ซานเลอูโช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ซานลูซิโอ)
พระราชวังและสวนในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 ที่กาแซร์ตา สะพานส่งน้ำที่วันวีเตลลี และกลุ่มอาคารซานเลอูโช *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ซานเลอูโช
ประเทศธงของประเทศอิตาลี อิตาลี
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(i) (ii) (ii) (iv)
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2540 (คณะกรรมการสมัยที่ 21)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

ซานเลอูโช (อิตาลี: San Leucio) เป็นตำบลในเมืองกาแซร์ตาในคัมปาเนียทางตอนใต้ของอิตาลี ที่มีชื่อเสียงจากการเป็นรีสอร์ตที่สร้างขึ้นจากโรงงานไหมเก่า ซานเลอูโชตั้งอยู่ราว 3.5 กิโลเมตรทางตะวันตกเฉียงใต้ของกาแซร์ตา และอยู่สูง 145 เมตรจากระดับน้ำทะเล

ซานเลอูโชได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี ค.ศ. 1997[1]

ประวัติ[แก้]

ในปี ค.ศ. 1750 พระเจ้าคาร์ลที่ 7 แห่งเนเปิลส์มีพระบรมราชโองการในมนตรีแบร์นาร์โด ตานุชชีเลือกที่ตั้งที่เดิมเป็นเรือนล่าสัตว์สสำหรับตระกูลอากวาวีวา สำหรับการก่อสร้างสถานที่สำหรับการทดลองทางสังคมและเทคโนโลยี ซึ่งเป็นโครงการผสมระหว่างการสร้างประชาคมที่สนองทั้งความต้องการทางด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และความต้องการทางสังคม ในระยะแรกซานเลอูโชเป็นสถานที่สำหรับการพักผ่อนจากการหาความสำราญในการล่าสัตว์ที่สร้างบนซากวัดซานเลอูโชที่สะพานส่งน้ำนำน้ำจากน้ำตกไปยังพระราชวังกาแซร์ตาที่ออกแบบโดย สถาปนิกลุยจี วันวีเตลลี พระราชโอรสองค์ที่สามในพระเจ้าคาร์ล พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 4 แห่งเนเปิลส์ทรงสร้างตำหนักล่าสัตว์ส่วนพระองค์ ณ ที่นั้น พระองค์ทรงเป็นนักล่าสัตว์ผู้มีความสามารถและไม่โปรดชีวิตอันหรูหราในราชสำนัก ซานเลอูโชจึงได้รับการเลือกโดยพระเจ้าคาร์ลและพระราชโอรสทรงสร้างโรงงานไหม กลุ่มสิ่งก่อสร้างกลายมาเป็นสถานที่สำหรับผลิตไหมซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างประเภทที่ล้ำยุคของคริสต์ศตวรรษที่ 18 สถาปนิกฟรานเชสโค โคลเลชินีเป็นผู้ออกแบบโรงงานอุตสาหกรรม ที่กี่ที่ส่งเสียงดังติดตั้งเคียงข้างกับห้องชุดที่ประทับและห้องนั่งเล่นกลายเป็นชาเปลสำหรับคนงาน

จากนั้นก็ได้มีการสร้างหมู่บ้านสำหรับคนงานที่ขยายตัวจนกลายเป็นเมืองอุตสาหกรรม ที่ในปี ค.ศ. 1789 กลายเป็น "Real Colonia dei Setaioli" ("ราชอาณานิคมช่างทอไหม") พระเจ้าเฟอร์ดินานด์มีพระราชประสงค์ที่จะทำการขยายให้ใหญ่โตขึ้นเป็นเมืองใหญ่ที่เรียกว่า "แฟร์ดีนันโดโปลี" แต่ต้องมาหยุดยั้งลงเนื่องมาจากการรุกรานของฝรั่งเศส

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของซานเลอูโชที่เลื่องลือไปทั่วยุโรปได้รับการใช้เป็นแบบฉบับ สมาชิกของประชาคมมีอภิสิทธิ์เทียบเท่ากับระบบการประกันสังคมในปัจจุบัน การปฏิวัติในปี ค.ศ. 1799 ยุติความก้าวหน้าของโครงการสร้างแฟร์ดีนันโดโปลีโดยกะทันหัน แต่รีสอร์ตซานเลอูโชเจริญตัวขึ้นระหว่างการยึดครองของฝรั่งเศสระหว่าง ค.ศ. 1806 จนถึง ค.ศ. 1815

อ้างอิง[แก้]

  1. UNESCO: 18th-Century Royal Palace at Caserta with the Park, the Aqueduct of Vanvitelli, and the San Leucio Complex[1]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ซานเลอูโช