ข้ามไปเนื้อหา

ชี่น-ดวี่นตอนล่าง

พิกัด: 22°22′14″N 95°1′7″E / 22.37056°N 95.01861°E / 22.37056; 95.01861
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชี่น-ดวี่นตอนล่าง
มุมมองทางอากาศของแม่น้ำชี่น-ดวี่นและตวี่นตอง (ค.ศ. 1980)
จุดสูงสุด
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
385 เมตร (1,263 ฟุต)
รายชื่อรายชื่อภูเขาไฟในประเทศพม่า
พิกัด22°22′14″N 95°1′7″E / 22.37056°N 95.01861°E / 22.37056; 95.01861[1]
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ชี่น-ดวี่นตอนล่างตั้งอยู่ในประเทศพม่า
ชี่น-ดวี่นตอนล่าง
ชี่น-ดวี่นตอนล่าง
ที่ตั้งในประเทศพม่า
ที่ตั้งพม่า
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
ประเภทภูเขาเขตภูเขาไฟ
การปะทุครั้งล่าสุดไม่ปรากฎมานานกว่า 10,000 ปี[1]

ชี่น-ดวี่นตอนล่าง คือบริเวณพื้นที่รอบปากปล่องภูเขาไฟประมาณ 7 ถึง 8 หลุม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 30 กิโลเมตร (20 ไมล์) จากเมืองโมนยวา เขตซะไกง์ ประเทศพม่า

ภูเขาไฟเริ่มเกิดขึ้นในช่วงปลาย สมัยไพลโอซีน และสมัยไพลสโตซีน หลังจากนั้นภูเขาไฟจึงสงบลง (สถาบันสมิธโซเนียนจัดรหัสภูเขาไฟเป็นเลข 275090) จากข้อมูลภูเขาไฟทั่วโลกของสถาบันสมิธโซเนียน[1] บันทึกข้อมูลว่าไม่มีการปะทุของภูเขาไฟในช่วงสมัยโฮโลซีนหรือย้อนหลัง 10,000 ปีจากปัจจุบัน

ประเภทกลุ่มหินที่สำคัญคือ หินบะซอลต์, หินไรโอไลต์, หินเดไซต์ และหินแอนดีไซต์

ปล่องภูเขาไฟสามถึงสี่หลุมมีทะเลสาบ มีหนึ่งหลุมอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำชี่น-ดวี่น ส่วนหลุมที่เหลืออยู่ทางทิศตะวันตก ทะเลสาบทางตะวันออกคือ ตวี่นตอง และทะสาบแห่งอื่น ๆ เช่น ตองปเยาะ, ตวีนมา และเยคา ในทะเลสาบมีสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สไปรูลินา เจริญเติบโตขึ้น มีการเก็บเกี่ยวทำให้แห้งและขายเป็นยา เมื่อปลายปี พ.ศ. 2557 มีรายงานว่ารัฐบาลพม่ามีแผนที่จะเสนอชื่อทะเลสาบตวี่นตองเพื่อเป็นแหล่งมรดกโลก[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "Global Volcanism Program - Lower Chindwin". si.edu.
  2. "Myanmar to seek world heritage title for natural Spirulina lake". The Nation. 19 September 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-01. สืบค้นเมื่อ 2018-04-17.