
- ลูกเรือ 2 นาย นักบินและผู้ใช้เรดาร์
- ความยาว 27.2 เมตร
- ความยาวระหว่างปลายปีกทั้งสอง 18.1 เมตร
- ความสูง 7 เมตร
- พื้นที่ปีก 80 ตารางเมตร
- น้ำหนักเปล่า 24,500 กิโลกรัม
- น้ำหนักบรรทุก 40,000 กิโลกรัม
- ขุมกำลัง เครื่องยนต์ไอพ่นเทอร์โบไลยูก้า เอแอล-7เอฟ 2 สองเครื่อง ให้แรงขับเครื่องละ 24,300 เมื่อใช้สันดาปท้าย
- ความเร็วสูงสุด 1.65 มัค (1,740 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
- พิสัย 3,200 กิโลเมตร
- น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 43,545 กิโลกรัม
- อัตราการไต่ระดับ 24,600 ฟุตต่อนาที
- เพดานบินใช้งาน 18,000 ฟุต
- บินทน 3.5 ชั่วโมง
- อาวุธ ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศบิสโนวัท อาร์-4 สี่ลูก (สองลูกนำวิถีด้วยเรดาร์ อีกสองลูกใช้อินฟราเรด)
ดูเพิ่ม[แก้]
- ตูโปเลฟ ตู-22
- ตูโปเลฟ ตู-98
- ลาวอชคิน ลา-250
- มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-25
- มิโคยัน มิก-31
- ซุคฮอย ซู-15
- ยาโกเลฟ ยัค-28
- ซีเอฟ-105 แอร์โรว์
- เอฟ-101 วูดู
- เอฟ-106 เดลต้า ดาร์ท
อ้างอิง[แก้]
- ↑ http://www.russiafile.com/tu28.htm
- ↑ อภิวัตน์ โควินทรานนท์,อากาศยาน1979ฉบับเครื่องบิน,เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์,กรุงเทพ,2522