ข้ามไปเนื้อหา

สุขนาฏกรรมมืด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ตลกร้าย)
หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งพิมพ์เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1825 พิมพ์ "เรื่องราว" ตลกขบขันที่ตะแลงแกงเกี่ยวกับอาชญากรที่มีความปรารถนาสุดท้ายก่อนที่จะถูกตัดศีรษะคือการไปเล่นโบว์ลิง 9 พิน โดยใช้หัวที่ขาดของตัวเองในการเล่นรอบสุดท้าย และยินดีกับความสำเร็จที่ทำสไตรก์ได้

สุขนาฏกรรมมืด, ตลกหนัก หรือ ตลกร้าย (อังกฤษ: Black comedy, Dark comedy, Morbid humor หรือ Gallows humor) เป็นรูปแบบหนึ่งของแนวสุขนาฏกรรม ที่ทำให้ประเด็นละเอียดอ่อนที่โดยทั่วไปถือเป็นเรื่องต้องห้ามให้กลายเป็นเรื่องขบขัน โดยเฉพาะเรื่องที่ปกติถือว่าร้ายแรงหรือเจ็บปวดที่จะพูดคุย นักเขียนและนักแสดงตลกมักใช้เป็นเครื่องมือในการเสาะหาประเด็นหยาบคายโดยกระตุ้นความไม่สบายใจ ความคิดรุนแรง และสร้างความสนุกสนานให้กับผู้ชม ตัวอย่างเช่นในบันเทิงคดี คำว่า สุขนาฏกรรมมืด สามารถหมายถึงแนวเรื่องที่มีตลกร้ายเป็นองค์ประกอบหลัก แก่นเรื่องยอดนิยมของแนวเรื่องนี้ได้แก่ ความตาย อาชญากรรม ความยากจน การฆ่าตัวตาย สงคราม ความรุนแรง การก่อการร้าย การเลือกปฏิบัติ โรคภัยไข้เจ็บ การเหยียดเชื้อชาติ การกีดกันทางเพศ และเรื่องเพศสภาพของมนุษย์

สุขนาฏกรรมมืดแตกต่างจากบลูคอเมดี (blue comedy) ซึ่งเน้นไปที่หัวข้อหยาบคาย เช่น การเปลือย เพศ และของเหลวในร่างกาย และแตกต่างจากความลามกอย่างตรงไปตรงมา คำว่าสุขนาฏกรรมมืด หรือ black comedy เป็นคำที่ค่อนข้างกว้างซึ่งครอบคลุมอารมณ์ขันที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ร้ายแรงหลายอย่าง ส่วนคำว่า gallows humor (ความหมายโดยตรงคือ "อารมณ์ขันที่ตะแลงแกง") มีแนวโน้มที่จะใช้โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความตายหรือสถานการณ์ที่ชวนให้นึกถึงการตาย บางครั้งตลกร้ายอาจเกี่ยวข้องกับงานแนววิลักษณ์[1] นักวิจารณ์วรรณกรรมได้เชื่อมโยงเรื่องสุขนาฏกรรมมืดว่าเกี่ยวข้องกับนักเขียนตั้งแต่ชาวกรีกโบราณอริสโตฟานเนส[2][3][4][5][6][7] 

อ้างอิง

[แก้]
  1. Merhi, Vanessa M. (2006) Distortion as identity from the grotesque to l'humour noir
  2. Dark Humor. Edited by Blake Hobby. Chelsea House Press.
  3. "Black humour". britannica.com. สืบค้นเมื่อ April 15, 2018.
  4. Garrick, Jacqueline and Williams, Mary Beth (2006) Trauma treatment techniques: innovative trends pp.175–6
  5. Lipman, Steve (1991) Laughter in hell: the use of humor during the Holocaust, Northvale, N.J:J Aronson Inc.
  6. Bloom, Harold (2010) Dark Humor, ch. On dark humor in literature, pp.80–88
  7. Freud (1927) Humor