ช้างพลายมงคล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลายมงคล
ช้างพลายมงคล แต่งเป็นช้างเอราวัณสามเศียร ในขบวนแห่พิธีโล้ชิงช้า พ.ศ. 2437
สปีชีส์ช้าง
สายพันธุ์ช้างอินเดีย
เพศผู้
เกิดไม่ทราบ
ตายไม่ทราบ
แม่น้ำปิง จังหวัดตาก ประเทศสยาม
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2433–2438
เป็นที่รู้จักสำหรับช้างในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
เจ้าของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร​ (จนถึง พ.ศ. 2438)
เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) (ตั้งแต่ พ.ศ. 2438)

ช้างพลายมงคล เป็นช้างพลายที่มีชื่อเสียงของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร)

ช้างพลายมงคล เป็นลูกช้างพลายที่พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้ส่งมาเป็นของขวัญถวายแด่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เนื่องในพระราชพิธีโสกันต์ เมื่อ พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าให้เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ ซึ่งเป็นพระอภิบาลในเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เป็นผู้ดูแลช้างนั้น

เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ ได้นำช้างพลายมงคลมาเลี้ยงดูที่วังบ้านหม้อของท่าน มอบหมายให้ควาญช้างชื่อ ภู่ เป็นผู้ดูแล จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2437 เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศเสด็จทิวงคต เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ก็ยังเป็นผู้ดูแลพลายมงคลสืบมา

เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ ซึ่งรับราชการกำกับดูแลกรมหมาดเล็ก กรมม้า และกรมมหรสพ ได้ฝึกหัดช้างพลายมงคลให้เล่นละครในคณะละครดึกดำบรรพ์ของท่าน ช้างพลายมงคลมีชื่อเลียงเป็นที่เลื่องลือถึงความแสนรู้ ในการเล่นบทช้างเอราวัณ ในโขนตอนหนุมานหักคอช้างเอราวัณ พลายมงคลจะถูกทาสีขาวทั้งตัว และติดหัวช้างปลอมสองข้าง ในการแสดงละครจะต้องถูกหนุมานหักคอกระดาษ พลายมงคลต้องแกล้งล้มทำทีเป็นตาย และสามารถแสดงได้สมบทบาท เป็นที่ชื่นชอบของคนดู

ในปี พ.ศ. 2442 พลายมงคลเกิดตกมันและทำร้ายผู้คนที่มาแหย่ ครั้งหนึ่งถึงกับอาละวาดทำร้ายตาภู่ ควาญช้างประจำตัวเสียชีวิต พลายมงคลต้องถูกลงโทษนำไปเป็นช้างใช้งานในกรมสุขาภิบาล ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ มีหน้าที่ใช้แรงงานบดถนน ในการก่อสร้างถนนราชดำเนิน

ต่อมาเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ ได้ขอประทานช้างพลายมงคลคืน เพื่อนำไปถวายเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ พระโอรสของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เพื่อนำกลับไปเลี้ยงดูที่บ้านเกิด แต่ช้างพลายมงคลได้ล้มเสียกลางทาง จากการตกน้ำเพราะไปใกล้ตลิ่งเพื่อจะเล่นหรือหาของทานไม่ทราบแน่ชัดทำให้ดินถล่มตกลงไปในแม่น้ำปิง ที่จังหวัดตาก ก่อนจะเดินทางไปถึงเชียงใหม่

อ้างอิง[แก้]

  • ศรัณย์ ทองปาน. ช ช้าง กับ ฅ ฅน. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สารคดี, พ.ศ. 2550. หน้า หน้าที่. ISBN 974-484-215-6
  • คึกฤทธิ์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์. ช้างในชีวิตของผม. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า 2000, พ.ศ. 2549. 112 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-690-514-7
  • โกวิท ตั้งตรงจิตร. เรียงร้อยรอยอดีต, ยศช้าง ขุนนาง พระ มหัศจรรย์วัด เวียง วัง. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ชมรมเด็ก, พ.ศ. 2549. 272 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-298-755-6
  • บุญเหลือ เทพยสุวรรณ, หม่อมหลวง, เรื่องของช้างพลายมงคลผู้อาภัพ, องค์การค้าของคุรุสภา, 2543, 74 หน้า, ISBN 974-222-409-9