ตามัล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตามัล
ตามัลที่อยู่ในห่อและที่แกะห่อแล้วจากรัฐวาฮากา สอดไส้ โมเลเนโกร ("ซอสดำ") และเนื้อไก่
แหล่งกำเนิดมีโซอเมริกา
ภูมิภาคอเมริกาเหนือ
ส่วนผสมหลักมาซา (แป้งโดข้าวโพดชนิดหนึ่ง), ตองกล้วย
รูปแบบอื่นโกรุนดา, กัวโฆโลตา, อูเชโป, ซากาอุยล์
จานอื่นที่คล้ายกันอูมิตา, ปาโมญา

ตามัล (สเปน: tamal) เป็นอาหารมีโซอเมริกาดั้งเดิมชนิดหนึ่ง ทำจากมาซา (แป้งโดที่ทำจากเมล็ดข้าวโพดแช่น้ำปูนใส) นึ่งในใบข้าวโพดหรือตองกล้วย[1] โดยสามารถแกะเอาใบห่อทิ้งก่อนกินหรือใช้เป็นที่รองขณะกินก็ได้ อาจสอดไส้เนื้อสัตว์ เนยแข็ง ผลไม้ ผัก พริกที่ปรุงรสแล้ว หรืออื่น ๆ ตามต้องการ

ตามัลมีต้นกำเนิดในมีโซอเมริกาตั้งแต่ 8,000 ถึง 5,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช[1] การทำตามัลน่าจะแพร่กระจายจากวัฒนธรรมพื้นเพดั้งเดิมในเม็กซิโกและกัวเตมาลาไปยังส่วนอื่นของลาตินอเมริกา นักโบราณคดีคาร์ล เทาเบอ, วิลเลียม แซเทิร์น และเดวิด สจวร์ต เห็นว่าตามัลอาจมีอายุย้อนไปถึง ค.ศ. 100 พวกเขาพบภาพอาหารชนิดนี้ในจิตรกรรมฝาผนังที่แหล่งโบราณคดีซานบาร์โตโลในจังหวัดเปเตนของกัวเตมาลา[2]

เช่นเดียวกับในอารยธรรมโอลเมกและทอลเทกที่เจริญรุ่งเรืองมาก่อนหน้า ตามัลในอารยธรรมแอซเทกและมายาถือเป็นอาหารที่พกพาได้สะดวกทั้งในการออกล่าสัตว์ การเดินทางไกล หรือการส่งเสบียงเลี้ยงกองทัพของตน[1] ในสมัยนั้นตามัลยังถือเป็นอาหารศักดิ์สิทธิ์ในฐานะอาหารของเหล่าเทพ ชาวแอซเทก, มายา, โอลเมก และทอลเทกต่างถือว่าตนเองเป็น "คนของข้าวโพด" ดังนั้นตามัลจึงมีบทบาทสำคัญในพิธีกรรมและเทศกาลต่าง ๆ ของพวกเขา[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Daniel., Hoyer (2008). Tamales (1st ed.). Salt Lake City, Utah: Gibbs Smith. ISBN 9781423603191. OCLC 199465927.
  2. William A. Saturno, Karl A. Taube and David Stuart 2005 The Murals of San Bartolo, EI Peten, Guatemala, Part 1: The North Wall. Ancient America, Number 7. Center for Ancient American Studies, Barnardsville, NC.
  3. Clark, Ellen Riojas; Tafolla, Carmen (2011). Tamales, comadres and the meaning of civilization : secrets, recipes, history, anecdotes, and a lot of fun. San Antonio, TX: Wings Press. ISBN 9781609401344. OCLC 714645014.