ซากิร ไนค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซากิร ไนค์
ไนค์ในมัลดีฟส์เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2010
เกิด (1965-10-18) 18 ตุลาคม ค.ศ. 1965 (58 ปี)
มุมไบ รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย
การศึกษาMBBS[1]
ศิษย์เก่า
อาชีพประธานองค์กร Islamic Research Foundation, นักเทศน์
ปีปฏิบัติงาน1991–ปัจจุบัน
มีชื่อเสียงจากดะอ์วะฮ์
ผู้ก่อตั้งรายการพีซทีวี, พีซทีวี บังกลา, พีซทีวี อุรดู และพีซทีวี จีน
กรรมการในIslamic Research Foundation,[2] iERA,[3][4] Islamic International School และ United Islamic Aid[5]
คู่สมรสฟัรฮัต ไนค์[6][7][8]
บุตรฟาริก ไนค์[9][10][11] รุชด้า ไนค์[9]
รางวัลรางวัลทางการของกษัตริย์ไฟซัลสำหรับการทำงานให้กับอิสลาม, 2015
เว็บไซต์

ซากิร อับดุลการีม ไนค์ (อังกฤษ: Zakir Abdul Karim Naik)[12] (เกิด 18 ตุลาคม ค.ศ. 1965) เป็นชาวอินเดียที่นับถือศาสนาอิสลาม มีอาชีพเป็นนักเทศน์อิสลาม[13][14] และเป็นผู้ก่อตั้งพร้อมกับเป็นประธานขององค์กร Islamic Research Foundation (IRF)[1][15][16] รวมถึงผู้ก่อตั้งช่องพีซทีวีในยูทูบ ที่มีคนดูกว่า 200 ล้านคน[17][18] เขาได้รับการเรียกว่าเป็น "ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนาเปรียบเทียบ" สิ่งที่ทำให้เขาไม่เหมือนกับดะอ์วะฮ์คนอื่นตรงที่ การบรรยายของเขาเป็นภาษาพูด,[19] พูดเป็นภาษาอังกฤษ ไม่ใช่อุรดูหรืออาหรับ[20] และมักใส่เสื้อสูทกับเน็กไท[19]

ประวัติ[แก้]

ซากิร ไนค์เกิดที่มุมไบ รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย เขาศึกษาที่วิทยาลัยคิชินชานด์ เชลลาราม แล้วเรียนต่อสาขาเภสัชศาสตร์ที่วิทยาลัยอาชีวะเภสัชศาสตร์นานาชาติโทปิวาละ และได้ปริญญาสาขาเภสัชศาสตร์และศัลยกรรมศาสตร์ (MBBS) ที่มหาวิทยาลัยมุมไบ[1][21]

ในปี ค.ศ. 1991 เขาเริ่มทำงานดะอ์วะฮ์ และก่อตั้งองค์กร Islamic Research Foundation (IRF)[22] ส่วนฟัรฮัต ไนค์ ทำงานอยู่ที่ส่วนของผู้หญิงในองค์กร Islamic Research foundation (IRF)[6][8]

เขากล่าวว่า เขาอยากทำดะอ์วะฮ์เพราะมีแรงบันดาลใจมาจากตอนที่เขาพบกับอะฮ์เหม็ด ดีดัทในปี ค.ศ. 1987[23] (บางครั้ง ไนค์อาจจะถูกเรียกว่า "ดีดัท พลัส")[23][24]

แต่ทว่า รัฐบาลของอินเดียได้แบนช่องพีซทีวีในปี ค.ศ. 2012[25][26] รายงานจาก เดอะนิวยอร์กไทมส์ ในปี ค.ศ. 2015 ได้กล่าวว่า ทางตำรวจมุมไบได้ขวางเขาในงานสัมภาษณ์ "เพราะเขาสร้างข้อขัดแย้ง" และทางสื่ออินเดียได้ปฏิเสธที่จะถ่ายทอดสดช่องของเขา[19]

ในปี ค.ศ. 2016 ในระหว่างที่กำลังประชุมนั้น เขากล่าวว่าเขาไม่ใช่พลเมืองอินเดีย (Non-Resident Indian; NRI)[27][28] และรายงานจากมิดเดิลอีสต์โมนิเตอร์ เขาได้รับสิทธิพลเมืองของประเทศซาอุดีอาระเบียในปี ค.ศ. 2017[29]

การตอบรับ, รางวัล, ตำแหน่ง และเกียรติยศ[แก้]

เขาถูกจัดในอันดับที่ 89 บน The Indian Express หัวข้อ "100 ชาวอินเดียที่มีอิทธิพลที่สุดในปี ค.ศ. 2010"[30] พราวีน สวามิ ได้กล่าวถึงเขาว่า "เป็นชาวซาลาฟีที่มีอิทธิพลที่สุดในอินเดีย"[31] ส่วนซานจิฟ บัตตู กล่าวว่าเขามีความรู้ในศาสนาอิสลามมาก แต่มักมีอคติต่อศาสนาอื่น ๆ[32] สะดานันด์ ธูมี ได้เขียนว่าเขา "สร้างภาพของปัจจุบันอย่างระมัดระวัง" เพราะความมีมารยาทของเขา, การใส่เสื้อสูทกับเน็กไท และคำพูดต่อศาสนาอื่น[33] เขาอยู่ในรายชื่อของหนังสือ ชาวมุสลิมที่มีอิทธิพลทั้ง 500 คน ในรุ่นปี ค.ศ. 2009,[34] 2010, 2011, 2012 และ 2013/2014[35][36]

ปีที่ได้รับรางวัลและเกียรติยศ ชื่อรางวัลและเกียรติยศ ผู้ให้รางวัลและเกียรติยศ
ค.ศ. 2013 รางวัลชาร์ญะฮ์สำหรับการทำงานอาสาสมัคร ค.ศ. 2013[37] สุลต่าน บิน มุฮัมหมัด อัล-กอซีมี มกุฎราชกุมาร และรองผู้ปกครองแห่งชาร์จาห์
ค.ศ. 2014 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ของเหล่าทัพขอสาธารณรัฐแกมเบีย[38] ยะฮ์ยา ญัมมิฮ์ ประธานาธิบดีแกมเบีย
ค.ศ. 2014 'หมอที่มีเมตตากรุณา' (โฮโนริส เคาซา)[39] มหาวิทยาลัยแกมเบีย

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "Dr. Zakir Naik". Islamic Research Foundation. Retrieved 16 April 2011. เก็บถาวร 6 มกราคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Irfunderscanner
  3. Sam Westrop, Charles Jacobs (21 September 2016). "The Salafist Connections To The WhyIslam Billboard Campaign". The Daily Caller. สืบค้นเมื่อ 18 July 2016.
  4. "'Anti-Semitic' charity under investigation". The Daily Telegraph. 24 May 2014. สืบค้นเมื่อ 18 July 2016.
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ siasat
  6. 6.0 6.1 Ramanujan, Sweta. "Beyond veil: Am I not a normal Muslim girl?". expressindia.com. Indian Express Group. 16 July 2004. Retrieved 16 April 2011. เก็บถาวร 24 มีนาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 16 April 2011.
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Gambia1
  8. 8.0 8.1 Aishath Aniya (May 29, 2010). "Comment: An evening with Mrs Naik". Minivan News – Archive.
  9. 9.0 9.1 "Your KiniGuide to Muslim scholar Zakir Naik". Malaysiakini. 12 April 2016. สืบค้นเมื่อ 18 July 2016.
  10. Mok, Opalyn (16 April 2016). "Zakir Naik's son warns of powerful lies against Islam by the media (VIDEO)". Malay Mail. สืบค้นเมื่อ 18 July 2016.
  11. Kumar, Krishna (15 July 2016). "Zakir Naik's son Fariq now under Mumbai police scanner". ET Bureau. Economic Times. สืบค้นเมื่อ 18 July 2016.
  12. "Zakir Naik to leave for African tour". Hindustan Times. สืบค้นเมื่อ 2016-07-12.
  13. Hope, Christopher. "Home secretary Theresa May bans radical preacher Zakir Naik from entering UK". The Daily Telegraph. 18 June 2010. Retrieved 7 August 2011. เก็บถาวร 2011-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 7 August 2011.
  14. Shukla, Ashutosh. "Muslim group welcomes ban on preacher". Daily News and Analysis. 22 June 2010. Retrieved 16 April 2011. เก็บถาวร 2012-01-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 7 August 2011.
  15. Washington Post. "This Islamic preacher might have influenced one of the Dhaka terrorists. Now Indians want him banned". สืบค้นเมื่อ 16 July 2016.
  16. "Islamic Research Foundation". Irf.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-17. สืบค้นเมื่อ 2013-12-03.
  17. Zakir Naik (15 July 2016). "IS PEACE TV AN ILLEGAL CHANNEL? DR ZAKIR NAIK". Official Youtube Channel of DR ZAKIR NAIK. สืบค้นเมื่อ 18 January 2018.
  18. RASHID (21 July 2013). "Peace TV network crosses 200 million viewership". Arab News. สืบค้นเมื่อ 18 January 2018.
  19. 19.0 19.1 19.2 Hubbard, Ben (2 March 2015). "Saudi Award Goes to Muslim Televangelist Who Harshly Criticizes U.S." The New York Times. สืบค้นเมื่อ 1 July 2015.
  20. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ bad-news
  21. Sekaran, Kohilah (11 April 2016). "8 facts you need to know about controversial preacher Dr Zakir Naik [UPDATED]". Astro Awani. สืบค้นเมื่อ 18 May 2016.
  22. "Dr Zakir Naik vs (1) The Secretary of State for the Home Department (2) Entry Clearance Officer, Mumbai, India". British and Irish Legal Information Institute. 5 November 2010. Retrieved 21 July 2011.
  23. 23.0 23.1 Wahab, Siraj. "Spreading God's Word Is His Mission". Arab News. 1 July 2006. Retrieved 16 April 2011. 7 August 2011.
  24. Lloyd Ridgeon (7 March 2001). Islamic Interpretations of Christianity. Palgrave Macmillan. p. 213. ISBN 978-0-312-23854-4.
  25. "Government puts 24 foreign 'hate channels' on notice for showing anti-India TV shows after intelligence alert".
  26. "Ban on Peace TV will be lifted soon: Zakir Naik". Arab News. 2014-07-06. สืบค้นเมื่อ 2015-05-29.
  27. The Free Press Journal. "'NRI' Zakir Naik Has No Plans To Return". สืบค้นเมื่อ 16 July 2016.
  28. Times Of India. "Will return to India only next year: Zakir Naik". สืบค้นเมื่อ 16 July 2016.
  29. "Indian preacher granted Saudi citizenship". Middle East Monitor. 19 May 2017. สืบค้นเมื่อ 20 May 2017.
  30. "The most powerful Indians in 2010: No. 81-90". The Indian Express. 5 February 2010. Retrieved 7 August 2011. เก็บถาวร 13 มกราคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 7 August 2011.
  31. Swami, Praveen (2011). "Islamist terrorism in India". ใน Warikoo, Kulbhushan (บ.ก.). Religion and Security in South and Central Asia. London, England: Taylor & Francis. pp. 52, 61–64. ISBN 9780415575904.
  32. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ bbc1
  33. Dhume, Sadanand. "The Trouble with Dr. Zakir Naik". The Wall Street Journal. 20 June 2010. Retrieved 7 August 2011. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2010. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) 7 August 2011.
  34. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ autogenerated2009
  35. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ list-manage2013
  36. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ themuslim1
  37. "Mohammed presents Islamic personality award to Dr Zakir Naik". 2013-07-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-11. สืบค้นเมื่อ 2015-11-17.
  38. "Dr Yahya Jammeh, Honorable President of the Republic of The Gambia, presented the Highest National Award in The Gambia". 2014-10-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-11. สืบค้นเมื่อ 2015-11-17.
  39. "Honorary Doctorate — 'Doctor of Humane Letters' (Honoris Causa)". 2014-10-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-11. สืบค้นเมื่อ 2015-11-17.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]