ฐานตั้งระบบขอบฟ้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กล้องที่ใช้ฐานตั้งระบบขอบฟ้า ผลิตในสหภาพโซเวียตในปี 1958 สำหรับภูมิมาตรศาสตร์

ฐานตั้งระบบขอบฟ้า (อังกฤษ: altazimuth mount หรือ alt-azimuth mount) คือฐานตั้งที่ใช้สำหรับหันอุปกรณ์โดยหมุนไปตามระบบพิกัดขอบฟ้า ซึ่งประกอบด้วยแกนตั้งคือมุมเงย และแกนนอนคือมุมทิศ ฐานตั้งประเภทนี้มีโครงสร้างที่เรียบง่ายและต้นทุนต่ำ และสามารถใช้กับเครื่องมือต่าง ๆ เช่น กล้องโทรทรรศน์ กล้องถ่ายภาพ สายอากาศ หรือแผงเซลล์แสงอาทิตย์

การประยุกต์ใช้[แก้]

ภูมิมาตรศาสตร์[แก้]

กล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ฐานตั้งระบบขอบฟ้าสามารถใช้ในภูมิมาตรศาสตร์ เป็นเครื่องมือสำคัญในงานวัดค่าเพื่อการก่อสร้าง โดยเฉพาะในสถานที่ที่ยากต่อการเข้าถึง

ดาราศาสตร์[แก้]

กล้องโทรทรรศน์แบบนิวตันที่ติดตั้งบนฐานตั้งระบบขอบฟ้า

เมื่อใช้ในกล้องโทรทรรศน์ดาราศาสตร์ ข้อได้เปรียบที่สำคัญที่สุดของฐานตั้งแบบนี้คือความเรียบง่ายของการออกแบบกลไก ส่วนข้อเสียเปรียบหลักคือไม่สามารถติดตามแกนการหมุนได้เหมือนอย่างฐานตั้งระบบศูนย์สูตร โดยวัตถุที่เคลื่อนที่ในท้องฟ้ายามค่ำคืน เนื่องจากการหมุนของโลก ถ้าเป็นฐานตั้งระบบศูนย์สูตรจะแค่หมุนแกนเดียวด้วยความเร็วคงที่เพื่อติดตามวัตถุท้องฟ้า ฐานตั้งระบบขอบฟ้าไม่เพียงแต่ต้องหมุนแกนสองแกนไปพร้อมกันเท่านั้น แต่ยังต้องเปลี่ยนความเร็วในการหมุนในแกนต่าง ๆ ไปตลอดเวลา และยังจำเป็นต้องหมุนมุมของขอบเขตการมองเห็นอีกด้วย[1] แต่เนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และระบบขับเคลื่อนสองแบบดิจิทัลได้ขจัดข้อบกพร่องนี้ ดังนั้นกล้องโทรทรรศน์รูรับแสงขนาดใหญ่จำนวนมากในหอดูดาวสมัยใหม่จึงใช้ฐานตั้งระบบขอบฟ้า เพื่อลดการสูญเสียความแม่นยำซึ่งเกิดจากการเสียรูปทางกล

สำหรับในกล้องโทรทรรศน์ที่ใหญ่ ต้นทุนของการติดตั้งฐานตั้งระบบศูนย์สูตรนั้นสูงมาก ดังนั้นจึงถูกแทนที่ด้วยฐานตั้งระบบขอบฟ้าที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์[2] โครงสร้างที่เรียบง่ายของฐานตั้งระบบขอบฟ้าสามารถลดต้นทุนได้อย่างมาก ซึ่งเพียงพอที่จะนำมาใช้เพื่อพัฒนากลไกการติดตามและชี้ภาพที่ดีขึ้น[3] ฐานตั้งระบบขอบฟ้ายังสามารถลดราคาโครงสร้างของโดมที่คลุมล้อมกล้องโทรทรรศน์ด้วย[4]

รวมถึงกล้องโทรทรรศน์ดาราศาสตร์ที่สร้างขึ้นเองโดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นบางรุ่นซึ่งออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับการสังเกตการณ์ด้วยภาพที่มีกำลังขยายต่ำก็ยังใช้ฐานตั้งระบบขอบฟ้า เพื่อลดต้นทุนและน้ำหนัก เช่น กล้องโทรทรรศน์แบบดอปสัน และ กล้องโทรทรรศน์แบบ GoTo

อ้างอิง[แก้]

  1. Mahra, H. S.; Karkera, B. N. (1985). "Field rotation with altazimuth mounting telescope". Bull. Astron. Soc. India. 13: 88.
  2. "Pierre Léna, François Lebrun, François Mignard, Observational astrophysics, page 147". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-26. สืบค้นเมื่อ 2018-12-13.
  3. Dawe, J. A.; Watson, F. G. (1985). "Design for a large altazimuth Schmidt telescope". Occas. Rep. R. Obs., Edinb. 16: 15-18.
  4. "Siegfried Marx, Werner Pfau, Astrophotography with the Schmidt telescope, page 18". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-26. สืบค้นเมื่อ 2018-12-13.