ข้ามไปเนื้อหา

ดิอินโนเซนส์ออฟมุสลิม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดิอินโนเซนส์ออฟมุสลิม
กำกับนาคูลา เบสลีย์ นาคูลา
เขียนบทนาคูลา เบสลีย์ นาคูลา
อำนวยการสร้างนาคูลา เบสลีย์ นาคูลา
ความยาว120 นาที [1]
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ภาษาอังกฤษ

ดิอินโนเซนส์ออฟมุสลิม เป็นภาพยนตร์อิสระ เกี่ยวกับศาสนาและการเมือง เข้าใจว่าเขียนและกำกับโดย นาคูลา เบสลีย์ นาคูลา (Nakoula Basseley Nakoula) โดยใช้ชื่อแฝงว่า "แซม บาซิล" (Sam Bacile) นอกจากนี้ ยังอ้างว่าเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชาวอิสราเอล-ยิว มีรายงานภายหลังว่า เขาเป็นชาวอียิปต์โดยกำเนิด นับถือศาสนาคริสต์นิกายคอปติก และในอดีตเคยใช้สมนามมาแล้วหลายชื่อ[2][3][4][5]

เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 ผู้สร้างได้เผยแพร่บางส่วนของภาพยนตร์ ความยาว 14 นาที ผ่านทางเว็บไซต์ยูทูบ มีผู้แปลเป็นภาษาอารบิกและก่อให้เกิดการประท้วงอย่างรุนแรง หนังสือพิมพ์เดลีเทเลกราฟรายงานว่า ภาพยนตร์นำเสนอภาพของศาสดามุฮัมมัดในแบบตลกร้าย เป็นทั้งโรครักเด็ก (Pedophilia) รักร่วมเพศ และมีฉากเพศสัมพันธ์ในภาพยนตร์ [6]

ปฏิกิริยา

[แก้]

ทางการอัฟกานิสถานได้ทำการปิดกั้นเว็บไซต์ยูทูบ เพื่อไม่ให้ชาวอัฟกันได้รับชมภาพยนตร์ตัวอย่าง [7]

ในอียิปต์และลิเบีย ชาวมุสลิมผู้โกรธแค้นได้ก่อการประท้วง มีการปิดล้อมและทลายกำแพงสถานทูตสหรัฐประจำกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ และใช้เครื่องยิงจรวดโจมตีสถานกงสุลสหรัฐในเบงกาซี ประเทศลิเบีย เมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2012 ทำให้เจ้าหน้าที่การทูตสหรัฐเสียชีวิตอย่างน้อย 4 คน รวมทั้งนายคริสโตเฟอร์ สตีเวนส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐในลิเบีย ซึ่งเสียชีวิตจากการสำลักควัน หลังขบวนรถถูกโจมตีขณะกำลังหลบหนี[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Muhammad film: Israeli director goes into hiding after protests
  2. "Correction: Egypt filmmaker story". The Washington Post. Associated Press. September 14, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-24. สืบค้นเมื่อ 2012-09-18.
  3. "Allleged anti-Muslim film producer has drug, fraud convictions". Los Angeles Times. September 13, 2012.
  4. Verrier, Richard. "Was 'Innocence of Muslims' directed by a porn producer?". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ September 16, 2012.
  5. Makarechi, Kia. "Alan Roberts & 'Innocence Of Muslims': Softcore Porn Director Linked To Anti-Islam Film". The Huffington Post. สืบค้นเมื่อ September 16, 2012.
  6. Richard Spencer and Barney Henderson (12 September 2012). "US ambassador to Libya 'killed in attack on Benghazi consulate". Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 12 September 2012.
  7. "Afghanistan bans YouTube to block anti-Muslim film". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-08. สืบค้นเมื่อ 2012-12-08.
  8. "American Killed in Libya Attack". YNetNews.