ชาวยิวแห่งซันนีกันโดร
ชาวยิวแห่งซันนีกันโดร หรือ ชาวยิวซันนีกันโดร เป็นชุมชนผู้เปลี่ยนศาสนาขนาดน้อยในเมืองซันนีกันโดรการ์กานีโก ประเทศอิตาลี[1][2][3] พวกเขานับถือศาสนายูดาห์ หากแต่สืบเชื้อสายพื้นเมืองและไม่มีเชื้อสายยิวเลย จอห์น เอ. เดวิส ศาสตราจารย์ประวัติศาสตร์อิตาลี มหาวิทยาลัยคอนเนตทิคัต กล่าวว่า "ชาวยิวแห่งซันนีกันโดรเป็นชนในยุโรปยุคปัจจุบันกลุ่มเดียวที่เปลี่ยนไปนับถือศาสนายูดาห์"[1]
ประวัติ
[แก้]ปลายคริสต์ทศวรรษ 1920 ชาวเมืองซันนีกันโดรการ์กานีโก (อิตาลี: San Nicandro Garganico) เริ่มทิ้งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและไปเข้ารีตศาสนายูดาห์ตามโดนาโต มันดูซีโอ (Donato Manduzio, ค.ศ. 1885-1948)[2] อดีตทหารผ่านศึกช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยได้แรงบันดาลใจจากคัมภีร์ไบเบิล[1][2] โดนาโตเป็นบุตรของจูเซปเป มันดูซีโอ (Giuseppe Manduzio) กับกอนเกตตา ฟรัสการีอา (Concetta Frascaria) เกษตรกรคริสตังผู้ยากจนในเมืองซันนีกันโดร เพราะความยากไร้นี้เองทำให้โดนาโตไม่ได้เข้าโรงเรียน แต่เขาเริ่มต้นอ่านและเขียนในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทหารเมืองปีซา[3] หลังสิ้นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขาอ่านหนังสือเรื่องศาสนา[2] และวรรณคดีอิตาลีด้วยตนเองจนแตกฉาน[3] และกลายเป็นหมอพื้นบ้าน[2][3] นอกจากนี้เขาเคยพบปะกับชาวโปรเตสแตนต์ (ทั้งกลุ่มเพนเทคอสต์และแอดเวนทิตส์) ใกล้บ้านเกิดของเขา[2]
กระทั่ง ค.ศ. 1930 เขาอ่านพระคัมภีร์และอ้างว่าตนเกิดนิมิต หลังจากนั้นก็ละจากศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และเผยแผ่ข้อความของเขาแก่ชาวบ้านในซันนีกันโดร[1][2] ชี้ชวนให้พวกเขาปฏิบัติตนตามกฎของโมเสส และปฏิบัติตนอย่างธรรมเนียมยิว[1][2][3] หลังจากนั้นไม่นาน เพื่อนบ้านจำนวนหลายสิบคนเปลี่ยนศาสนาตามเขา รวมกันเป็นกลุ่มชาวยิวสะบาโตขนาดเล็ก ๆ ต่อมาโดนาโตติดต่อไปยังหัวหน้ารับบีแห่งชุมชนยิวในโรม ให้มาเปลี่ยนศาสนิกชนใหม่นี้เข้านิกายออร์ทอดอกซ์[1][2] ครั้น ค.ศ. 1949 ชาวยิวในซันนีกันโดรส่วนใหญ่อพยพไปประเทศอิสราเอล[1][2] โดยมากตั้งรกรากในเมืองบีร์ยา (בִּירִיָּה)[2][4][5] และซาเฟด (צְפַת)[2] ปัจจุบันชาวยิวซันนีกันโดรที่หลงเหลืออยู่เข้านมัสการพระเจ้าที่ศาลาธรรมสโกลาโนวา (Sinagoga Scolanova) เมืองตรานี (Trani) แคว้นปุลยา[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 Kirsch, Adam (9 November 2010). "Convertito". Tablet Magazine. สืบค้นเมื่อ 8 June 2020.
- ↑ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 Introvigne, Massimo, บ.ก. (2018). "La profezia neo-ebraica di Donato Manduzio a San Nicandro". Le Religioni in Italia (ภาษาอิตาลี). CESNUR. สืบค้นเมื่อ 8 June 2020.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Eichner, Itamar (24 April 2018). "The Jews-by-choice of San Nicandro, Italy". Ynet. Tel Aviv. สืบค้นเมื่อ 8 June 2020.
- ↑ 4.0 4.1 Zivotofsky, Ari; Greenspan, Ari (24 August 2006). "Jewish Again in Trani". The Jerusalem Post. Jerusalem. สืบค้นเมื่อ 8 June 2020.
- ↑ Michael Brenner, A Short History of the Jews, Princeton University Press (2010), p. 363.
เอกสารประกอบ
[แก้]- Cassin, Elena: San Nicandro. Un paese del Gargano si converte all'ebraismo. Corbaccio, Milan (1995), ISBN 978-8879720861.
- Colafemmina, Cesare: Mosè nelle nostre terre. Schena Editore, Fasano (2006).
- Davis, John A.: The Jews of San Nicandro, Yale University Press (October 26, 2010), ISBN 978-0300114256.
- Lapide, Pinchas: The Prophet of San Nicandro. NY: Beechurst Press, 1953.
- Serfaty, Viviane: Donato Manduzio’s Diary, from Church to Synagogue. Cambridge Scholars Publishing, Newcastle upon Tyne (2017), ISBN 978-1-4438-1276-4.
- Bell Broadcast and New Media Fund [1][ลิงก์เสีย] press release regarding the funding of The Mystery of San Nicandro.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- The Converts of San Nicandro เก็บถาวร 2007-04-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Time (magazine) Posted Monday, Sep. 15, 1947.
- UConn Annual Report for 2004– 2005 MESSAGE FROM THE DIRECTOR & ASSOCIATE DIRECTOR
- Matter of Fact Media Projects page เก็บถาวร 2019-04-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The Mystery of San Nicandro documentary website